ไปเจอวิดีโออันนี้มาครับ สรุปได้ค่อนข้างดีครับ
กล่าวคือ จากที่ผมเข้าใจนะครับ
- ไม่ใช่หน่วยงานต่างๆ ขี้เกียจหรือเข้าข้างโจร เพียงแต่สื่อมักจะโฟกัสตอนที่โจรมันหาช่องโหว่แล้วมีผู้เสียหายได้มากกว่าตอนที่พวกนี้ไปปิดช่องโหว่ ดังนั้นพวกเราที่เสพสื่อเลยเกิด confirmation bias ขึ้น
- หน่วยงานพวกนี้กำลังคนมีจำกัด แล้วเวลามีคนแจ้งเข้าไปนี่ ไม่ใช่ว่าทุกเหตุจะเป็นมิจฉาชีพจริงหมด บางทีมันเป็น False alarm หรือพวกแจ้งไปก่อกวนด้วย แต่ถามว่าตำรวจไม่สืบพวก False alarm หรือพวกแจ้งกวนได้ไหม? ก็ทำไม่ได้ ก็ต้องสืบตามเรื่องเผื่อมันไม่ใช่อีก มันก็เลยทำให้ยิ่ง overload พวกหน่วยงานพวกนี้ไปอีกแทนที่จะโฟกัสเหตุจริง
- งานอุดช่องโหว่พวกนี้มันไม่วันจบหรอกครับ พวกโจรมันก็หาช่องใหม่เรื่อยๆ และหน่วยงานพวกนี้ก็ต้องคอยอุดไป บางทีเจอช่องโหว่แล้วมันออก patch แก้วันเดียวก็ไม่ได้อีก ต้องมานั่งทดสอบก่อนปล่อย เพราะไม่งั้นเดี๋ยวเป็นแบบ Crowdstrike เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ patch ปุ๊ป แทนที่จะอัพเกรดก็ดันทำคอม BSOD หมด อีก โจรเลยมีช่วงเวลาที่สามารถเล่นงานได้ในระยะหนึ่งก่อน patch ออก
- จากที่เก็บสถิติมา
การต้มตุ๋นที่เกิดมากสุดคือการหลอกลงทุน หลอกสมัครงาน หลอกซื้อสินค้าที่ไม่มีอยู่จริง ไม่ใช่ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ หรือข่มขู่ครับ ถ้าหากคุณจะจัดการกับพวกนี้แบบตัดไฟแต่ต้นลมก็ต้องมีการดักฟังบันทึกโทรศัพท์หรือการสื่อสารระหว่างกันของประชาชน ไม่งั้นจะแยกได้ไงว่าใครพูดจริงพูดหลอก
ถามว่าพวกสิทธิมนุษยชนมันจะยอมให้หน่วยงานต่างๆ ทำหรือครับ ถ้าคุณบอกว่าพวกนี้ไม่ยอมแน่ๆ ก็เป็นฝ่ายตั้งรับต่อไปครับ
Edit: อ้ออีกข้อนึง ตำรวจจริงๆ เขาก็ออกประกาศเตือนนะ แต่ดูเหมือนจะเตือนไม่ทั่วถึงเท่าไหร่ ไม่เข้าถึงประชาชน แล้วไม่นับว่าอคติของประชาชนที่มีต่อตำรวจอีกที่ทำให้เตือนแล้วไม่ฟัง ไม่เชื่อ เชื่อไอ้เสียงตามสายที่ไม่รู้ว่ามันคือใครมากกว่าประกาศของตำรวจก็มีถมไปครับ