ความเห็นส่วนตัวของอลิสจัง
1. มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าฟอนต์และซอฟแวร์หรือ Club Goods ต่างๆ ก็แจกฟรีได้ ทำไมถึงมีคนทำมาขาย แล้วมันก็จะเกิดการต่อต้านซอฟแวร์ที่เสียเงิน
และทำให้ไม่สามารถหยุดยั้งการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้
2. ทำให้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ใช้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ในงานป้ายต่างๆ เมื่อ TH Sarabun เข้ามาควบคุมงานป้ายในสถานที่ราชการ
3. บุคลิกภาพของฟอนต์ดูโค้ง ผ่อนคลาย และอ่อนช้อย ทำให้ไม่เหมาะกับงานราชการ ซึ่งฟอนต์ที่เหมาะกับการพิมพ์เอกสารราชการที่สุดตามทัศนคติของอลิสจังคือ Tahoma
เพราะความอ่อนช้อยทำให้ดูสวยงาม มีความรู้สึกผ่อนคลาย ขัดแย้งกับบุคลิคของราชการที่ไม่ควรทำให้ดูผ่อนคลาย ควรทำให้ดูขึงขัง น่าเกรงขาม และเป็นหุ่นยนต์ที่ไร้จิตใจ ซึ่งฟอนต์ Tahoma คือฟอนต์ที่บุคลิคภาพดูไร้ความรู้สึกล่ะเจ้าค่ะ
อีกตัวก็คือ Noto Sans UI ใน Android, Thonburi ใน Mac/iOS และ Loma ใน Ubuntu
4. ฟอนต์ไม่ถูกหลักการเขียนหนังสือ คือมันแตกต่างจากแบบคัดไทยในวัยเด็กของอลิสจัง เช่น ตัว บ ป ย อ ที่ด้านล่างต้องตัดเหลี่ยมแต่ฟอนต์สารบรรณกลับโค้ง ตัวขมวดของอักษร น เป็นวงกลมแทนที่จะเป็นรูปตัว D
5. มีหลายอย่างที่ดูแปลกๆ เช่น เลข 4 ที่เส้นเฉียงของฟอนต์นี้มันโค้ง และบุคลิคที่ดูดีเกินไปของฟอนต์ตัวนี้ ทำให้อลิสจังไม่ต้องการให้ฟอนต์ตัวนี้เป็นแบบอักษรที่เคยชิน อยากให้เป็นฟอนต์ที่นานๆ อาจจะเห็นทีในหลังสือราคาแพงบางเล่ม หรือเป็นฟอนต์อัตลักษณ์ในองค์รราคาแพงบางองค์กร