ขอบคุณที่มีคนช่วยตอบแทนนะครับ จริงๆเรื่องชิงสุกก่อนห่าม ผมเคยลงโพสต์ไว้หลายครั้งแล้วว่าเป็นเพียงวาทะกรรมของคึกฤทธิ์ ปราโมทย์
จริงอยู่ครับที่ ร.7 มีความตั้งใจจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญของร.7 ซึ่งร.7 จ้างฟรานซิส บีแซร์(พระกัลยาณไมตรี) ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครับ
รู้สึกผมเคยโพสต์ลงตัวฉบับจริงที่เป็นภาษาอังกฤษ และจดหมายที่เขียนถึงร.7 ด้วย
แต่รวบรัดเลยนะครับ มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญของร.7 เขียนว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์" แค่มาตราแรกก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว เพราะที่มาของอำนาจไม่ได้มาจากประชาชน
https://prachatai.com/journal/2017/04/71108ผมว่ารัฐธรรมนูญของร.7 เรียกว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบมีคณะรัฐมนตรี" เรียกแบบนี้น่าจะใกล้เคียงที่สุด ยังไงก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
แต่ก่อนประกาศใช้ คณะราษฎรรู้เลยรับไม่ได้ เป็นเหตุหนึ่งให้ตัดสินใจปฏิวัติการปกครอง 2475 และเสนอร่างรัฐธรรมนูญ 24 มิถุนา 2475
ร.7 เองก็ยอมกลายๆ เพราะตอนนั้นประชาชนเทมาอยู่ฝั่งคณะราษฎรหมด ยุคร.7 เป็นยุคที่ความนิยมระบอบกษัตริย์ตกต่ำที่สุด แต่ก็ได้เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่อ.ปรีดีร่างว่าเป็น "ฉบับชั่วคราว"
ฝ่ายกษัตริย์นิยม กับ คณะราษฎร ต่างฝ่ายต่างก็ประณีประณอมร่วมกันร่าง จนสุดท้ายรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา 2475 ก็ได้กำเนิดขึ้น ผมเรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า "ฉบับประณีประณอม"
โดยมีเนื้อหาหลักๆ คือ มีระบบสภา โดยมีรัฐมนตรีที่มีตำแหน่งในกระทรวงถือครองโดยฝ่ายกษัตริย์นิยม กับ รัฐมนตรีตำแหน่งลอยถือครองโดยฝ่ายคณะราษฎร
บางคนอาจจะสงสัยว่า รัฐมนตรีตำแหน่งลอย คืออะไร ที่จริงแล้วตำแหน่งรัฐมนตรีลอยมีขึ้นเพื่อตรวจสอบรัฐมนตรีที่มีตำแหน่งในกระทรวง (หลักการถ่วงดุลอำนาจ)
โดยมีประธานสภา คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา สมัยก่อนประธานสภา = นายกรัฐมนตรี
ฝ่ายกษัตริย์นิยม กับ คณะราษฎร ก็สู้กันในสภาไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายกษัตริย์นิยมเองก็ต้องกำจัดฝ่ายคณะราษฎร เพราะคิดว่าคณะราษฎรทำการแย่งอำนาจ
และต้องมีระบบสภาวุ่นวายมาตรวจสอบ ทั้งที่เมื่อก่อนไม่มี จะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ใช้งบประมาณอย่างไรก็ได้ ไม่มีการตรวจสอบชัดเจน
เรื่องมันบังเอิญ อ.ปรีดี ซึ่งมองไกล(จัดๆๆ) เสนอ เค้าโครงเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า สมุดปกเหลือง ทำให้เกิดการถกเถียงใหญ่
ซึ่งฝ่ายกษัตริย์นิยมหาว่าเค้าโครงเศรษฐกิจของอ.ปรีดีนั้น เป็นแนวคิดคอมมิวนิสต์ โดย ร.7 เป็นตัวตั้งตัวตีเองเลย โดยได้ทำหนังสือวิจารณ์ เรียกกันว่า สมุดปกขาว
โดยกล่าวหาว่า อ.ปรีดี ลอกเลียนแบบเลนนิน แต่ในความเป็นจริงแล้วแนวคิดของอ.ปรีดี มันไปไกลมาก มันคือระบบรัฐสวัสดิการแบบประเทศแถบสแกนดิเนเวียเป็นอยู่ตอนนี้
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ที จึงรีบร่างกฎหมาย พรบ.ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ทันที เพื่อกำจัดอ.ปรีดีให้ออกจากเส้นทางการเมือง ทำให้อ.ปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศอยู่พักหนึ่ง
อันที่จริง ถ้าตามรายละเอียดจริงๆ จะรู้ว่าอ.ปรีดี โดนลอบสังหารระหว่างลี้ภัยด้วย คนสนิทของอ.ปรีดีเสียชีวิต ดีที่อ.ปรีดีรอด
