ว่าแล้วก็นึกถึงบุตรีดยุค
ไอรีสลุกขึ้นสู้กับคนที่มาวางอำนาจกลั่นแกล้งโบสถ์ที่ถูกทิ้งร้าง
ถึงจะโลกสวย แต่ก็ไม่โง่พอลุกต่อสู้ทั้งที่ตัวเองไม่มีพลัง
เธอไม่อยากให้สังคมมีแต่คนอ่อนแอถูกรังแก แต่ต้องการให้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ ด้วยการที่มี [ยาม] คอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยเป็นที่พึ่ง
เธอไม่อยากให้สังคมของเธอเป็นสังคมที่มีแต่ต้องใช้อำนาจ หรือเป็นสังคมที่ต้องใช้กำลังตัวเองเพื่อปกป้องชีวิตตัวเอง
เป็นสังคมที่สามารถวางใจได้ว่ารัฐจะปกป้องชีวิตมอบความยุติธรรมให้กับพวกเขาได้
ซึ่งนั่นละคือสังคมอุดมคติครับ
***
คำพูดที่ว่าให้อดทนต่อการ Bully ไม่ต้องโต้ตอบนั้น สามารถพึงกระทำได้เฉพาะสังคมแบบไอรีสเท่านั้น คือมีความยุติธรรมยืนอยู่ฝ่ายเรา คอยปกป้องและเรียกหาความยุติธรรมให้กับเราได้ และไม่ยกโทษให้กับฝ่ายผู้กระทำอันมิชอบ
แต่สังคมที่พวกเราอยู่ทุกวันนี้มันไม่ใช่เช่นนั้น
แม้แต่ไอรีสเองก็ยังรู้เลย ว่าโลกจริงมันไม่สวยหรูแบบนั้น นางเลยเปิดโรงเรียน มอบ [ความรู้] ให้กับประชาชนในเขตปกครองตัวเอง เพื่อมอบอาวุธที่เรียกว่า [ความรู้] ในการเปิดทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับพวกเขาในการสู้ชีวิต รวมถึงต่อสู้กับสิ่งไร้เหตุผลทั้งหลายด้วย
แล้วพวกเราละถูกสอนให้ต่อสู้กับความอยุติธรรมหรือไม่ ?
มันน่าตลกมาก ที่เราถูกสอนให้เป็นคนดี ให้ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งชั่วร้าย แต่กลับสั่งสอนให้ยอมอดทนต่อการถูกกระทำ อดทนไม่โต้ตอบในเวลาเดียวกัน
อย่าไปมีเรื่องกับพวกนักเลง แล้วให้ไปพึงครูหรือตำรวจหรือผู้ใหญ่ แต่กลับกลายเป็นว่าคนที่ควรให้พึ่ง กลับพึ่งพาไม่ค่อยได้ (คือปกป้องให้เราไม่ได้)
ซ้ำร้ายเรานี่แหละจะโดนรังแกหนักขึ้นไปอีก
มันไม่ใช่ระดับแค่โรงเรียนครับ พอมองขยายเป็นระดับสังคมเมือง จะพบว่ารูปแบบโครงสร้างแทบจะไม่แตกต่างกันเลยครับ
สัดส่วนของตำรวจกับครูที่ทำงานอย่างจริงจังกับพวกที่เอาแต่กินเงินเดือนไปวัน ๆ มันดันมีปะปนกันไปจนเราต้องกุมหัว
พอมีปัญหาก็ไปโทษอย่างอื่นที่ไม่สามารถโต้ตอบได้อย่างเช่น ละคร ทีวี หนัง หรือเกมส์ (หลัง ๆ มาเกมส์จะโดนหนักเป็นพิเศษ)
บ้าดีไหมละครับ ? ปัดความรับผิดชอบกันหน้าด้าน ๆ เลยนะนั่น ?
แล้วอีสังคมแบบนี้มันคือระเบิดเวลาดี ๆ นั่นละ
คนที่ถูกกระทำ พออดทนถึงจุดหนึ่ง มันจะระเบิดออกมารุนแรงมากครับ
ทีนี้ใครผิด ? แม่งก็ตอบยากแล้วละครับ เพราะคนมันอารมณ์ระเบิดออกมาอย่างรุนแรงไปแล้ว...
***
ความจริงถ้าสอนให้รู้จักสู้ รู้จักต่อต้านความอยุติธรรม เรื่องมันจะจบไวมากครับ
ถ้าเด็กมันบอกเพื่อนตั้งแต่แรกที่โดนล้อเลยว่า "ตรูไม่ชอบที่มรึงล้อเฟ้ย !" มันคงจบลงตั้งแต่ตรงนั้นแล้วครับ
อาจมีชกต่อยกันบ้างตามประสาเด็ก แต่มันคงจบตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว เพราะไอคนแกล้งก็คงไม่อยากเจ็บตัวมีเรื่องชกต่อยกันบ่อย ๆ
แต่เด็กมักโดนกดหัวด้วยความกลัว กลัวตั้งแต่จะโดนแกล้งหนักขึ้น ไปจนกลัวครูว่าครูจะลงโทษแบบเหมารวม ไปจนถึงกลัวพ่อแม่ตัวเองด่าปิดท้าย เพราะเวลาเกิดเรื่อง มันมักมีวลีเด็ดออกมาว่า "ทำไมลูกถึงไปมีเรื่องชกต่อยกับเพื่อนละ ? ทำไมถึงไม่อดทน ? แล้วก็เริ่มดุด่าลากยาวบลา ๆ " -*-