[quote/]
ไม่ถูกครับถ้าเหมารวมมันจะแพงขึ้นครับเอาอย่างที่ท่านว่ามันจะมีเจ้าเดียวที่สามารถกำหนดราคาได้ซึ่งไม่มีทางกำหนดไห้ถูกลงครับ สิ่งที่เกิดขึ้นมันคือต้นทุนการผลิตที่ลดลงโดยสวนกับราคาขายที่แพงขึ้นอย่างซีพีท่านว่ามันขายถูกหรือแพง ผมสามารถซื้อวัตถุดิบการเกษตรจากบ้านนอกแบบเดียวกับซีพีในราคาครึ่งเดียว ที่ถูกคือต้นทุนจะลดลงต่างหากครับและด้วยความที่เป็นเจ้าใหณ่สามารถ ขายกดราคาต่ำกว่าทุนจนเจ้าอื่นตายหมดเหลือเจ้าเดียวแล้วที่นี้จะตังราคายังไงก็ได้ตังแต่อดีตยันปัจจุบันผมเห็นมันตังแต่ราคาแพง
เหมารวม หรือ Lump-Sum ต้องแพงขึ้นครับ เพราะ จะเปลี่ยนสัญญางานเพิ่ม-ลด ยาก ดังนั้นผรม.หรือ Contractor จะต้องบวกความเสี่ยงตรงนี้เข้าไปด้วย
ไหนๆจะพูดเรื่องสัญญาจ้างทำของแล้ว ก็ถือโอกาศพูดเรื่องสัญญาเลยดีกว่า
สัญญาจ้างทำของ มีทั้งหมด 3 รูปแบบ
1.เหมารวม(Lump-Sum) สัญญานี้มีข้อดีในกรณีที่ของที่รับจ้างทำนั้นมีแบบแปลนและSpec วัสดุ ปริมาณงานและกรรมวิธีที่ชัดเจนแล้ว ผลของมันคือทำให้การแบ่งขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้ว่าจ้าง(Owner) กับ ผู้รับจ้าง(Contractor) และเมื่่อมีการแบ่งขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายชัดเจน สิ่งของชิ้นงานที่จ้างทำขึ้นก็ชัดเจน ดังนั้นมันจะตีกรอบทำ Budget(งบประมาณ) ได้ง่าย เนื่องจากปริมาณกับราคาต่อหน่วยมันชัดเจน แต่ข้อเสียคือในกรณีที่แบบแปลนหรือSpec ไม่ระบุอย่างละเอียด หรือ ปริมาณงานไม่แน่นอน สัญญาก็จะมีปัญหาทันที สมมุติวว่าเราตั้งปริมาณไว้ 100 แต่พอทำจริงต้องทำ 120 เจ้าของงานก็ยังต้องจ่ายเต็ม 100 เหมือนเดิม ความเสี่ยงจะตกมาหาผู้รับจ้างทำสัญญา หรือ Contractor
ประเภทงานที่เหมาะกับสัญญาเหมารวม(Lump-Sum) เช่น ก่อสร้างบ้าน แฟลต คอนโด โรงงาน การผลิตสินค้า, การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ การผลิตรถยนต์
2.สัญญาจ้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Price หรือ Remeasurement) สัญญานี้จะเหมาะกับงานที่เรารู้ราคาต่อหน่วยในการผลิตชัดเจน แต่เราไม่รู้ปริมาณของงานที่แท้จริงว่าจะจบเท่าไหร่ ทำให้กรอบของ Budget สามารถ Vary ได้ง่าย สัญญานี้จะค่อนข้างแฟร์ต่อทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง เพราะยิ่งทำเยอะก็ได้เยอะ ทำน้อยก็ได้น้อย ไม่เหมือนกรณีแรกที่สัญญาเหมารวมจะถูกตีกรอบไม่ว่างานจะลดหรือเพิ่ม ผู้รับเหมาจะต้องรับความเสี่ยงอย่างเต็มที่ ขณะที่สัญญาจ้างแบบราคาต่อหน่วยจะแชร์ความเสี่ยงทั้งฝ่ายเจ้าของงานและฝ่ายผู้รับจ้างเท่าๆกัน ปริมาณเราอาจจะตั้งต้นเอาไว้ 100 แต่พอทำจริงๆ ได้ 150 เจ้าของงานก็ต้องจ่าย 150
ประเภทงานที่เหมาะกับสัญญาราคาต่อหน่วย : งานถนน รถไฟ รถไฟฟ้า(ลอยฟ้า) รถไฟฟ้าใต้ดิน งานรถไฟความเร็วสูง อุโมงใต้ดิน
3.สัญญาต้นทุนบวกกำไร (Cost-Plus) สัญญาประเภทนี้คืองานที่เราไม่รู้ทั้งราคาต่อหน่วยและปริมาณงานที่ชัดเจน ทำให้กำหนดกรอบอะไรไม่ได้เลย สัญญานี้ความเสี่ยงทั้งหมดจะตกอยู่กับเจ้าของงานทั้งหมด ผู้รับจ้างทำสัญญาแทบจะไม่มีความเสี่ยงเพราะเอาต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่ทำงานมาบวกกำไรและภาษีขึ้นไป (ถ้าผรม.ไม่คิดต้นทุนตัวเองผิดนะ 555)
