เคยอ่านคอมเมนต์เกี่ยวกับละครครับ หลายๆเรื่องเลยที่เปลี่ยนบทจากในนิยายแบบหน้ามือ-หลังเท้า เช่นบทตัวร้ายที่จากบทประพันธ์นั้นมิติดีมาก มีส่วนดี-ส่วนสีบานลานซ์กันเกือบๆจะลงตัว มีความปุถุชนแบบคนทั่วไปในสังคมก็โดนเอาไปเปลี่ยนเป็นตัวร้ายแว๊ดๆเหมือนละครหลังข่าวสมัยก่อนมีรถเมล์ครีมแดง(บางเรื่อง) ก็มักจะมีข้ออ้างเสมอ หลักๆเลยก็คือเรื่องถ้าทำเป็นละครเทาๆจะสอนคนได้ยังไง
แสดงถึงการสะท้อนคุณภาพโดยรวมสมองของคนดูส่วนใหญ่ได้เลย ไม่นิยมวิเคราะห์ ชอบอะไรที่ย่อยง่าย ซึ่งแนวนี้มันเยอะเกินไป คือถ้าเป็นแนวๆละครสั้นอย่างฟ้ามีตายังพอเข้าใจได้ว่ามันแค่ตอนละไม่เกิน 1 ชั่วโมง(รวมโฆษณา เพลงIntro และพิธีกรบรรยาย) เลยต้องรีบปิดเลยแบบขาวชัด-ดำชัดไปเลย แต่ละครมันมีเวลาให้หลายตอนมากๆ ฉาย 2-3 วัน/สัปดาห์ มากพอที่จะให้เห็นแง่มุมตัวละครด้วยซ้ำถ้าเกลี่ยบทดีๆ
เอาจริงๆฟ้ามีตาสมัยหลังๆยังหัดทำตัวละครเทาๆบ้างแล้วนะ ถึงจะไม่มาติดๆกันทุกตอนก็เถอะ แต่ละครไทยในหลายๆเรื่องยังเน้นขาว-ดำชัด แล้วมาอ้างว่าเทาๆสอนคนไม่ได้ เอาจริงๆสอนได้มากกว่าขาวชัดดำชัดด้วยซ้ำ
อย่างน้อยๆก็เรื่องการStereotype คนบุคลิกต่างๆ เอาง่ายๆ ละครแนวสีขาว-ดำ คนที่ไม่ได้มีคุณสมบัติพระ-นาง เช่น หน้าตาไม่ดี เป็นตุ๊ด กะเทย ทอม ผิวดำ มีประวัติเคยทำแท้ง แฟนเก่าพระเอก คนที่ทิ้งพ่อแม่เลวๆ ฯลฯ คนกลุ่มนี้ถูกจัดหมวดเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้ โดนวางให้เป็นตัวตลกกากๆบ้าง ให้เป็นพวกงี่เง่าไร้เหตุผล เป็นตัวที่ต้องเจอจุดจบอนาถ เป็นตัวละครเรียกตีนคนดูก็มี ในขณะที่แนวเทาๆจะให้ความเป็นคนกับกลุ่มนี้มากกว่า
Sex Education ของ Netflix ก็มีตัวละครหลักทำแท้ง แต่ก็เสนอแง่มุมว่า "ไม่ได้เป็นแม่ก็ยังดีกว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี" ก็ยังมาโลดแล่นต่อสวยๆได้ ลองเป็นละครไทยเชื่อว่าคงจะเป็นอย่างดอกทองในผู้กล้าโล่ไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีตัวละครเพศที่สาม(แถมตัวดำ)เป็นตัวหลักโดยไม่จำเป็นต้องเป็นแนววายและไม่ต้องเป็นตัวตลกด้วย มีชีวิตแบบคนธรรมดาทั่วไป มีทั้งมุมตลก มุมดราม่าครบครัน
นี่หรือละครเทาๆที่สอนคนไม่ได้