[quote/]
ของจีนระบบเงินถูกวางไว้ดี และคนจีนค้าขายเก่ง คนไทยส่วนน้อยที่จะค้าขายเก่ง ญี่ปุ่นมีระบบยากูซ่าและกลุ่มไซบัตสึผูกขาดทำให้พัฒนาเร็ว แถมทุกวันนี้วัยรุ่นถูกทุนนอกปลูกฝังให้กลัวการผูกขาดของเจ้าสัวไทยมากกว่าทุนนอก การจะไปเท่าจีนหรือญี่ปุ่นคงยาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดของพวกเขาพอสมควร
การเปลี่ยนแปลงระบบเงินเป็นอะไรที่เสี่ยงมากถ้าไม่รัดกุม ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ แจ๊ค หม่า จะถูกอุ้ม ต้องคอยดูจีนอีกทีเพราะระบบที่หม่าเสนอไม่ช้าก็เร็วยังไงก็ต้องมา
ทำไมคนจีนถึงรวย ค้าขายเก่ง?
ผมกลับมองไปในอดีตนะครับ คนจีนสมัยก่อนเองก็ไม่ได้มีความรู้เช่นเดียวกับคนไทย คนจีนส่วนใหญ่ที่หนีมาไทย ไม่ใช่ชนชั้นพ่อค้านะครับ
ออกแนวเป็นชนชั้นกรรมาชีพเสียด้วยซ้ำ เสื่อหมอนใบ
อ้างอิงจากเรื่อง "อยู่กับก๋ง" กับ "จดหมายจากเมืองไทย" ของหยก บูรพา
เริ่มแรกพวกเขาคือขายแรงงานเลย รับจ้างหาบของ แบกของ
แต่อย่าลืมว่าสมัยก่อนมีกฎหมายอั้งยี่ตั้งแต่สมัย ร.5 พ.ศ. 2441(ปัจจุบันมันก็มี คสช เอากลับมาใช้ใหม่) มีเนื้อความว่า
"มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท" (อันนี้คือมาตราที่คสช.เอากลับมาใช้ใหม่ เนื้อความเหมือนเดิม แต่โทษเปลี่ยนจากของเดิม)
โดยมีองค์ประกอบความผิดดังนี้
1.ผู้ใด หมายถึง บุคคลใดๆที่ต้องสงสัยกระทำผิด
2.เป็นสมาชิกคณะบุคคล
3.ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
กฎหมายตัวนี้ในสมัย ร.5 ตราออกมาเพื่อจัดการกับคนจีน ยิ่งทำให้คนจีนยิ่งต้องช่วยเหลือกันโดยการก่อตั้งเป็นสมาคม เช่น สมาคมไหหลำ สมาคมจีนเตี้ยอัน ฯลฯ
ในสมัยก่อนสมาคมเหล่านี้มักจะส่งส่วยให้แก่ทางการ ทางการก็มักจะรับเงินแล้วก็ปิดตาข้างหนึ่ง
มาว่ากันต่อเรื่องสมาคม การช่วยเหลือของคนจีนในสมาคมจีนนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การปล่อยกู้ยืมเพื่อเป็นเงินทุนตั้งต้นกิจการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ของคนในสมาคม
อาจจะกล่าวได้ว่าการที่คนจีนสามารถยกระดับตัวเองจากการลี้ภัยมาอยู่อาศัยในประเทศอื่นจากชนชั้นกรรมาชีพขึ้นสู่ระดับเจ้าสัวใหญ่นั้น การร่วมมือของคนในสมาคมนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
ผมมองว่าอันที่จริงคนไทยก็สามารถเป็นเจ้าสัวแบบคนจีนได้เช่นกัน เพียงแต่มันไม่มีโอกาส
แตกต่างจากสมาคมจีนเหล่านี้ที่ให้โอกาสทั้งเงินทุนรอนตั้งต้นทำธุรกิจ และให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ และการอ่านหนังสือ
ประเทศไทยพึ่งตระหนักว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญแก่ประชาชนทุกคนไม่ใช่ชนชั้นขุนนางก็ในสมัยที่คณะราษฎรเป็นรัฐบาล จึงทำให้เกิดมหาลัยต่างๆ รวมถึงโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แต่ตั้งแต่ ร.5 จนถึง ร.7 ไม่เคยมีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาแก่ประชาชนทุกคนจริงๆจังๆเลย