[quote/]
แต่ดูเหมือน Alice รู้ศัพท์ช่างเยอะ ไม่ทราบว่าเป็นวิศวกร หรือ นายช่างด้านไฟฟ้าหรือเปล่า
ขยายความนะครับ
Spacer คือ ตัวแยกสายให้ห่างกัน ถ้าสายมันติดกันจนพันกันเพราะลม มันมีโอกาสเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำคล้ายๆแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าเกิดขึ้นอันนี้หายนะของจริง
และถ้าเป็นสายเปลือย(ไม่รู้ปัจจุบันยังหลงเหลืออยู่หรือเปล่านะ) ถ้าสาย N(ศักย์ไฟฟ้า =0) กับสายที่มีไฟแตะกันนี่บรึ้มลัดวงจรเลย เหมือนข่าวที่งูชอบปีนไปกินนกบนเสาไฟฟ้าสมัยก่อน
พอตัวมันพาดสาย N กับสายมีไฟ กระแสไฟฟ้าก็วิ่งผ่านตัวงู กลายเป็นตัวงูทำให้เกิดครบวงจร ตัวมันก็ไหม้และก็ระเบิดตูมกลายเป็นโกโก้ครั้น
Insulator แปลตรงๆว่า ฉนวนครับ แต่ในที่นี้คือฉนวนไฟฟ้า มันคือแท่งเซรามิคสีน้ำตาล ซึ่งเซรามิคไม่นำไฟฟ้าครับ
สายเปลือยเยอะแยะตามต่างหมู่บ้าน สายเมนก็ไม่น่าจะน้อย
แต่สายหุ้มในช่วงหลังๆ กฟภ. ไม่ค่อยได้ใช้ Spacer ละ แต่ก็มีสำรองไว้อยู่
จากที่อลิสจังสังเกตมาได้ แบ่งรูปแบบการจัดสายได้แบบนี้
Gen 1 ยังคงเหลือรอดให้เห็นอยู่ตามต่างหมู่บ้าน
Gen 2 น่าจะยังคงเป็นส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ พบได้ตามต่างหมู่บ้านและสายเมนตามทางหลวงทั่วไป และแนวสายใหม่ก็ยังคงใช้ในช่วงกลางทุ่งโล่งๆ อยู่บ้าง
Gen 3 สมัยก่อนจะใช้ในช่วงสั้นๆ ในป่าหรือในพื้นที่แคบ แต่พอมีนโยบายเปลี่ยนสายเมนเป็นสายหุ้มฉนวน ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดสายของ Gen 1, 2 ตามสายเมนให้เป็น Gen 3
Gen 4 อันนี้จะเริ่มเยอะหลังปี 2015 แยกออกมาจาก Gen 3 ที่ปกติจะใช้รูปแบบนี้ในช่วงทางโค้งหรือเป็นจุดต่อสายกับหม้อแปลงหรือทางแยกสายไฟ
ใช้กับแนวสายใหม่และ Gen 1, 2 ที่เหลือรอดจากการเปลี่ยนแปลงเป็น Gen 3 แต่แนวสายที่เปลี่ยนเป็น Gen 3 แล้วจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเป็น Gen 4 เพราะมันหุ้มฉนวนอยู่แล้ว
ปล.Gen 4 หารูปยากเพราะส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บภาพของ Google Streetview
แต่สายหุ้มฉนวน บางเคสก็มัดรวมโดยไม่ใช้ Spacer กฟน. เห็นบ่อยแต่ กฟภ. จะทำเฉพาะในบางกรณีเท่านั้น