ผมมองเป็นประเด็นๆ นะ มีทั้งที่เห็นด้วยกับที่ไม่เห็นด้วย และสิ่งที่อยากให้ปรับปรุง
เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนสังคม + กลุ่มเพื่อนที่คบ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้กลับมาทำผิดเดิมๆ ซ้ำๆ
แต่ผมก็เห็นด้วยกับการที่ให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานพินิจ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดว่าให้เด็กไปอยู่กับครอบครัวอื่น แม้ว่าจะการันตีว่าดูแลดี ความประพฤติเรียบร้อยอย่างของต่างประเทศที่เจ้าของกระทู้บอกไว้ข้างบน เพราะบริบทการเลี้ยงเด็กของคนไทยกับต่างประเทศมันต่างกัน
ในฐานะที่ปัจจุบันทำงานในองค์กรเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ไปอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์ชาวต่างชาติ ได้เห็นถึงความแตกต่างชัดเจนว่า เด็กที่ชาวต่างชาติเลี้ยงมีสามัญสำนึกดีกว่ากันมาก เคารพกฎหมาย รู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดไม่ควรทำหรือทำไม่ได้ อาจจะเพราะครอบครัวที่รับอุปการะโอเค เลี้ยงดี เคารพกฎหมาย
พอเขียนมาถึงตรงนี้ หลายท่านก็คงคิดในใจว่า "อ้าว แล้วต่างจากแนวคิดที่เจ้าของกระทู้ว่าให้เด็กไปอยู่กับครอบครัวอื่นที่ดูแลดียังไง ทำไมไม่เห็นด้วย"
เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยคือ พื้นฐานของ "ผู้ให้การเลี้ยงดู" ของคนไทยต่างจากต่างชาติครับ คนไทยเป็นคนมักง่าย ไร้ระเบียบ ไม่เคารพกฎ ติดระบบอุ้มชู เอาประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง สังเกตจากพฤติกรรมที่มักจะทำตามใจอยาก มองหาช่องว่างทางกฎหมายหาผลประโยชน์เข้าตัว เช่น ขับรถบนทางเท้าเพราะบนถนนรถติด ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ยัดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษ หรือแม้กระทั่งการมัวแต่รอรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว ซึ่งเห็นกันทั่วไป และเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างเปิดเผย ดังนั้นในครอบครัวที่แม้ว่าจะผ่านการอบรมหรือการันตีเรื่องการเลี้ยงดูเด็กอะไรต่างๆ นาๆ ก็คงหนีไม่พ้นรากเหง้าลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักสบาย ไม่เคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ ตั้งเอาประโยชน์ของตนเองและญาติพี่น้องเป็นพื้นฐานอันดับหนึ่ง เห็นได้จากเหตุการณ์ลักษณะว่า "เด็กตัวเองทำผิด หยงนๆน่า เขาเป็นเด็ก ไม่รู้ความ เด็กคนอื่นทำผิด โวยวายโลกแตก ยอมรับไม่ได้ ด่าว่าผู้ปกครอง ทำไมไม่ดูแลให้ดี" มีเยอะแยะ [size=78%]ซึ่งสุดท้ายก็จะเข้ากรอบแบบเดิมๆ คือ เด็กไร้สำนึก ไปทำผิดอย่างเดิม แต่ในสังคมใหม่ หรือที่แย่กว่านั้นอาจไปก่อความเดือดร้อนกับครอบครัวที่รับไปอุปถัมภ์อีก[/size]
"แล้วจะแก้ยังไง" คำถามนี้ ผมคงตอบได้ไม่เต็มปาก เพราะลำพังคนหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง คงไม่มีทางทำอะไรได้ เพราะมันหยั่งรากลึกมาก ถ้าจะแก้ คงต้องจัดเป็นวาระระดับชาติ แก้จิตสำนึกใหม่หมดทุกคน เคารพกฎหมายมากขึ้น ลดทัศนคติมักง่ายต่างๆ เช่น "ทำแค่นี้ ไม่เป็นไร ใครๆ ก็ทำ", "ยัดๆ เงินไป เดี๋ยวเรื่องก็จบ", ฯลฯ
พอพูดถึงกฎหมาย ก็อยากเสนอข้อปรับปรุงบางข้อ
อย่างที่รู้กันว่า "ผู้เยาว์ ไม่ต้องรับโทษทางอาญา" ซึ่งประเทศไทยกำหนดให้ "ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์)" ถือเป็นช่องว่างใหญ่ที่ทำให้เกิดอาชญากรรมที่เกิดจากฝีมือเยาวชนที่อายุอยู่ในช่วง 16-18 ปีบ่อยมาก หากเป็นไปได้จึงอยากจะให้แก้ไขคำจำกัดความของ "ผู้เยาว์" ใหม่ ลดเพดานอายุเหลือ 12-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เด็กยังไม่เป็นวัยรุ่นเต็มที่ ยังไม่ต่อต้านผู้ปกครองมาก สามารถปลูกฝังแนวความคิดเชิงบวกและปรับพฤติกรรมต่างๆ ได้ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเต็มที่
ส่วนในมุมมองของความรู้ของเด็กต่อพฤติดรรมต่างๆ นั้น ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าอดีต เด็กมีความฉลาดมากขึ้น สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เองแล้ว การจะอ้างว่าเด็กทำไปโดยไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คงเอามาใช้กับเด็กวัย 12-15 ปีไม่ได้แล้ว (เด็กบางครอบครัว เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ 8-10 ปีแล้ว)
อีกข้อที่อยากให้ปรับปรุงคือ การบังคับใช้กฎหมาย ควรใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเด็ดขาด ยกเลิกระบบอภัยโทษ / ลดโทษ เพื่อลดแนวคิดที่ว่า "ทำตัวสงบ อยู่ดีๆ ไปแปปนึง เดี๋ยวก็ได้อภัยโทษแล้ว" และป้องกันการกลับมาทำผิดซ้ำซ้อน (ยกตัวอย่่ง กรณีล่าสุดผู้กระทำผิดข้อหาฆาตกรรม ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ถูกปล่อยตัวเพราะประพฤติดีในคุก ออกมาก่อคดีซ้ำ เสียชีวิตเพิ่ม) และหากเป็นไปได้ควรนำโทษ "ประหารชีวิต" กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อเพิ่มความเกรงกลัวต่อกฎหมายมากขึ้นด้วย