คำว่า "ภาษี" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2554 กำหนดคำนี้แปลว่า
1.) น. เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคลในเหตุต่างๆ เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การประกอบกิจการ การบริโภค เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.) น. ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า
https://dictionary.orst.go.th/ส่วนภาษาอังกฤษ คำว่า Tax มีความหมายที่ Oxford ได้ให้คำนิยามว่า
Noun :
1.) A compulsory contribution to State revenue, Levied by Government on Workers income and business profits, or added to the cost of some goods, service, and transaction.
2.) A Strain or heavy demand
Verb :
1.) Impose a Tax on (someone or something)
2.) Make a Demand on (someone or something)
3.) Confront (someone) with a fault or wrongdoing
4.) Examine and assess (the case of cost)
https://www.lexico.com/definition/taxเข้าประเด็นกันนะครับ แน่นอนว่าผมอยากให้เรามาโฟกัสกันที่ความหมายแรกของคำว่า ภาษี คือ
รัฐเก็บรายได้จากบุคคล...เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่นในส่วนที่ผมเน้น ผมตีความหมายว่า
รัฐมีหน้าที่รวบเงินจากพวกเราทุกคนเข้ากองกลาง และบริหารจัดการนำเงินกองกลางนี้ไปใช้ประโยชน์ตอบแทนกลับคืนมานั่นหมายความว่า รัฐจะเก็บภาษีถูกหรือแพงนั้นไม่สำคัญ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ประโยคที่สอง คือ การบริหารจัดการนำเงินกองกลางนี้ไปใช้ประโยชน์ตอบแทนกลับมาหาพวกเรา
ดังนั้นต่อให้คุณเสียภาษีโหดในระดับประเทศอังกฤษราวๆ 50% แต่ถ้ารัฐตอบแทนกลับมาเกิน 50% ก็ถือเป็นเรื่องยอมรับได้ แต่ในทางกลับกันถ้ารัฐเก็บภาษีเราต่ำมากแค่ 1% หรือแค่บาทเดียว แต่ถ้ารัฐตอบแทนกลับมาได้ไม่เท่าหรือน้อยกว่า นั่นถือเป็นเรื่องที่เราไม่ควรยอมรับ
นึกภาพง่ายๆว่า เหมือนเรารวบรวมเงินของคนในหมู่บ้านไปซื้อสินค้าในปริมาณมากๆย่อมซื้อได้ในราคาต่อชิ้นถูกกว่าราคาขายปลีก ซึ่งมันก็เป็นสามัญสำนึกที่พวกเราเข้าใจกันอยู่แล้ว
ไม่มีทางที่จะซื้อของราคาส่งแพงกว่าราคาปลีก ผมก็เลยมองว่าภาษีก็เหมือนกัน ในเมื่อรัฐรวบรวมภาษีไปจัดการบริหาร
ก็ควรจะได้ผลตอบแทนกลับมาหาพวกเรามากกว่าที่พวกเราต้องไปจัดซื้อจัดหากันมาเอง ถูกมั้ยครับ
แต่กาลก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ อนิจจาไยพวกเราถึงได้อะไรน้อยกว่าที่พวกเราจ่ายออกไป