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่หยุดแค่นั้น ต้องการทำลายคณะราษฎรให้หมด โดยการปิดการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พูดง่ายๆ คือ การยึดอำนาจด้วยตัวบทกฎหมาย หรือ รัฐประหารด้วยกฎหมาย
แต่การกระทำของพระยามโนปกรณ์ทำให้ความนิยมชมชอบต่อเขาและตัวร.7 ของประชาชนลดลง มันมีคำกล่าวว่าเมื่อคนได้รับสิทธิแล้ว ย่อมไม่ยอมสูญเสียสิทธิที่ตัวเองมีไป
ประชาชนจึงต่อต้านพระยามโนปกรณ์และร.7 ฝ่ายกษัตริยฺ์นิยมต้องการกำจัดคณะราษฎรและต้องการทำให้กลับมาเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช
แต่สายไปแล้ว หัวหน้าคณะราษฎรพระยาพหลพลพยุหเสนากับพันโทแปลก พิบูลสงครามลงมือปฏิวัติเพื่อป้องกันพระยามโนฯทำ Counter-Revolution กลับเป็นระบอบเดิมได้สำเร็จ
คราวนี้ ร.7 เสียความนิยมและอำนาจมากกว่าเดิม พระยามโนปกรณ์ต้องลี้ภัย ขณะที่อ.ปรีดี กลับประเทศ และได้พิสูจน์แก้ต่างตนเองไม่ใช่คอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ
อ.ปรีดีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และได้ปรับโครงสร้าง กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตามที่อ.ปรีดีอยากให้มันเป็น คือก่อตั้งระบบเทศบาลขึ้น
ระบบเทศบาลทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น คณะราษฎรได้ความนิยมจากประชาชนมากกว่าเดิม ขณะที่ร.7 สูญเสียความนิยมมากขึ้นทุกที
แล้วก็มาเกิดเหตุการณ์ กบฏบวรเดช โดยพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งจากหลักฐาน พ่อตาของร.7 ได้แอบยักยอกเงินจากพระคลังเอามาสนับสนุนกองทัพฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช
และฝ่ายบวรเดชหลายคนก็ตั้งมั่นที่ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเหมือนจะบังเอิญว่าร.7 พำนักอยู่ที่วังไกลกังวล หัวหิน จ.ประจวบฯพอดี (จริงๆไม่บังเอิญ ร.7 สนับสนุนกบฏบวรเดช)
กบฏบวรเดช คือ สงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย ผลคือฝ่ายคณะราษฎรชนะ และทำให้เจ้าขุนมูลนายถูกจับเป็นจำนวนมาก
รวมถึง พระองค์เจ้ากรมขุนชัยนาทนเรนทร(ประธานองคมนตรีคนแรกสมัยร.9) ส่วนร.7 ก็ลี้ภัยหนีไปต่างประเทศโดยอ้างว่าไปรักษาดวงตา ยิ่งไปกว่านั้นยังยักยอกทรัพย์สินและอัญมณีสมัยร.5
หนีไปต่างประเทศ คณะราษฎรฟ้องร้องร.7 และชนะคดีต่อร.7 เลยยึดทรัพย์สินที่ยังเหลืออยู่ในไทยกลับมาเป็นของรัฐส่วนกลางทั้งหมด
ตอนนี้คือช่วงที่สถาบันกษัตริย์ไทยอ่อนแอที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีมา คณะราษฎรเมื่อมีอำนาจก็ได้ดำเนินนโยบาย 6 ประการ โดยเน้นด้านการศึกษามากที่สุด
ยกตัวอย่าง เช่น ที่ดินจุฬาลงกรณ์ก็เป็นคณะราษฎรที่แบ่งออกมาจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน และให้บริหารด้วยตัวเอง
ก่อตั้งม.ธรรมศาสตร์ ก่อตั้ง ม.เกษตรศาสตร์ ก่อตั้งโรงเรียนประถม+มัธยม(โรงเรียนไหนที่มีชื่อห้อยว่า บำรุงราษฎร์ โรงเรียนนั้นก่อตั้งจากการบริหารของคณะราษฎร)
แน่นอนว่าสมัยคณะราษฎรมันยังไม่ใช่ประชาธิปไตย 100% อันนี้จริงครับ ผมไม่เถียง แต่ไม่มีอะไรที่เกิดมาแล้วเป็น 100% เต็มใบหรอกครับ มันเริ่มจากค่อยเดินก้าวแรก
และคณะราษฎรก็ได้สร้างก้าวแรก คือ การทำให้มีระบบสภา การทำให้เริ่มมีการเลือกตั้ง การใช้หลักการถ่วงดุลอำนาจ ถึงแม้จะไม่สำเร็จแต่ผมมองว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี
ขณะที่ถ้าเรามาดู รัฐธรรมนูญที่ร.7 จ้างฟรานซิส บีแซร์ เขียน มันไม่ใช่ก้าวแรกเลย มันแค่การเขียนรัฐธรรมนูญที่สร้างความชอบธรรมในการอ้างสิทธิในอำนาจของตนเอง
ไม่มีคำว่าประชาชนอยู่ในรัฐธรรมนูญของร.7 แม้แต่ตัวเดียว หรือกล่าวง่ายๆ คือร.7 ไม่มีประชาชนอยู่ในสมการการบริหารเลย สิ่งที่ร.7 ทำก็คือปกป้องรักษาอำนาจตนเองเท่านั้น