[quote/]
เอาจริงๆแล้วผมกลับเข้าใจว่า ที่คนญี่ปุนเขาไม่แต่งเกี่ยวกับ สมเด็จพระจักรพรรรดิ์ ก็เพราะว่า สมเด็จพระจักรพรรรดิ์ ไม่มีค่อยมีบทบาทอะไรที่มันอิมแพ็คในหน้าปวศ.ของเขามากกว่านะ
เพราะตัวเด่นๆที่เห็นก็มีแต่พวกขุนพลทั้งหลายแหล่ ที่โตเป็นสาวกันหมดแล้ว อย่างที่เรารู้จักกันดีนั่นแหละ ไม่ได้ลึกซึ้งไปในเรื่อง สำนึกยกย่องเชิดชูอะไรหรอก ยิ่งพวกที่เกิดมาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี่ น่าออกแนวแอนตี้ด้วยซ้ำ
อีกอย่างคือในโลกเสรีเขาไม่ได้มีมุมมองที่จะยกย่องตัวบุคคลให้เป็นสมมุติเทพแบบบ้านเราไง ก็เลยเปิดกว้างแบบ จะทำอะไรก็ทำไปเหอะ ถ้าทำแย่ๆ อย่างมากก็แค่สร้างความไม่พอใจ แต่ก็ไม่ถึงกับไประรานเขาหรอก
ว่าแต่ กรณีของกระษัตริย์อาเธอร์ นั่นหาอ่านได้จากไหนอ่ะ? เพราะเท่าที่ผมเห็น รายนั้นก็โตเป็นสาวไปแล้วเหมือนกัน แต่ไม่เห็นมีกระแสแอนตี้อะไรนะ
เรื่องที่ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิ์ ไม่ค่อยมีบทบาทหรืออิมแพ็คในหน้าประวัติศาสตร์แล้วไม่นำมาผูกเรื่องแต่งนิยายขึ้นมานั้น ก็พอฟังได้แต่ผมว่ามันก็ยังอ่อนไปอยู่ดี ไม่ใช่เหตุผลหลัก เพราะพวกขุนพล หรือเจ้าเมืองเล็ก ๆ ตระกูลเล็ก ๆ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าตระกูลบ้านนอกนั้น (ไม่ได้มีความหมายในทางดูถูกนะ) มีเพียงแค่ชื่อ ไม่ได้มีบทบาทหรืออิมแพ็คอะไรในหน้าประวัติศาสตร์ ก็ยังมีนักเขียนหลายคนจับมาเป็นตัวละครเอกก็เยอะ เพียงแต่ตระกูลหลักที่มีอิมแพ็คมากก็จะถูกนำไปแต่งเป็นนิยายมากกว่าเท่านั้นเอง เพราะในแนวแฟนตาซี ย้อนยุค ต่างโลก ในความเป็นแฟนตาซี ที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์อะไร จะเขียนให้มีอิมแพ็คบทบาทมากแค่ไหนก็ทำได้
ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ประชาชนรู้สึกแอนตี้สมเด็จพระจักรพรรดิ์ ไม่ใช่เพราะว่าไม่ชอบหรือไม่ต้องการหรือรู้สึกเฉย ๆ นะครับ แต่เพราะหมดศรัทธาในองค์สมเด็จพระจักรพรรดิ์ที่ยอมแพ้สงคราม เพราะคนญี่ปุ่นในสมัยนั้นหรือในอดีตเป็นคนที่หยิ่งทนงในตนเอง ภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก มีความรู้สึกว่าตนเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่หนึ่งในโลกนี้ เวลาไปรบในสงครามก็จะปลุกใจ ตะโกนว่าแด่องค์สมเด็จพระจักรพรรดิ์ และเป็นกำลังใจให้พวกเขาสู้ไม่ถอย พอสมเด็จพระจักรพรรดิ์ถูกอเมริกากดดันให้ประกาศยอมแพ้สงคราม ก็มีนายพลหลายคนที่ต่อต้านไม่ยอมรับ นำทัพออกไปรบครั้งสุดท้ายจนตัวตาย ขอตายไม่ขอยอมแพ้ ในความรู้สึกคนญี่ปุ่นสมัยนั้นมันเป็นความรู้สึกที่เสียเกียรติ์ศักดิ์ศรี และก็มีทหารที่ติดค้างตามเกาะต่าง ๆ ที่ถูกส่งไปแล้วไม่ได้รับข่าวสาร พอมีคนมาบอกก็ไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้ว ก็ต้องหาหลักฐานมาแสดงให้เชื่อและรับกลับญี่ปุ่นในฐานะวีรบุรุษ ในการที่ประกาศยอมแพ้สงครามในครั้งนั้น แม้ประชาชนก็ยังรับไม่ได้ เพราะความเหนี่อยยาก ยอมอดอยาก เพื่อองค์จักรพรรดิ์ เพื่อที่ญี่ปุ่นจะยิงใหญ่ในโลก อย่างที่ประกาศไว้นั้นกลับสูญเปล่า กลับกลายเป็นประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม
