คือผมนึกถึงมุกตลกว่า
"เมียผมยกให้ผมเป็นผู้นำ ตัดสินใจแต่เรื่องใหญ่ๆ ยี่สิบปีที่ผ่านมาไม่เคยมีเรื่องใหญ่ๆเลยแม้แต่เรือ่งเดียว"

แต่ในแนวนิยาย ท่านกิมย้ง ก็บอกว่าพอเรื่องใหญ่ในบ้าน ก๊วยเจ๋งที่ยอมอึ้งย้งตลอดก็ต้องวางกฎเกณพ์ว่า no
แม้แต่เจเคที่อยู่ซีกโลกตะวันตก แม้เราจะเห็นตระกูลวิสลีย์ มอลลี่แม่บ้านคุมอยู่ตามปรกติ แต่พอมีเรื่องสำคัญ คุณวิสลี่ย์ก็เซย์โนได้
หรือเคสเซเลอร์มูนที่แม้จะมีพลังของจักรวาล ก็ต้องมาร้องไห้ให้คุณมาฌมรุช่วยปลอบในการตัดสินใจว่างั้น
นักเขียนหลายคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม
ทำไมถึงต้องใช้มุกเดียวกันด้วยครับ?
โดยเฉพาะเจเคนี่ไม่น่าจะเป็นคนคิดอย่างนั้นเพระาแกแฟมินิสม์จ๋ามาก
แต่ก็ดันเขียนว่าคุณวิสลีย์ยื่นคำขาดในเรื่องใหญ่ๆตอนโวลเดอมอร์ ทั้งบ้านก็ต้องฟังที่พ่อพุด
ทุกท่านคิดว่ามันเพราะอะไรกันแน่ครับ?
หรือเพราะมุกตลกที่ชอบพูดกันว่า
"ผู้ชายตัดสินใจแต่เรื่องใหญ่ๆ"
มันเป็นอย่างที่แซวกันจริงๆ
แต่เรื่องใหญ่ที่ว่ามันต้องระดับชาติบ้านเมืองหรือโวลเดอมอร์นู่น
ไม่ใช่เรื่องอย่างเอาลุกเข้าโรงเรียนหรือซื้อบ้านใหม่แบบที่ชอบแซวกัน?
ผมไปเจอทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจในแง่นี้คือ
ผู้หญิงติดนิสัยคำนึงผลดีผลเสียหลายด้านหาสิ่งที่ดีที่สุด
แต่พอเจอเรื่องใหญ่ๆที่แต่ละทางก็มีผลดีผลเสียพอพอกันหรืออาจจะไม่มีทางที่ดีเลย
ทำให้ทักษะการพิจารณาอย่างรอบด้านกลายเป็นผลเสียเสียเอง ทำให้การตัดสินใจหากดูจากภายนอกเป็นการตัดสินใจที่ดูช้าและลังเลเพราะผ่านการคำนึงถึงหลายๆด้าน
ต่างกับแนวคิดของผู้ชายที่จัดอันดับความสำคัญของแต่ละอย่างค่อนข้างเด่นชัดกว่าเช่น
"เอ็งไปเข้ากับท่านข่าน เอ็งออกจากบ้านของตูไปเลย"
"เอ็งไปเข้ากับกระทรวงที่ส่งข่าวให้โวลเดอมอร์ เอ็งออกจากบ้านของตูไปเลย"
ผมนึกถึงมุกในนิยายแนวการเมืองที่เคยอ่านน่ะครับ
เป็นที่ปรึกษาท่านปธน.
เรื่องดีดีท่านปธน.บอกว่าเป็นผลงานการตัดสินใจของตนเองคนเดียว
เรือ่งไม่ดีที่มีผลกระทบมาก ท่านปธน.ดันบอกว่าเราร่วมตัดสินใจด้วย

ทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ?