พอดีมีคนเล่าว่าวิธีนี้ เริ่มนำมาใช้ดันในบางพื้นที่ของไทย
แต่ผมไม่ทราบจริงว่ามันมีระบบต่างจากปกติอย่างไร
ส่วนตัวผมไม่ชอบระบบทำนานรวมแบบนี้ หรือนาแปลงใหญ่ครั
ที่บ้านเคยทำนาก็จริงแต่เลิกไปนานมากแล้ว
และมีคำโบราณ ว่าไว้ "ทำนาเข้าส่วน ทำสวนรวมหุ้น เจ๊งชิบหาย"
เหมาเจ๋อตุง เป็นจูนิเบียวคอมมิวนิสต์ เป็นคนที่ตีความหมายแท้จริงของคอมมิวนิสต์ไม่ออก ไม่เข้าใจจุดประสงค์แท้จริงของคาร์ล มาร์ก ตีความบัญญัติ 10 ประการของคอมมิวนิสต์มานิสเฟสโตอย่างตื้นเขิน และใช้มาตรการแข็งกร้าว ทำไปทำมาตนเองกลายเป็นฟาสซิสต์ในที่สุด
ถ้าคาร์ล มาร์กเกิดใหม่รู้เข้าว่าทั้งเหมาและสตาลินทำแบบนี้ คาร์ล มาร์กคงจะร้องไห้เสียใจนอนตายตาไม่หลับแน่ๆ
เหมากับสตาลินทำตามแค่ข้อ 1 สุดทางในแบบของตนเองด้วยมาตรการรุนแรง(ผิดวิธีด้วย) แต่ตีโจทย์ข้อ 2 ไม่แตก ทั้งที่ข้อ 1 กับ ข้อ 2 ต้องใช้ร่วมกัน เหมาไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เลยและดำเนินนโยบายแบบมโนผิดๆไปเอง
ข้อ 1 Abolition of Property in Land and application of All Rents of Land to Public Purposes.
ข้อ 2 A Heavy Progressive or Graduated Income Tax
เหมาทำแต่ข้อ 1 และใช้วิธีการรุนแรง เช่น ใช้กำลังทหารยึดที่ดินของเกษตรกร พอรัฐได้ที่ดินทั้งหมดก็บังคับให้เกษตรและชนชั้นกรรมชีพเป็นแรงงานของรัฐหรือพนักงานของรัฐ ทำนาร่วมกันและผลผลิตส่งเข้ารัฐทั้งหมด รัฐเมื่อได้ผลผลิตก็จะต้องตอบแทนเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งคืนกลับไป ซึ่งตรงนี้มันก็ผิดแล้ว เพราะไม่ได้คำนึงถึงสันดานธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนกระทำสิ่งใดย่อมหวังผลตอบแทนกลับมา ไม่มากก็น้อย
สิ่งที่ถูกต้อง คือ ต้องเอาข้อ 1 ผสมกับ ข้อ 2 ซึ่งคาร์ล มาร์ก เขาก็อุตส่าห์อธิบายตั้งหลายครั้งว่า "การที่คนๆหนึ่ง Generate รายได้ได้ ย่อมใช้ทรัพยากรของรัฐจำนวนหนึ่ง ยิ่ง Generate รายได้ได้มาก ย่อมเท่ากับใช้ทรัพยากรของรัฐมาก" ดังนั้นเมื่อใช้ทรัพยากรของรัฐมาก คุณต้องเก็บภาษีคนที่ใช้ทรัพยากรของรัฐมากในราคาแพง และค่อยๆลดหลั่นเป็นขั้นบันไดลงไปหาคนที่มีรายได้น้อย
ซึ่งคำตอบที่ถูกต้องก็คือ "การเก็บภาษีเงินได้ตามสัดส่วนที่ดินที่ถือครอง" ไงครับ เป็นการขจัดชนชั้นนายทุนผูกขาดที่ถือครองที่ดินผูกขาดอย่างละมุมละม่อม ด้วยระบบภาษีและหลักการทางเศรษฐศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
ซึ่งประเทศที่ตีโจทย์ตรงนี้แตกที่สุดก็คือ เวียดนาม ครับ เวียดนามมีระบบการเก็บภาษีที่ดิน ถ้าจำไม่ผิดผมเคยบอกไว้นานแล้วว่า เวียดนามนี่แหละเข้าใกล้ความเป็นคอมมิวนิสต์มากกว่าจีนหรือรัสเซีย(แต่ก็ยังไม่ใช่)
ภาษีที่ดินของเวียดนาม หรือ Land Tax or Property Tax เรทของมันขึ้นอยู่กับว่าที่ดินนั้นเอาไปใช้ประโยชน์อะไร เช่น
- ปลูกบ้าน Low Rate
- ทำเกษตร Low Rate
