[quote/]
คนส่วนใหญ่ชอบลืมคิดค่าแรงตัวเองครับ
การซื้อเครื่องทุ่นแรงไม่ได้หมายถึงซื้อความสบาย
แต่คือการซื้อเวลาและแรงงานเพิ่ม
เพราะต่อให้ค่าติดตั้ง หมื่นนึง
แต่การที่ลดเวลาและลดแรงงานได้ 1 คน
แค่ 2 เดือนก็กำไรแล้ว
เวลาที่ได้มาถ้าว่างก็ไปทำอย่างอื่นหาตังเพิ่มสิ
แต่ก็นะมันเป็นวิธีที่สืบทอดๆกันมาถ้าไม่มีคนแน่ะ
หลายคนก็ไม่คิดจะเปลี่ยนวิธีการทำงานหรอก
อย่างผมทำงานเป็น Cost Engineer ต่างประเทศ ผมจะต้องท่องจำหมวด Cost ต่างๆที่สำคัญให้ได้หมด โดยสำคัญจะแบ่งเป็น Direct Cost กับ Indirect Cost
Direct Cost1.Material
1.1 Direct Material หรือ Productive Material วัสดุหลักที่เป็นส่วนประกอบของการผลิตชิ้นงาน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก
1.2 Consumable Material หรือ Misc Material วัสดุรองที่ไม่ได้เป็นส่วนประกอบโดยตรงในการผลิตชิ้นงาน เช่น ฟองน้ำ ใบตัดเหล็ก กระสอบ
2.Direct Labour ค่าแรงของ Workers กับ Skilled Workers ที่ได้ลงมือผลิตชิ้นงาน (ไม่ใช่คนชี้นิ้วสั่ง เช่น Engineer Foreman อันนี้ไม่ถือเป็น Direct Cost)
3.Subcontractor การจ้างผู้รับเหมารายย่อยหรือผุ้เชี่ยวชาญพิเศษเพื่อแบ่งเบาภาระงานของเราลง
4.Equipment
4.1 Equipment Assets หรือ Fixed Asset Machine คือ เครื่องจักรที่เราซื้อมา และจะต้องคิดค่าใช้จ่ายตัดจ่ายเป็นค่าเสื่อม(Depreciation) รายเดือน
4.2 Rental Equipment หรือ Rental Machine คือ เครื่องจักรที่เราเช่ายืมมา
5.POL ย่อมาจากคำว่า Petroleum,Oil and Lubricant แปลว่า เชื้อเพลิง, น้ำมัน และสารหล่อลื่น
6.Service
6.1 General Service ได้แก่ ค่าซ่อมเครื่องจักร ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าน้ำค่าไฟ
6.2 VAT,Withholding Tax and Custom Duty ก็คือ ค่าภาษีต่างๆที่เราต้องจ่ายออกไป ทั้งภาษี VAT ,ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีนำเข้า
Indirect Cost1.Rental Properties ค่าเช่าที่ดิน
2.Camp Establish(ถ้ามี) ค่าแคมป์คนงาน
3.Workshop or Site Establish ค่าก่อสร้างโรงงานหรือสถานที่ทำงานด้านการผลิต
4.Office Establish ค่าก่อสร้างสำนักงาน
5.Salary&Wages เงินเดือนของพวกชี้นิ้วสั่ง ไม่ได้ลงมือปฏิบัติผลิตชิ้นงานโดยตรง รวมถึงผู้บริหาร นักบัญชี (เอาง่ายๆ ไม่ใช่ Workers หรือ Skilled Workers)
6.Office Equipment ค่าเฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน
7.Vehicle Transport(ถ้ามี) ค่าโดยสารของพนักงาน
8.Camp Running Cost ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารของแคมป์
9.Workshop or Site Running Cost ค่าน้ำค่าไฟโรงงานหรือสถานที่ทำงานเกี่ยวกับการผลิต
10.Office Running Cost ค่าน้ำค่าไฟของสำนักงาน
11.Bond,Stamp Duty,Insurance,Bank Fee,Interest ค่าประกัน,ค่าไปรษณีย์,ค่าธรรมเนียมธนาคาร และดอกเบี้ยธนาคาร
12.Health&Safety ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายเพื่อความปลอดภัยสำหรับสถานที่ทำงานการผลิต เช่น แว่นตา ถุงมือ รองเท้าเซฟตี้
13.Security ค่ารักษาความปลอดภัยหรือค่าจ้างยามนั่นแหละ
14.Misc ค่าจิปาถะ
15.VAT,Withholding Tax and Custom Duty for Indirect Cost ค่าภาษีต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้องานการผลิตโดยตรง
เมื่อคุณแยกประเภทของค่าต้นทุนต่างๆที่เกิดขึ้นได้ คุณก็จะบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะส่วนใหญ่ Direct Cost มันค่อนข้างจะคงที่อยู่แล้ว ยกเว้นแต่จะมีการเปลี่ยน Method Statement(กรรมวิธีการผลิต)แบบใหม่ ส่วนที่จะมีความเปลี่ยนแปลงสูงคือ Indirect Cost ดังนั้นผู้บริหารจะต้องควบคุม Indirect Cost ให้ดี
และสำคัญที่สุดในการบริหารต้นทุน คือจะต้องเข้าใจหลักบัญชีและการตัดจ่าย Inventory