^
อัตนัยนอกจากตรวจยากแล้วยังขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ตรวจอีกด้วยครับว่าจะให้ถูกไหม
บางทีนักเรียนล้ำเกินเอาที่ไม่เคยสอนมาตอบอาจารย์มึนพอกลับไปบ้านนั่งๆ คิดดูอีกทีนักเรียนทำถูกแต่ ณ ตอนนั้นให้ผิดไปแล้ว
ปรนัยเลือกหลายตัวนี่ตรวจง่ายมั่วยากครับ
@Kokonokaโค๊ดตอนตรวจแก้ง่ายมากครับ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ตัวเลขแทนค่าคำตอบกันเช่น 1 = ก, 2 = ข, ...
แก้เป็นใช้เลขฐาน 2 ในการเก็บคำตอบโดยจัดเก็บในรูปแบบเลขฐาน 10 เช่นเดิมเช่น กขค = 111 = 7, กค = 101 = 5, กข = 011 = 3, ขค = 110 = 6 เป็นต้นครับ
ส่วน UI ก็ไปแก้ตรงปุ่มกดคำตอบจาก button/choice เป็น checkbox แทน
ส่วนจำนวนตัวเลือกในโจทย์หนึ่งๆ นั้นผมคิดว่า 3 ตัวเลือกกำลังดี(แค่นี้ก็เจอกับ 8 ความเป็นไปได้แล้ว) ยากหน่อยก็ 4(ก - ง) ตัวเลือก
ถ้ามากกว่านี้ข้อๆ หนึ่งจะเสียเวลามากเกินไปเพราะจุดประสงค์หลักของการทดสอบคือการใช้โจทย์เป็นเครื่องมือวัดว่านักเรียนเข้าใจหัวข้อนั้นๆ
ส่วนตัวถ้าผมทำจะเป็นโจทย์ละ 3 ตัวเลือก ง่ายครู ง่ายนักเรียนที่เข้าใจ แต่คนไม่เข้าใจงงเต็กมั่วยาก
ส่วนระบบข้อย่อยนี่ผมมองว่าไม่ใช่วิธีการออกข้อสอบที่ดีนัก เหมือนเล่น normal ไม่ผ่านลดมาเป็น easy แทน
สะท้อนให้เห็นว่า ณ หัวข้อการทดสอบนี้ไม่ครูที่สอน นักเรียน หรือโจทย์ อย่างน้อยต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีปัญหา ครูสอนไม่รู้เรื่อง นักเรียนไม่เข้าใจเป็นจำนวนมาก หรือโจทย์เอาอันใดมาให้นักเรียนทำกันฟระ
ส่วนเรื่องตกม้าตายระหว่างทางนั้นผมว่าในข้อสอบทั่วไปมันก็เป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว ต่อให้เลือกตอบข้อเดียวถ้าคนออกข้อสอบเอาโจทย์คือคำตอบของสมการแล้วให้นักเรียนหาว่านี่คือคำตอบของสมการในตัวเลือกใด นักเรียนคิดผิดตัวเลือกใดไปก็ดับไม่ต่างกัน เพียงแต่แนวปรนัยแบบที่ผมเสนอมานั้นนักเรียนจะต้องออกจากกรอบความคิดว่าข้อนั้นๆ จะต้องมีตัวเลือกที่ถูก 1 ตัวเลือกเสมอ