ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพความต่างระหว่างนักต่อสู้เพื่อสิทธิฯ กับ Woke
Woke หรือ NGOs มักจะอยู่แต่ใน Comfort Zone ของตัวเอง ไม่เคยเหยียบย่างไปจุดที่เป็นวิกฤติจริงๆ
กลุ่มเป้าหมายก็เป็น Comfort คือ พวกที่ไม่มีอำนาจ หรืออำนาจด้อยกว่าตนเอง
เรื่องด่า เรื่องแซะ อันนี้แล้วแต่มุมมอง แต่สำคัญคือเป้าหมายต่างหาก คือใช้กับใคร ส่งเสียงไปหาใครต่างหากคือประเด็น
นักต่อสู้เพื่อสิทธิฯ เขาไม่เคยอยู่ใน Comfort Zone ทุกการกระทำของเขาจะถูกรัฐที่ครอบงำโดยผู้มีอำนาจหรือชนชั้นนำพยายามขัดขวาง
ซึ่งนั่นอาจหมายถึงชีวิตของนักต่อสู้จริงๆ หลายคนเนี่ยเขาต้องยอมแลกด้วยชีวิตของเขาจริงๆนะ เพื่อให้คนรุ่นถัดไปได้เจอโลกที่สวยงามกว่าโลกที่เขาเคยมีชีวิตอยู่
ทั้งชีวิตของพวกเขา บางครั้งเขาอาจไม่เคยหรือไม่มีวันเห็นโลกแบบที่เขาต้องการด้วยซ้ำ
ส่วนเป้าหมายมันก็่ชัดเจนอยู่แล้ว มันคือโครงสร้างทางสังคม มันคือชนชั้นนำ ชนชั้นปกครอง และแน่นอนเมื่อคุณชกกับผู้มีอำนาจ
คุณอาจจะไม่มีวันที่จะเจอ Comfort Zone เพราะคุณจะถูกหมายหัว แต่สำหรับนักต่อสู้ฯ เขายอมแลกไง
.....................
อีกเรื่องหนึ่งบางครั้งการต่อสู้เนี่ย มันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนหรืออะไรที่มันดูแบบยิ่งใหญ่เสมอไป
อย่างงานศิลปะเองเนี่ย ก็ผ่านการต่อสู้มาอย่างโชกโชน
สมัยก่อนคนที่จะเสพงานศิลปะได้จะต้องเป็นชนชั้นสูง มีเงิน มีชาติตระกูล มีเส้นสาย เพื่อที่จะเลี้ยงดูอุปถัมภ์เหล่าศิลปิน
ดังนั้นพวกศิลปินเหล่านี้ก็จำเป็นต้องผลิตผลงานที่ตอบสนองต่อรสนิยมของผู้เป็นนายเหนือหัว ศิลปะในสมัยก่อนจึงไม่ใช่เรื่องอิสระ
เช่น ต้องทำงานศิลปะเพื่ออวยเจ้านาย ต้องทำอวยศาสนา บลาๆ สารพัดความอวย และก็ต้องทำให้เหมือนเทพนิยาย Romanticism
เพื่อให้อวยชนชั้นเจ้านายเสมือนเป็นเทพในเทพนิยาย ใครทำงานศิลปะนอกจากแนวเหล่านี้ก็แทบจะถูกสาปส่งว่านอกรีด
แถมการจะขายผลงานก็จะต้องขายผ่านงานแสดงของ Salon de Paris ซึ่ง Salon นี่แม่งก็กำหนดธีมเอาไว้ให้ตอบสนองเฉพาะชนชั้นสูง
มันก็เลยเกิดนักศิลปะ ช่างฝีมือ สถาปันนิก และวิศวกรที่มองว่า การทำผลงานเพียงเพื่อตอบสนองชนชั้นนำ
เป็นการสร้างกรอบทางความคิด กักขังอิสระในการสร้างผลงานแบบอื่นๆ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
ก็เลยเกิดกลุ่มกบฎศิลปะหลายกลุ่มขึ้นมา ทำให้เกิดศิลปะแนวใหม่ เช่น เรียลลิสท์(เสมือนจริง) อิมเพรชั่นนิสต์ นีโออิมเพรสชั่นนิสต์ ฯลฯ
รวมถึงสร้าง Salon ของตัวเองขึ้นมาแข่งกับ Salon de Paris แม่งซะเลย
นอกจากนี้เพื่อที่จะทำให้ศิลปินสามารถยืนด้วยแข้งของตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งระบบอุปถัมภ์จากชนชั้นปกครอง
พวกเขาก็เลยต้องสร้างกลุ่มที่จะสามารถใช้ Studio ร่วมกัน สามารถแลกเปลี่ยนเทคนิคและความรู้ต่างๆกันได้
ยกตัวอย่างกลุ่มที่ดังที่สุด ก็คือ Free Mason
กลุ่ม Free Mason ก็ตามความหมายของชื่อเลย Free แปลว่า อิสระ Mason แปลว่า ช่างฝีมือ หรือ ศิลปิน
รวมกันหมายความว่า กลุ่มศิลปินอิสระ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย นักศิลปะ ช่างฝีมือแกะสลัก ช่างปั้น ช่างหล่อโลหะ ช่างก่อสร้าง สถาปันนิก วิศวกร มารวมตัวกัน
โดยเป็นที่พึ่งพิงของศิลปินตกยากให้สามารถทำงานสร้างผลงานศิลปะของตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปพึ่งระบบอุปถัมภ์ ไม่ต้องสร้างผลงานตอบสนองชนชั้นนำเสมอไป
พูดง่ายๆ คือ แหล่งรวมตัวของศิลปินหัวกบฎโดยแท้
ปัจจุบันกลุ่ม Free Mason ก็ยังมีอยู่นะครับ จำได้ว่างานสถาปัตย์อาคารหลายแห่งทั่วโลกที่ออกแบบโดยสมาชิกกลุ่ม Freemason
โดยพวกเขาจะทิ้ง สัญลักษณ์เอาไว้เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ผลงานชิ้นนี้ออกแบบโดยสมาชิกกลุ่ม Freemason เป็นการประกาศศักดา
ถ้าคุณเห็นตึกหรืออาคารไหน มีการทำสัญลักษณ์วงเวียนไขว้บนล่างกับไม้ฉาก และมีอักษร G
ให้พึงระลึกไว้ว่า คนออกแบบอาคารนี้ หรือสถาปันนิกและวิศวกรที่ออกแบบอาคารนี้มาจากกลุ่ม Freemason กลุ่มนักศิลปะจอมหัวขบถ