- ทำอุตสาหกรรม Medium Rate
- ทำค้าขายขนาดเล็ก Medium Rate
- ทำ Commercial&Service ขนาดใหญ่ Medium Rate
- ปลูกบ้านเกิน 2 หลังขึ้นไป High Rate
- ที่ดินรกร้าง High Rate
ถ้าจ่ายภาษีไม่ได้ ก็จะถูกปรับ หนักหน่อยก็โดนริบที่ดินและนำไปประมูลออกจำหน่ายให้คนอื่นผู้อื่นที่สนใจจะใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ต่อไป เพื่อไม่ให้กักตุนที่ดินและบังคับให้เอาที่ดินไปทำประโยชน์
โดยอัตรา Rate เหล่านี้จะไปคูณกับราคาที่ดินนั้นๆ เช่น ในเมืองก็จะแพงหน่อย ชนบทก็จะถูกหน่อย เพื่อที่จะให้คนอยากไปลงทุนพัฒนาที่ดินที่ต่างจังหวัดเนื่องจากจ่ายภาษีน้อยกว่า เป็นไปตาม ข้อ 9
ข้อ 9 Combination of Agriculture with manufacturing industries ; gradual abolition of all the distinction between town and country by a more equable distribution of the populace over the country.
ในวรรคที่ 2 วิธีการบริหารให้ประชากรแต่ละเมืองมีขนาดเท่าๆกัน นั่นก็คือการจูงใจด้วยระบบภาษีที่ดินไงครับ ถ้า Rate ในเมืองใหญ่แพงกว่า Rate ชนบท
นักลงทุน พ่อค้า เจ้าของกิจการ รวมถึงประชาชนก็จะอยากย้ายไปอยู่ที่เมืองชนบท เพราะ Rate ภาษีที่ต่ำกว่า แต่นั่นก็จำเป็นจะต้องทำข้อ 6
ข้อ 6 Centralise of the means of communication and transport in the hand of state
รัฐมีหน้าที่จัดหาการสื่อสารและระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดให้อยู่ในการดูแลของรัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางระหว่างเมืองได้อย่างสะดวก และข้อที่ 6 มีจุดสำคัญที่สุด คือ in the hand of state
ความหมาย in the hand of state นั้น ทั้งเหมาและสตาลินต่างเข้าใจว่า รัฐจะควบคุมสื่อทั้งหมดและทำประชาสัมพันธ์แบบโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดถนัด
สิ่งที่คาร์ล มาร์ก ต้องการจะสื่อ คือ ห้ามไม่ให้มีระบบสัมปทานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบสาธารณูปโภค เช่น ทางด่วน และการบริการทาง Internet รัฐจะต้องไม่เปิดประมูลสัมปทานให้กับเอกชน
แต่ให้ใช้ระบบรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้ดำเนินการบริหารเรื่องเหล่านี้แทนแบบเดียวกับเอกชน เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดและโก่งราคาค่าขนส่งตามใจ
เช่น เคสรถไฟฟ้า BTS การเก็บค่าทางด่วนโดยบริษัท BEM สุดแสนแพง จนหลายคนหน้ามืดไปกับค่าเดินทางมหาศาล(เผลอๆมากกว่าค่าอาหารต่อวันซะอีก)
10 ข้อ ของคาร์ล มาร์ก เวลาตีความต้องตีความไปทางนักเศรษฐศาสตร์ หรือนักการเงิน ไม่ใช่ให้นักพูดหรือนักการทหารตีความ ไม่งั้นจะเกิดความหายนะแบบคราวปฏิวัติวัฒนธรรม หรือ ลัทธิสตาลิน เนื่องจากคาร์ล มาร์กดั้งเดิมแกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์ก็หลายเล่ม ดังนั้นเวลาตีความต้องตีความและนำไปปฏิบัติแบบนักเศรษฐศาสตร์