ผมเคยอ่านผลโพลต่างๆ(สถิติต่างๆ)ที่เป็นแบบสอบถาม ปรากฏว่าบางเรื่องผมเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งๆที่คิดว่าเรื่องนั้นๆสังคมส่วนมากน่าจะคิดแบบเดียวกับเรา มันทำให้ผมรู้สึกตัวว่า บางอย่างก็แค่เราอยู่ในสังคมกลุ่มน้อยแล้วเผลอคิดว่าคนทั้งโลกคิดเช่นเดียวกับเรา เราเผลอคิดไปว่ามันคือคอมมอนเซน ทั้งๆที่แท้จริง กรอบความคิดเราต่างหากล่ะที่แปลกแยกที่เป็น1%ของหมู่มาก
มันอยู่ที่การแลกเปลี่ยนแนวความคิดน่ะครับหากเราคิดว่าประเทศเราดีที่สุดอยู่แล้ว เราก็จะไม่คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างอื่นอีก
อย่างเกาหลีเหนือ หรืออะไรเทือกนั้นที่มีโฆษณาโจมตีว่าเกาหลีใต้ ผู้คนอดอยากมีคนจรจัดสารพัดในการโฆษณาชวนเชื่อของพวกนั้น
คนเรามีส่วนที่แปลกหรือจะเรียกว่าธรรมชาติก็ได้
หากเราพบว่าเราสามารถได้รับของที่ดีกว่านั้น เราจะอยากได้มากขึ้น
คนเราที่อดอยากตามท้องไร้ท้องนา จุดยากันยุง มีมุ้งก็มีความสุข ฟังเพลง กัญชา วิทยุทรานซิสเตอณืไปพลางๆ
แต่หากเขารู้ว่าเขาสามารถได้ดีกว่านั้น ได้ไปรู้มามากขึ้นว่าเขาสามารถมีชีวิตที่ดีกว่านั้นได้ เขาก็อยากจะได้มากกงว่านั้น
ยกตัวอย่าง ท่านอาจจะเติบโตมาอย่างลูกสาวดยุก คิดว่าข้ามต้ม ข้าวสวยมันก็เรื่องธรรมดา จะมีอะไรนักหนา?
แต่อดีต ย่าผม ระดับโมโหลั่นบ้านหากทำข้าวต้ม เพราะมันคือสัญลักษณ์ของความอดอยาก ไม่มีกิน ทานไปไม่อิ่มท้อง
"มีกินก็กินสิ จะทำข้าวต้มทำไม?"
มันบอกว่าคนเรามองต่างกันและคนสมัยก่อน ไม่ใช่ว่าเขาอยากอด เขาแค่ไม่มีทางเลือก
ยิื่งคนไปต่าปงระเทศ เห็นต่างประเทศทำบางอย่างได้ก็เริ่มคิดว่า
เทคโนโลยีไม่ใช่เวทมนตร์ ฝรั่งตาน้ำข้าวทำได้ เราก็ทำได้สิ ทำไมจะทำไม่ได้?
เมื่อเราเห็นว่าเราทำอยบ่างอื่นได้ เราก็ไม่คิดจะยึดถือหลักปรัชญาเศรษฐกิจจูเชย์ที่ท่านคิมอิลซุงให้พวกเราชาวเกาหลีเหนือยึดถืออีกต่อไป