เคยได้ยินมั้ยครับว่าประวัติศาสตร์มันซ้ำรอยได้
ถามว่าทำไมรัฐศาสตร์ถึงต้องศึกษาประวัติศาสตร์
ผมอยากให้คุณมองเหตุการณ์ต่างๆ เหมือนสมการอยู่ชุดหนึ่ง โดยสมการนั้นก็มีตัวแปรเฉพาะของมัน
การที่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยได้ มันก็เกิดจากมีตัวแปรแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ผมยกตัวอย่าง ความคล้ายของเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมจีน กับ เหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา 2519
1.มีการยกยอตัวบุคคลให้เป็นสัญลักษณ์ชาตินิยม
- จีน ใช้ เหมาเจ๋อตุง
- ไทย ใช้ ร.9
2.มีการสร้างผู้ร้ายทางความคิดขึ้น ให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน
- จีน ใช้ พวกทุนนิยม
- ไทย ใช้ คอมมิวนิสต์
3.มีการใช้Propaganda Fake News และ IO(Information Operation)
- จีน

Propagand ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
- ไทย

4.มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ
- จีน ใช้หน่วยยุวชน Red Guard

- ไทย ใช้หน่วย ลูกเสือชาวบ้าน, นวพล และ กระทิงแดง

ผลก็คือเกิดการสังหารหมู่ที่เกิดจากแนวคิดแบบฟาสซิสต์ ไม่ว่าจีนกับไทยก็เหมือนกัน ต่างกันที่สเกลขนาดจำนวนผู้เสียชีวิต (จีนตายมากกว่าเพราะจำนวนประชากรมากกว่า)
ผมเองก็กำลังจะบอกว่าประวัติศาสตร์ก็กำลังจะซ้ำรอยเดิมเหมือนกัน และทั้งสองฝ่ายต่างก็กำลังสร้างเงื่อนไขให้ประวัติที่ต้องการซ้ำรอยในรูปแบบที่เกิดผลประโยชน์ต่อตนเอง
1.ฝ่ายรัฐ พยายามทำให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย 6 ตุลา 2519 แต่เงื่อนไขมันไม่ได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน เพราะ เมกาพี่ใหญ่ไม่หนุนและช่วยเช็ดขี้ให้เหมือนเดิม ถ้าทำแบบนั้นก็โดนพี่ใหญ่เท
2.ฝ่ายคณะราษฎร 63 พยายามทำให้เกิดเงื่อนไขของการปฏิวัติฝรั่งเศษ แต่ขาดเงื่อนไขที่ชนชั้นกลางทั้งหมดตระหนักและเข้าร่วมเอาด้วย และเมกาตัดสินใจเปิดเผยความจริงทั้งหมดในยุคสงครามเย็นเพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายเจ้า
ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายต่างก็ขาดเงื่อนไข ทำให้จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์ มันจะเป็น Wave ขึ้นๆลงๆ ผลัดกันรุกรับได้เปรียบเสียเปรียบ บางทีอาจจะเป็นอย่างนี้ไปสิบปียี่สิบปี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะสร้างเงื่อนไขครบ
เงื่อนไขไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามตอนนี้จึงอยู่ที่เมกา ว่าเมกาจะตัดสินใจอย่างไร
อย่าลืมนะครับ ว่าหน่วยงาน กอ.รมน. มีผู้ก่อตั้งคือ Wiliam J.Donovan เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงาน OSS ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น CIA หรือพูดง่ายๆ CIA คือ ศิษย์พี่ของ กอ.รมน.
เหมือนที่
@samuison @sariora123 กล่าวว่า ปัญหาการเมืองไทยขึ้นอยู่กับว่าเมกาจะตัดสินใจอย่างไร จะลงดาบไปที่ใครในยุค New Cold Wars ใหม่ระหว่าง เมกา-จีน