จากประสบการณ์และความรู้ของผมในฐานะวิศวกร
ปกติแล้วสูตรคำนวนออกแบบสิ่งก่อสร้างของวิศวกรจะเผื่อ Safety ไว้อยู่แล้วให้เกิน Yield
นอกจากนี้มันจะคูณ Safety Factor เพิ่มเข้าไปอีก ส่วนใหญ่อาคารจะไม่พังเพราะ Design
แถมแนวคิดการออกแบบอาคาร จะเลือกให้พังที่เหล็กก่อนคอนกรีต หมายความว่า ถ้าเหล็กเกิน Yield Strength มันจะยืดออกจนเห็นรอยร้าว(ถ้าพังที่คอนกรีต อาคารจะระเบิด)
ดังนั้นการที่อาคารจะถล่ม % จึงต่ำมากๆ เรียกว่าต่ำกว่า 0.01% เสียอีก
แล้วเมื่อวานผมกับเพื่อนลองเอาภาพตึกสตง.ใหม่มาพิจารณากันทีละเฟรม Shot by Shot ว่าอันไหนพังก่อน
ปรากฎว่าที่พังก่อน คือ ส่วนของ Shear Wall
อะไรคือ Shear Wall?
กำแพงที่ถูกออกแบบเพื่อให้สามารถรับแรงต้านด้านข้าง โดยเฉพาะแรงลมและแผ่นดินไหว

ปกติแล้วถ้าอาคารสูงที่ไม่มี Shear Wall ถูกแรงลม หรือ ถูกแรงแผ่นดินไหว มันจะมีพฤติกรรมแบบนี้

แล้วเพื่อป้องกันตึกมันบิดเป็นเกลียว Shear Wall ต่ำสุดที่จะต้องใส่คือ 2 อัน เพื่อป้องกันตึกบิดจากแรงด้านข้าง
ซึ่ง Shear Wall เป็นอะไรที่แข็งแรงมากๆ โดยจุดของอาคารที่มักจะถูกใส่ Shear Wall คือ 1.ผนัง Core ลิฟท์ 2.บันไดหนีไฟ
แล้วในการออกแบบ Shear Wall เขาจะเผื่อค่า Safety ไว้เยอะมาก
ทีนี้ปัญหาที่ผมกับเพื่อนวิศวกรมีวิเคราะห์ดูที่เป็นไปได้นะ
1.Designer ตั้งสมมุติฐาน Assume Load ผิด แล้วผิดแบบเยอะด้วย แบบเกินเท่าตัว ซึ่งปกติแล้ว มันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะมันผ่านการตรวจสอบกันหลายต่อมากๆ
แถมผมได้ข่าววงในว่าคนออกแบบเป็นคนเขียน Code วิศวกรรมที่ใช้กันระดับสากลโลกด้วย ผมเลยคิดว่าข้อนี้ไม่น่าเป็นไปได้
2.ใช้เหล็กที่ Yield Strength ไม่ถึงตามที่กำหนด ซึ่งอันนี้ต้องเช็คเอกสาร Material Approval จากผู้รับเหมาอีกที(ไม่รู้ว่าใช่เอกสารที่บริษัทจีนรีบหอบหนีไปหรือเปล่า)
3.Method การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น ใส่เหล็กบริเวณ Shear Wall ขาด แล้วต้องขาดเยอะมากๆ เยอะแบบครึ่งต่อครึ่งเลย เพราะค่า Safety มันเผื่อเกือบเท่าตัว
4.อีกกรณีคือก่อสร้างและออกแบบถูกต้องได้มาตรฐานทุกอย่าง แต่ความสูงของอาคารดันไปตรงกับความยาวคลื่นของแผ่นดินไหวพอดีทำให้เกิด Resonance(สั่นพ้อง) ถ้าเป็นกรณีนี้คือเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ ไม่มีใครผิด เป็นเพียงความซวยที่ไม่อาจโทษใครได้
ตอนนี้สิ่งที่ผมอยากให้เปิดเผยเอกสาร คือ
1.เอกสาร Material Approval เช็คที่มาว่าวัสดุก่อสร้างมาจากที่ไหนบ้าง และค่า Yield Strength ของวัสดุก่อสร้างทุกอัน
2.แบบแปลน Shop Drawing เพื่อดูวิธีการใส่เหล็ก การทาบเหล็ก และ การงอเหล็ก ทุกจุด
ซึ่งคนที่จะมีเอกสารเหล่านี้มี 3 Party
1.บริษัทผู้ออกแบบ Designer
2.บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
3.บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก็คือ ITD กับ บริษัทจีนไชน่า-เรลเวย์
นอกจากนี้ที่ต้องดูอีกเรื่องหนึ่งคือ การก่อสร้างนี้เป็นการตั้งบริษัทค้าร่วม หรือ Joint Venture
อาจจะต้องไปดูว่าในหุ้นส่วน Joint Venture นี้ ระหว่าง ITD กับ บริษัทจีน ใครถือหุ้นมากกว่ากัน และถือกันเท่าไหร่