เอาตรงๆทุกคนรู้ดีแต่มันแก้ไม่ได้เพราะขัดผลประโยชน์แม้แต่ธนาธรก็วนไปวนมา เรื่องแก้ปัณหาเกตรกรทังๆที่ทุกคนรู้ดีว่าปัณหาคือนายทุนนั้นแหละที่กดราคา ผมยกตัวอย่างง่ายๆข้าวเกวียนละห้าหกพันตกกิโลละ4-8บาทแต่เราซื้อข้าวกันกิโลละกี่ร้อย ปัณหาคือนายทุนกดราคาแล้วเอามาขายแพงขึ้นเกือบร้อยเท่าแต่ไม่มีใครพูด เพราะตัวเองก็เป็นพวกเดียวกันมันเป็นแบบนี้ในทุกสินค้าเพราะนายทุน
ไม่ใช่แค่นายทุนรังแกเกษตรกรครับ แต่รัฐเองก็รังแกครับ(รังแกผ่านทางกฎหมาย)
คุณ Rumia เคยเห็นเกษตรกรที่ทำอาชีพเกษตรจริงๆรวยมั้ยครับ? แน่นอนว่าไม่ อย่างยายผมเองทำสวนผลไม้ ยังเป็นได้อย่างมากสุดแค่ชนชั้นกลางเอง
ดังนั้นในเมื่อทำเกษตรไม่รวย ก็แค่ทำอาชีพอื่นแทน เช่น โฮมสเตรย์ ร้านกาแฟ โรงงาน ฯลฯ ผมว่าเรื่องนี้หลายคนก็น่าจะคิดได้นะครับ
แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น เนื่องจากที่ดินมันมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบมีโฉนด กับ แบบสปก.
ปัญหาคือเกษตรไทยจำนวนหนึ่งไม่น้อยที่ดินทำกินของเขาเป็นแบบที่สอง คือ แบบสปก
ที่ดินแบบสปก.เนี่ย มันถูกบังคับโดยกฎหมายว่าให้ทำแต่อาชีพเกษตรกรเท่านั้น ห้ามทำอาชีพอื่น
เอาละ บังคับให้ทำอาชีพเกษตรกรก็ว่าแย่แล้ว แต่ปัญหาคือที่ดินสปก. ขออนุญาตขอไฟฟ้าและน้ำประปาจากภาครัฐยากเย็นแสนเข็ญกว่าแบบโฉนดเหลือเกิน
ยังไม่พอนะครับ ห้ามขุดบ่อเก็บน้ำด้วย ผมถามหน่อยครับ บังคับให้ทำเกษตร แต่ไม่ให้ใช้น้ำไฟ ไม่ให้ขุดบ่อ แล้วมันจะทำเกษตรได้อย่างไรครับ? นี่มันไม่ย้อนแย้งเหรอครับ
แถมที่ดินสปก.ที่หลายคนคิดว่าป่า จริงๆ มันก็ไม่ใช่ป่าครับ เช่น วังน้ำเขียว ซึ่งกฎหมายสปก.ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 2518 ทั้งที่ตอนนี้บริบทและความเจริญเปลี่ยนไปเป็นหมู่บ้านหรือเมืองหมดแล้ว
แต่กฎหมายยังคงเดิมอย่างมีนัยยะสำคัญ แล้วรัฐก็เอาเงินมาสนับสนุนเกษตรกรราวกับว่าบีบให้จนแล้วแจกผ่านการพยุงราคาสินค้าเกษตร
รัฐบอกให้เกษตรกรทำ Smart Farm มาเป็น 10 ปี แต่นอกจากจะไม่ Support อะไรเกษตรกร
แค่ให้ต่อน้ำต่อไฟ ขุดบ่อเก็บน้ำ ยังไม่ให้ทำเลย ความย้อนแย้งนี่มันคืออะไรกัน
ซึ่งธนาธรเสนอง่ายมากครับ เสนอให้เปลี่ยนที่ดินสปก.ให้กลายเป็นโฉนดทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข เพื่อให้เจ้าของที่ดินสามารถเลือกได้ว่าจะทำเกษตรต่อหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินทำอาชีพอื่นแทน