ประเภทงานที่เหมาะกับสัญญาต้นทุนบวกกำไร : งานซ่อมแซมอาคาร งานต่อเติมอาคาร
ส่วนเรื่องประวัติศาสตร์จีน ผมว่าผมกับคุณ
@daijobu อ่านมากันคนละฉบับหรือเปล่า 555
ผมจำได้ว่าที่พรรคก๊กมินตั๋งแพ้ เพราะ ฝ่ายที่ต่อสู้ปะทะกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นคือพรรคก๊กมินตั๋งเป็นหลักนะครับ เพราะตอนนั้นก๊กมินตั๋งมีกองกำลังอยู่ทางตะวันออก ปะทะกับกองทัพญี่ปุ่นโดยตรง ขณะที่กองทัพพรรคคอมมิวนิสต์ชองเหมานั้นกำลัง Long March ไปทางฝั่งทิศตะวันตกของจีนเพื่อสร้างขุมกำลัง ผลก็คือ พรรคก๊กมินตั๋งอ่อนล้าและเสียกำลังพลไปมากมายจากสงครามกับญี่ปุ่น ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์แทบไม่ได้ปะทะกับญี่ปุ่นเลย แถมได้หาเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านทำให้ได้เกณฑ์กำลังมาเพิ่ม พอจบสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้มแข็งขึ้น ขณะที่พรรคก๊กมินตั๋งอ่อนแอลงเนื่องจากอ่อนล้านจากสงคราม แถมชาวบ้านไปสนับสนุนเหมาเจ๋อตุงเพราะเหมาหาเสียงกับชาวบ้านว่าจะรบขับไล่กองทัพญี่ปุ่น แต่กองทัพคอมมิวนิสต์ไม่ได้ออกรบ เพราะอยู่ทิศตะวันตก ส่วนก๊กมินตั๋งรับศึกแต่เพียงผู้เดียวอย่างเต็มที่ ไอ้หลอมหม้อมันยุคปฏิวัติวัฒนธรรมนะครับ
แล้วถ้าการปฏิวัติวัฒนธรรมไม่ใช่การดำเนินนโยบายรัฐที่ผิดพลาดของคนที่ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ทำไมภายหลังถึงมีการตัดสินโทษประหารแก๊ง 4 คน คือ เจียงชิง, จางชุนเฉียว, เหยาเหวินหยวน และ หวังหงเหมิน ล่ะครับ
ทั้งที่ตัวของประธานเหมาเจ๋อตุงเองก็มีส่วนร่วมกับการคิดนโยบายร่วมกับแก๊ง 4 คนนี้เช่นกัน แต่ทำไมมีแค่แก๊ง 4 คน ที่ต้องรับผิดชอบกับโทษที่ทำให้ประชาชนจีนต้องตายไปกว่า 1.5 - 2 ล้านคน
ผมจะตอบให้ว่า เพราะถ้าประธานเหมาถูกเหมารวมเข้าไปกับแก๊ง 4 คน ความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์อันมีประธานเหมาเป็นสัญลักษณ์ก็จะสั่นคลอนทันทีและสูญเสียความชอบธรรมไปในที่สุด
ประวัติศาสตร์ก็เลยเขียนออกไปในทางว่าประธานเหมาแค่พลาดเล็กน้อยที่ถูก 4 คน เป่าหูและหลอกใช้ ขณะที่ความผิดการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจถูกโยนบาปให้กับแก๊ง 4 คน
ทั้งนารวมเอย ทั้งกำจัดนกเอย หลอมโลหะทุกหมู่บ้านเอย ล้วนโยนความผิดให้กับแก๊ง 4 คน ประธานเหมาไม่ได้รับความผิดใดๆ
เพราะประธานเหมาจะผิดไม่ได้ไม่งั้นพรรคคอมมิวนิสต์จะสูญเสียความชอบธรรม เนื่องจากประธานเหมาคือสัญลักษณ์แห่งความชอบธรรมพรรคคอมมิวนิสต์
นี่แหละจึงเป็นเหตุผลที่ผมบอกว่าจีนไม่เคยเป็นคอมมิวนิสต์ หากแต่เป็นฟาสซิสต์ลัทธิบูชาตัวบุคคลมาโดยตลอด
บุคคลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชาตินิยมจะไม่เคยผิด ไม่สิ จะผิดไม่ได้ และถูกทำให้ไม่มีวันผิด และความผิดของเขาก็คือความผิดของคนอื่น
ทั้งที่การอนุมัติ(Approve) นโยบายต่างๆ ก็ล้วนต้องมาจากส่วนกลางตามทฤษฎีของคอมมิวนิสต์ที่อำนาจรวมศูนย์ จะต้องใช้ลายเซ็นต์ของประธานเหมาทั้งสิ้น