คนญี่ปุ่นรักและเคารพ เชิดชูสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างมากนะครับ ไม่ต่างจากคนไทย วัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างของไทยจึงมีความใกล้เคียงกันมาก พอรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบาย ให้บำนาญลองสเตย์ในต่างประเทศ คนญี่ปุ่นจึงมาอาศัยในประเทศไทยในระยะยาว และมาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะเป็นอันดับสองหรือสามนี่หล่ะ อันดับหนึ่งรู้สึกจะเป็นฮาวาย (ไปว่าคนญี่ปุ่นไม่รัก เคารพ เชิดชู สมเด็จพระจักรพรรดิ์เด่วเขาจะโกรธเอานะ แบบกระแสตอนนี้)
การที่่คนญี่ปุ่นมีสำนึกรักและเคารพ เชิดชู สถาบันกษัตริย์ประหนึ่งสมติเทพนั้นมีสาเหตุ เดิมญี่ปุ่นนับถือศาสนาชินโด ที่เชื่อว่า จิตวิญญาณแห่งผืนดินผู้เป็นมารดาโลกเป็นผู้ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้ให้กำเนืดเทพองค์ต่าง ๆ และองค์สมเด็จพระจักรพรรดิ์นั้นเป็นบุตรที่สืบเชื่อสายมาจากเทพ และต่อมาพุทธนิกายเซ็นก็มีอิทธิพล จนนำคุณธรรมและวิถึชีวิตแบบเซ็นมาสู่ราชวงค์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้กับประชาชน มีจารึตประเพณีที่เคร่งครัดมาก ๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นก็ยังบอกเองว่าโบราณคร่ำครึ แต่ในความโบราณคร่ำครึ วิถึชีวิตที่เรียบง่าย สมถะ การออกพบปะเยื่ยมเยียนประชาชนเนือง ๆ นั้นคนญี่ปุ่นรู้ดีว่านี่คืออัตลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของคนญี่ปุ่น แต่หากราชวงค์ทำเรื่องเสื่อมเสียคนญี่ปุ่นก็จะประนามกันอย่างมากเช่นกัน ดังนั้นราชวงค์ญี่ปุ่นจึงมีกฏระเบียบประเพณีที่เคร่งครัดมาก ๆ คนที่รักอิสระรับกฏระเบียบเหล่านี้ไม่ได้แน่ ๆ กระดิกกระเดี้ยอะไรต้องระวังทั้งหมด คนญี่ปุ่นรุ่นเก่า ๆ จะมีความรู้สึกที่แนบแน่นมาก หากเป็นเด็กรุ่นใหม่ ๆ ก็อาจจะเบาบางลงไป
กรณีกษัตริย์อาร์เธอร์ก็ไม่ได้ถึงกับต่อต้านเพียงแค่มีกระแสไม่ชอบตัวละครที่เป็นแบบนั้นเท่านั้นเพราะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือยังเป็นฮีโร่อยู่ มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง แนวดาร์กฮีโร่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ยังรับกันได้
ในแต่ละประเทศ หรือแต่ละวัฒนธรรม ก็จะมีลิมิตที่ยอมรับได้ที่แตกต่างกัน บางที่รับแบบนี้ได้ รับอีกแบบไม่ได้ ซึ่งคนที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ หรือวัฒนธรรมนั้น ๆ ก็จะรู้ถึงลิมิตตรงนี้ในยุคนั้น ๆ ก็จะเขียนได้แบบไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งไม่เกินเลยไปมาก
บ้านเรานั้นเป็นแนวคิดผสมผสาน ไม่ใช่แนวสมมุติเทพอย่างเดียว เป็นแบบพ่อปกครองลูกเป็นครอบครัวใหญ่ที่เป็นแนวคิดอย่างคนธรรมดาที่ไม่ได้วิเศษอะไรของล้านนา ล้านช้าง ผสมกันกับแบบสมติเทพ ที่เป็นเทพลงมาจุติของขอม และแบบเจ้านายและบ่าวของยุโรป(ผมไม่แน่ใจว่าเรียกแบบไหน) ก็เป็นแบบที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