เอาตัวอย่างเลย ต่อให้ไม่ใช่ที่ดินแบบสปก. อย่างยายของผมเป็นชาวสวนผลไม้ ที่ดินเป็นโฉนดปกติ ซึ่งปิดเทอมตอนเด็กๆผมจะไปอยู่บ้านยายเสมอที่ต่างจังหวัด
แต่เชื่อมั้ยครับ สมัยก่อนไม่กี่สิบยี่สิบปี ถนนเข้าหมู่บ้านของยายที่ทำสวน ยังเป็นดินลูกรังอยู่เลย
ไม่พอนะครับ ไม่มีการชลประทาน น้ำประปามันก็ไม่มี แต่ชาวสวนที่นั่นต้องหาน้ำด้วยการขุดบ่อเก็บน้ำฝนมาใช้การเกษตรเอง ต้องขุดเองไม่ก็จ่ายค่าขุดบ่อด้วยตัวเอง
ขนาดน้ำกินยังต้องรองน้ำฝนมาดื่มกินใช้เอง คุณคิดเอาว่าชีวิตเกษตรกรไทยมันลำบากแค่ไหน กะอีแค่ต่อน้ำประปาแม่งยังขอยากเลย
ปากรัฐบาลที่ผ่านมาหลายยุค ต่างพูดว่าสนับสนุนเกษตรกรอย่างโน้นอย่างนั้น แต่แค่น้ำชลประทานสำหรับการเกษตร รัฐกลับให้ไม่ได้ เกษตรกรต้องหามาเอง
เกิดปีนั้นฝนตกไม่ตรงฤดูกาล หรือ ฝนตกน้อย น้ำที่เก็บไม่พอ ก็หายนะเลย
อีกเรื่องหนึ่งรัฐบาลทุกสมัยบอกว่าจะพยุงราคา ผมถามจริงๆเถอะว่ารัฐพยุงราคาใครกันแน่ ระหว่างเกษตรกร หรือ พ่อค้าคนกลาง
เพราะถ้ารัฐพยุงราคาเกษตรกรจริงๆนะ รัฐควรจะส่งเจ้าหน้าที่มารับซื้อผลไม้จากเกษตรกรโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
แต่ความเป็นจริงคือเกษตรกรไม่มีทางเลือกขายผลผลิตที่อื่นนอกจากขายให้พ่อค้าคนกลาง และพ่อค้าคนกลางก็กินราคาพยุงเต็มๆ
ผมถึงคิดเหมือนธนาธรเรื่องนี้ไง ถ้ารัฐจะทำกันแบบนี้กับเกษตรกรนะ สู้ปล่อยให้เขาทำอาชีพดีกว่า
ไม่ใช่กักขังให้เขาอยู่กับความจนโดยเอาความโรแมนซ์ความยากลำบากของเกษตรกรมาใช้ประโยชน์ บังคับให้เขาทำเกษตรที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่มีทางรวยจนวันตาย
แถมเอาจริงๆนะ GDP จากผลผลิตทางการเกษตรมันก็ไม่ได้มากด้วย สู้การส่งออกจากอุตสาหกรรมก็ไม่ได้ สู้การท่องเที่ยวก็ไม่ได้ สู้งานบริการก็ไม่ได้
ไม่รู้จะอะไรกันนักหนากับการเกษตร ผมอยากจะบอกเหมือนว่า ถ้าอยากโรแมนซ์มากงั้นมาทำเองจะได้รู้ว่าทำเกษตรมันไม่ได้สนุกนะ
ต้องใช้ทั้งความรู้ ต้องใช้ทั้งประสบการณ์ ต้องบริหารคนใช้แรงงาน ต้องใช้ทั้งดวงด้วย การทำเกษตรมันยากจริงๆนะ ใครไม่เคยทำไม่รู้หรอกว่ามันลำบากจริง
...............
ล่าสุดไม่กี่ปีผมกลับบ้านยายไปเยี่ยมเหล่าญาติๆ เชื่อมั้ยว่าพ่อค้าคนกลางเดิมมันก็ว่าแย่อยู่แล้ว คราวนี้เจอพ่อค้าคนกลางจีนเข้าไปอีก แม่งตั้งเป็นโกดังภาษาจีนหลายร้านบนถนนหลวงเลย
ก็ไม่รู้ว่าพวกนี้มาถูกกฎหมายหรือเปล่านะ แต่ที่รู้แน่ๆห่วงโซ่อาหารกำลังเปลี่ยนไปในทางแย่กว่าเดิม