หลายหน่วยงานเจออีกหน่วยอ้างงานแล้วทับซ้อน ชัดๆก็ อปพร ที่ทหารแย่งงาน และงบไปทำ เมื่อไม่นานเกินน้ำท่วมใต้ อปพร ที่งบน้อยนิดต้องเอา รถสะพานที่ใช้เวลาติดตั้ง 3วัน มาใช้ แต่ ทหารบกโดนด่าแล้วค่อยมาช่วย ของเขา 30นาที
จริงๆ ประเทศไทยผิดหลักการใช้กองทัพทำหน้าที่นอกเหนือจากการสงครามและรักษาความปลอดภัยชายแดนโดยไม่ได้รับอนุญาตนะครับ
ปกติแล้วกองทัพสามารถทำ MOOTW (Millitary Operation Other Than War) ได้ แต่ต้องให้สภาอนุญาตเสียก่อนครับ ในต่างประเทศ
เช่น การใช้กำลังทหารช่วยผู้ประสบภัย เป็นต้น สภายกมือไม่ผ่าน หรือยังไม่ได้รับอนุมัติจากสภา ไปไม่ได้นะครับ
เข้าเรื่องกันต่อนะครับ ปกติแล้วการที่จะซ่อมถนน หรือสิ่งสาธารณูปโภค
มันจะต้องมีการขออนุมัติการขอส่งมอบพื้นที่หรือภาษาอังกฤษตามสัญญาก่อสร้าง Take-Over Certification
ถ้าไม่มีใบอนุญาตินี้เข้าไปทำอะไรไม่ได้นะครับ เพราะเวลาเกิดความเสียหายขึ้นมา มันจะหาคนรับผิดชอบไม่ได้(หรือพูดง่ายๆไม่มีใครตรวจสอบใครได้)
และจริงอยู่ที่ทั้งการทางเอย กองทัพเอย ต่างก็ทำเรื่องจัดซื้อจัดจ้างผรม.มาซ่อมแซมถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอยู่แล้ว
แต่กองทัพมันไม่ได้มีบุคลากรอย่างวิศวกรสาขาต่างๆ และมาตรฐานที่จะตรวจสอบผลงานที่ผรม.ทำเสร็จแล้ว
ใครทำก็ทำเสร็จได้หมดครับ แต่ทำให้มันดี มันทำยาก ถ้าไม่มีการตรวจสอบที่มีมาตรฐานกำหนดเอาไว้
ส่วนของไทยที่มันชักช้า มันคือเรื่องการทำเอกสาร โลกปัจจุบันมันเดินงานด้วยระบบเอกสาร
ถ้าระบบเอกสารมันส่งโดยตรงถึงผู้มีความรับผิดชอบตัดสินใจได้ในทันที งานมันก็เร็วหมดแหละครับ
แต่ปัญหาของไทยคือความคลุมเครือขอบเขตของงานครับ ต่างคนต่างไม่กล้ารับเผือกร้อน ถ้าไม่ถูกกำหนดไว้ชัดเจน
มันก็จะแทงเรื่องขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงยอดบนสุดของปิรามิด เพื่อว่าสมมุติถ้าพลาดก็จะได้ลากหัวหน้าที่อยู่สูงกว่าตนเองทุกคนมาร่วมรับผิดชอบด้วย
(ช่วยหารความผิดกันเวลาเกิดข้อผิดพลาด) ซึ่ง Mr.Tony ก็เลยพยายามแก้ปัญหาอยู่ในขอบเขตอำนาจของใคร คนนั้นต้องเซ็นและไปทำเลยทันที
เป็นระบบคล้ายๆแบบโจโฉ คือ ถ้าทำดีก็ได้รับความชอบคุ้มกับที่กล้าเสี่ยง ถ้าทำพลาดก็แตกครับ