พวกเราเห็นในหลวงเป็น พ่อ เพราะความรักห่วงใย และการกระทำแบบพ่อที่ทำเพื่อลูก
พวกเราเห็นในหลวงเป็นเทวดา เพราะคุณธรรมที่พระองค์ทรงมี
พวกเราเห็นในหลวงเป็นเจ้านาย เพราะพระเกิยรติยศที่พระองค์มี
ในการที่แต่ละประเทศจะยอมรับให้ใครหรือราชวงศ์ใดเป็นกษัตริย์นั้น ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ ซึ่งต้องได้รับการยอมรับในหลาย ๆ ด้าน หลากหลายมิติมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคูณธรรมของพระมหากษัตริย์ซึ่งถือเป็นข้อหลักทีเดียว ซึ่งผิดกับนักการเมืองหรือผู้นำประเทศในแบบอื่น ๆ
คุณธรรมของพระมหากษัตริย์ไทย ทีพึงปฏิบัติ มีดังนี้ (ไม่แน่ใจนะครับ อาจจะตกหล่นไปบ้าง)
1. ทศพิธราชธรรม (ธรรมของพระราชาหรือผู้ปกครอง มี 10 ประการ)
2. จักรวรรดิวัตร 12 (วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ, พระจริยาที่พระจักรพรรดิพึงทรงบำเพ็ญสม่ำเสมอ หรือ หน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ มี 12 ประการ)
3. ราชสังคหวัตถุ 5 (หลักปฏิบัติของพระราชา, ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี 5 ประการ)
4.สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี มี 7 ประการ)
5.อปริหานิยธรรม 7ของกษัตริย์วัชชี หรือ วัชชีอปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง มี 7 ประการ)
ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประพฤติปฏิบัติได้ทุกข้อไม่ตกหล่น จึงทำให้พระองค์เป็นเทวดาเดินดิน มิใช่เพราะตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ซึ่งก็ใช่ว่าพระมหากษัตริย์ไทยในอดึตและอนาคตจะปฏิบัติได้ครบหมด แต่มีอยู่เพื่อเป็นหลักยึดปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับความเป็นพระมหากษัติร์ย์ มิใช่ว่าจะทำอะไรได้ตามใจอย่างกษัตริย์ของต่างประเทศ ในประวัติศาสตร์กษัตริย์ที่ไม่ปฏิบัติตามคุณธรรมนี้ก็มีอยู่ และแน่นอนย่อมไม่เป็นที่พึงใจของเหล่าทวยราษฎร์ ก็ย่อมต้องล่มสลายไป
เราคนไทยก็ย่อมรู้ลิมิตนั้นได้เป็นอย่างดีในการเขียนนิยายที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ว่าสังคมในยุคนั้นขณะนั้นรับได้แค่ไหน ในสมัยก่อนหากเป็นแนวดาร์กฮีโร่ที่มีด้านมืด สังคมไทยในยุคนั้นรับรองว่ารับกันไม่ได้แน่นอน มาในยุคนี้ก็รับกันได้มากขึ้น
อย่างภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระนเรศวร ก็ออกแนวดาร์กฮีโร่หน่อย ๆ พระนเรศในเรื่องก็มีด้านมืดที่แสดงออกมา และเนื้อเรื่องก็มีด้านมืดของกษัตริย์ออกมา สังคมก็ไม่ได้มีเสียงไม่ชอบอะไรออกมา และก็ไม่ได้แสดงออกถึงความที่ไม่ได้เคารพออกมา คนแก่ ๆ บางคนก็ไม่ชอบนิสัยของพระนเรศในเรื่องนะ เพราะมันผิดกับที่เขารู้สึกถึง แต่ก็ไม่ได้ถึงกับต่อต้านแค่ไม่ชอบ
ผมก็ว่านำพระมหากษัตริย์ในอดึตมาเป็นตัวละครหลักได้ แต่ก็ต้องดูบริบทของสังคมเป็นหลักว่าในยุคนั้น ๆ เราจะแต่งเนื่้อเรื่องด้านมืด เป็นดาร์กฮีโร่ได้มากน้อยแค่ไหน และต้องแสดงออกถึงความเคารพ เพราะมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอยู่พอควร