เอาจริงๆไปดูประเทศอื่นเป็นตัวอย่าง ร้านค้าในสถานีส่งเสริมไปเลย รัฐวิสาหกิจ แล้วก็จัดให้ถูกหน่อย ให้คนท้องถิ่นทำ แต่ต้องทำให้ดูดีเป็นเงื่อนไขเช่นการจัดร้านให้ทันสมัย ประเทศอื่นค่าครองชีพแพงอาหารกำไรเยอะจ่ายค่าที่ได้ บ้านเรานี่คงต้องให้รัฐสนับสนุนสถานที่ก่อน ไม่งั้นไม่ไหว แต่ความเป็นจริงคือสถานีรถไฟคือแหล่งเงินของผู้ลงทุน ผลกำไรคือสิ่งที่สุด ชาวบ้านท้องถิ่นหมดโอกาสแน่นอน ที่ญี่ปุ่นตามสถานีจะมีเบนโตท้องถิ่นไปขายในร้านมินิมาร์ค
ผมว่าเอาตรงกลางดีสุดแม้จะตัดผู้ยากไร้จริงๆออกแต่ ไอเดียอาหารท้องถิ่นตามรถไฟนี่น่าสนใจ ประมาณให้ร้านท้องถิ่นไปเปิดนอกสานีแล้วส่งข้าวกล่องตามท้องถิ่นที่จัดไว้อย่างดีไปขายที่มินิมาร์ทตรงสถานีรถไฟให้คนขึ้นลงรถไฟซื้อได้หรือไม่ก็สั่งล่วงหน้าในรถจ่ายเงินให้เรียบร้อยแล้วพอผ่านสถานีนั้นเจ้าหน้าที่เอามาให้บริการ
เทศบาลในอำเภอผม สมัยก่อนจัดงานสินค้าท้องถิ่นข้างถนน (เป็นส่วนหน้าที่ทำการเทศบาล ) สมัยแรก คนมาเยอะมาก มีทั้งที่เช่าแผงสำหรับร้านค้า และที่เช่าสำหรับคนทั่วไปชาวบ้าน
ที่เช่าสำหรับชาวบ้าน มีระเบียบแค่ว่า มาก่อนได้ก่อน ไม่มีจองข้ามวัน ห้ามตั้งโต๊ะใหญ่ มาได้แค่คนล่ะโต๊ะ หรือคนละกระมัง กว้างประมาณ 1เมตรเศษ เรียกได้ว่าของชาวบ้านแท้ๆ ใส่กระมังมาวางขายกันเลย
ดันขายดีกว่า ร้านเช่าใหญ่ที่ซะอีก ขายดีมากทั้งๆที่ของบ้านๆ ไม่ได้สวยอะไรเลย จับกองๆ ใส่กระมังไปแท้ๆ ดีตรงถูก กับความเป็นของธรรมชาติแบบบ้านนอก
เพราะขายดีนี่แหละ ตอนหลังเลยไม่ให้ชาวบ้านมา
ผลกรรมสนอง หลังจากนั้นจัดงานทีไรคนน้อยตลอดทุกรอบ
จัดงานสิ้นค้าท้องถิ่น แต่ คนในพื้นที่ไม่มีพื้นที่เข้ามาแสดงของที่ตัวเองมี พื้นที่สำหรับชาวบ้านก็ไม่มี
ปล่อยงานแบบนี้มันเจ๊งๆ ไปเหอะ