@samuison
ความเป็นไปได้ของโครงการ = เมื่อลงทุนเท่ากับคุ้มหรือไม่
สำรวจอวกาศแล้วได้อะไรกลับมา
เช่น สินแร่ น้ำมัน เทคโนโลยีเอาขายต่างชาติ
แต่ก็ต้องมาเทียบกับ Cost
ค่าเดินทางไปอวกาศ ค่าสร้างเหมือง ค่าขนส่งแร่ อะไรต่อมิอะไรอีก
ถ้าทำแล้วความเป็นไปได้เงินได้มากกว่าเงินจ่าย มันก็น่าลองลงทุน แต่ถ้าเกิดรายจ่ายมากกว่ารายได้ มันก็ไม่ควรทำตั้งแต่แรกเพราะเปลืองเงิน และไม่ได้อะไรกลับมา
ก็นั่นล่ะครับ
เท่าที่ผมเคยคุยพวกเนิร์ดฝรั่ง มีความหวังกับอวกาศมาก
ว่าแนวคิดว่า "โลกหมดสิ้นทรัพยากร"ในหนังแนวไซไฟคือเรื่องโกหก ตราบใดที่เรายังมีเทคโนโลยีสูวมากพอเราก็ยังชิลๆ
ญี่ปุ่นเท่าที่เคยอ่านมา ก็ต้องการเทคโนโลยีที่สามารถเก็บเกี่ยวทรัพยากรในเขตท้องทะเลของตนเองได้
ยุทธการจุดตะวันก็มีเรื่องนี้
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เนิร์ดพูดกันมานานแล้ว แต่ที่ยุทธการจุดตะวันพูดคือเพียงแค่ท้องทะเลและน่านน้ำ
ทางทฤษฎี อวกาศมีขีดจำกัด แต่สำหรับการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ก็อาจเรียกว่าเกินพอ
นี่อาจจะเป็นอนยคิดที่แตกต่างกันของคนตะวันออกกับคนตะวันตกก็ได้ครับ
จำได้ว่าเคยอ่านเจอว่ามีคนถามทักษิณสมัยหลายสิบปีก่อนว่า ยังพอขยายเครือข่ายธุรกิจสื่อสารในเมืองไทยได้ไหม?
ทัดษิณตอบว่าต้องเตรียมใจเผาเงิน สองร้อยล้าน....
ในสายตาของตะวันออก คำพูดของทักษิณคือการขู่ให้เลิก
ในสายตาของคนตะวันตก คำพูดทักษิณคือการท้าทาย
กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าหากยอมเผาเงินสองร้อยล้านตอนนั้นก็เป็นเพียงแค่เศษเงินเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ตอนนี้
...แนวคิดพื้นฐานต่างกันจริงๆครับ
นึกถึงเรื่องที่เคยคุยกัน ว่าหากคนที่เล่นเควสต์กับผมด้วยนี้ไป isekai คงกลายเป็นแบบสุยหยางตี้
ฝรั่งที่เชื่อเรื่องการขุดคลอง สร้างเขื่อน ตรงไปตรงมา
มองว่าจะเกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองก็ไม่สน ขุดเร็วขึ้นหนึ่งวันก็ได้ประโยชน์เร็วขึ้นหนึ่งวัน
ผลประโยชน์มหาศาลแลกกับความเจ็บปวดก็รับว่าคุ้มค่า
ผมถึงมองว่าสุยหยางตี้ น่าจะคือ ฝรั่ง isekai ไปจีนโบราณ แนวความคิดต่างกัน
เราต้องการประคับประคอง ในแนวคิดตะวันตก
อวกาศก็เป็นเรื่องแนวคิดแบบนี้เช่นกัน
เท่าที่เคยคุยมามันมีแนวความคิดว่าความเป็นไปได้ ว่าจะเกิดยุคตื่นทองแบบตะวันตกในอวกาศ
ว่าพอมีเทคโนโลยีเพียงพอ บริษัท ประเทศ นักลงทุนหลายคนจะแห่แหนกันสู่อวกาศ
และคนที่จะเป็นผู้นำคือคนที่ไปได้คนแรก
...ประธานาธิบดี วาเลนไทน์ในโจโจ้ ก็นับว่าอ.อารากิ เข้าใจแนวคิดอเมริกาได้ค่อนข้างดีเลยล่ะครับ