ปูแถน ปู่กะสี ยายกะสา
จริงๆ ถ้ามองคำว่าแถนกับเทียน เป็นคำมาจากรากเดียวกันจริงๆแล้วไทยนับถือ ราชันแห่งขุนเขา ราชาแห่งสวรรค์ จักรพรรดิหยก
ซึ่งก็ตามสไตล์ เทพขุนเขาปราบเทพทะเล นาคคือเทพทะเล ชนเผ่าทะเลจะรบกับชนเผ่าขุนเขา และตำนานออกมาในรูปแบบการสู้กัน
ของพระยาแถน กับ พวก นาค
ส่วนตำนานอาเธอร์ ก็อย่างที่ รู้กันปรุแล้ว จริงๆ คือเรือง ของผู้ปกครองโรมันอังกฤษ (ราวๆ 600-700)ยุคโบราณสู้กับภัยคุกคามสมัยโรมันตะวันตกล่มสลาย
สร้างเป็นตำนานพื้นบ้านกษัตย์ผู้รวบรวมแผ่นดินอังกฤษในยุคหลังๆและถูกบันทึกเป็นเรื่องราวกึงประวัติศาสตร์ ส่วนแลนสลอต กับ เรื่องจอกศักดิสิทธิ นี่แทรกเข้ามาในยุคหลังๆ เลย
ถูกต้องครับ ปู่แถน หรือ พญาแถน ครับ แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเทพจีนนะครับ
เนื่องคนไทหรือไต เป็นชนชาติที่ถนัดในการทำนา ดังนั้นเทพแถนหรือพญาแถนคือเทพแห่งท้องฟ้า ผู้ประทานฝนเพื่อให้คนไทหรือไตใช้ทำนา
ซึ่งคนไทในที่นี้ผมรวมถึงชนกลุ่มน้อย ทั้งชาวจ้วง(สิบสองปันนา) และ ชาวพ่าเก(อินเดีย) ก็จะนับถือพญาแถน
พญาแถนคือเทพที่แสดงถึงรากเหง้าของชาติพันธุ์ไทที่อยู่ด้วยกันจึงไม่แปลกที่จะนับถือเทพองค์เดียวกันก่อนจะอพยพย้ายถิ่นฐานต่างคนต่างตั้งรกรากที่ต่างๆ
จริงๆหลายคนสับสนระหว่าง พญาแถน กับ พระอินทร์ จริงๆพระอินทร์เป็นเทพที่ Import มาทีหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดย ร.1 เพื่อมาแทนที่พญาแถน โดยเหตุผลทางการเมือง
สมัยอยุธยา กษัตริย์อยุธยาจะนิยมพระศิวะ สังเกตการตั้งชื่อกษัตริย์จะมีชื่อของพระศิวะในชื่อของกษัตริย์ เช่น พระนเรศวร มาจากคำว่า นร(คน) + อิศวร(พระศิวะ,ผู้เป็นใหญ่) = พระราชา
ขณะที่ชาวบ้านไพร่ทั่วไปไม่ได้นับถือเทพอินเดีย หากแต่ยังนับถือพญาแถนอยู่
พอมาสมัย ร.1 สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเทพก็เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองด้วยส่วนหนึ่ง
พระอิศวรหรือพระศิวะมีศักดิ์เป็นเทพมาตั้งแต่แรก ขณะที่พระอินทร์เดิมทีเป็นมนุษย์แต่สะสมบุญบารมีจนกลายเป็นราชาของเหล่าเทพบนสวรรค์
เป็นการบอกเป็นนัยยะว่า เดิมที ร.1 เป็นขุนนางไม่ใช่เชื้อพระวงศ์อยุธยา แต่เนื่องจากมีบุญบารมีมากพอจึงได้เป็นกษัตริย์ปกครองคนไท จึงคล้ายกับพระอินทร์
และก็เพื่อใช้พระอินทร์ในการแทนที่พญาแถน ด้วยเหตุผลที่ว่า นับถือพระอินทร์ = นับถือ ร.1
ดังนั้นมันจึงเป็นเหตุผลทางการเมืองที่ค่อนข้างซับซ้อนและเล่นกับความเชื่อของคนพอสมควร
เอาจริงๆ เทพโบราณเดิมทีถ้าย้อนกลับไป หลายเผ่า รวมทั้งไทยด้วย จะนับถือเทพแห่งท้องฟ้า และเรียกเทพแห่งท้องฟ้าว่า Sky Father หรือ บิดาแห่งท้องฟ้า
คนไทหรือไต ก็นับถือ พญาแถน เป็นเทพแห่งท้องฟ้าและฝน
คนมองโกล ซงหนู เติร์กกิต และชนเผ่าเร่ร่อนอื่นๆ ก็นับถือเทพท้องฟ้าเป็นบิดา เรียกว่า เทนกรี(Tengri หรือ Tanri)
คนกรีก ก็นับถือ เทพซุส เป็น บิดาแห่งท้องฟ้าและบิดาแห่งเทพทั้งปวง
คนโรมัน ก็นับถือ เทพจูปิเตอร์ เป็นบิดาแห่งท้องฟ้าและบิดาแห่งเทพทั้งปวงเช่นกัน
มันทำให้ผมรู้สึกว่า มนุษย์โบราณเดิมทีอาจจะเคยอยู่ด้วยกันมาก่อน ก่อนจะแยกย้าย เพราะหลายชนเผ่าหลายชาติพันธุ์ล้วนมีเทพแห่งท้องฟ้าเป็นคอนเซ็ปของ Sky Father
นอกจากนี้คำว่า พระเจ้า ในภาษาของมองโกลหรือชนเผ่าเร่ร่อน จะใช้คำว่า Tengri หรือ Tanri หรือ เทนกรี หรือ แถนรี
ทำให้ผมมีคอนเซปว่ามันมีความเป็นไปได้
1.ชนเผ่าเร่ร่อน เคยเดินทางมาดินแดนแถบนี้แล้วเผยแพร่ความเชื่อเรื่อง Sky Father
2.คนไทหรือไต เคยเป็นชนเผ่าเร่ร่อนเมื่อยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงได้มีองค์ความรู้จากบรรพบุรุษเรื่อง Sky Father สืบทอดมา
อีกหนึ่งหลักฐานคือรากของภาษา อย่างคำว่า เกวียน ซึ่งเป็นพาหนะเดินทางและขนสัมภาระ
คำนี้เป็นคำที่มีรากฐานมาจากชนเผ่าเร่ร่อน Proto-Indoeuropean ครับ อย่างมองโกลก็เรียกเกวียนว่าเกวียนเหมือนกัน(เสียงอาจเพี้ยน แต่โดยรวมคล้ายกันมาก)