ที่มา
https://www.facebook.com/thematterco/posts/2625776477637738?__tn__=K-R7) ย้อนกลับไปในวันที่ 16 มิถุนายน 2563 สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน รวมถึงภาคีเครือข่ายหลายองค์กร ได้เข้ามายื่นหนังสือเรียกร้องกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
.
8.) เนื้อหาของการเรียกร้องในครั้งนั้น คือการขอให้ผลักดันกฎหมายกำกับดูแลเกม และประกอบกิจการเกมเพื่อคุ้มครองเยาวชนอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งให้รัฐส่งเสริม สนับสนุนให้มีแผนปฏิบัติการแสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับอีสปอร์เยาวชน
.
“ผลักดันให้มีกฎหมายควบคุมเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ เพื่อกำหนดให้มีการจัดเรตติ้ง ควบคุมเวลา กำหนดอายุ และปกป้องคุ้มครองเด็กไม่ให้เข้าสู่การพนันออนไลน์ที่ปรากฎในเกมเกือบทุกเกมที่กำลังเล่นอยู่ในประเทศไทยเวลานี้” คือส่วนหนึ่งของคำแถลงจาก ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน หนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ 84 องค์กรทั่วประเทศ
.
ด้าน วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ก็รับปากว่า สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที คือการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับเครือข่ายนี้เพื่อประชุมและหารือในเรื่องนี้ร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ
.
9) วันที่ 25 มิถุนายน กลุ่มภาคีเครือข่าย 84 องค์กร ได้ยื่นเรื่องอีกครั้งที่รัฐสภา โดยครั้งนี้ได้ยื่นเรื่องกับ ประธานคณะ กมธ. การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมกับย้ำจุดยืนเดิมทั้งเรื่องการให้มีกฎหมายกำกับดูแลเกม และการประกอบกิจการเกมเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน
.
นอกจากนั้น ยังมีข้อเรียกร้องอีกหลายข้อ เช่น ผลักดันให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเกม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเกมและอีสปอร์ต ที่ต้องคำนึงถึงการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามกติกาสากลเป็นสำคัญ
.
10) ในวันที่ 25 มิถุนายนเช่นเดียวกัน นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนพร้อมทั้งภาคีเครือข่าย ได้เข้าพบกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เพื่อสองถามถึงแนวทางของกระทรวงศึกษาต่อเรื่องอีสปอร์ต
.
11) ในการเข้าพบครั้งนี้ นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ได้อธิบายกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการว่า ถึงแม้ อีสปอร์ตจะได้รับการประกาศให้เป็นกีฬาไปแล้ว แต่การจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ กลับไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรฐานหรือแนวทางที่เหมาะสม
.
โดยเว็บไซต์ ‘สมัชชาสุขภาพ’ ได้ระบุถึงความเห็นของ ธีรารัตน์ ที่ระบุว่า ตามกติกาสากลแล้ว การแข่งขันอีสปอร์ตต้องมีมาตรฐาน โดยผู้เล่นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ผ่านการรับรองด้านสุขภาพ และมีผู้ปกครองเห็นชอบ รวมถึงมีการจัดเรตติ้งเกมด้วย
.
เว็บไซต์สมัชชาสุขภาพ อ้างอิงถึงคำกล่าวจาก ธีรารัตน์ เอาไว้ว่า
.
“รูปธรรมที่สุดเรื่องหนึ่งในขณะนี้คือ การร่างกฎหมายเกม ที่ใกล้เสร็จแล้วเกือบ 100% โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นหนึ่งในคณะทำงานที่พัฒนาข้อเสนอมาด้วยกันตั้งแต่ต้น และยังร่วมอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนจนถึงปัจจุบัน นับเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการบังคับใช้มาตรการต่างๆ ในสถานศึกษา”
.
อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาต่อต้านการแข่งขันเกม แต่ต้องการสร้างสมดุล ที่จะช่วยให้เด็กในแต่ละวัยเล่นเกมได้อย่างเหมาะสม
.
ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 27 พ.ย. 2562 นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนก็เคยย้ำจุดยืนในงานเสวนา ‘เปิดวิถีออนไลน์ เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว’ เอาไว้ด้วยว่า
.
“เกมรุนแรงไม่ควรจะแข่งขันเป็นกีฬา เพราะเหมือนเราส่งเสริมความรุนแรง แล้วก็เราควบคุมไม่ได้ แล้วร้านเกมที่เปลี่ยนเป็นศูนย์กีฬา มีห้องนอน ห้องน้ำดูแลเต็มที่ มันคืออะไร เป็นที่ที่เด็กควรไปรึเปล่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำหน้าที่” 12) เราจึงน่าจะเห็นที่มาที่ไปของการที่ทั้งพี่แว่น และนายกสมาคมอีสปอร์ตต้องเดินทางไปสภาเพื่อหารือกับทางคณะกรรมาธิการสภาได้พอสมควร ผ่านความเคลื่อนไหวของภาคีเครือข่ายกว่า 80 องค์กรในระลอกนี้ โดยเป็นการยื่นขอเสนอผ่านทั้งคณะกรรมาธิการในสภา 2 ชุด รวมถึงนำเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
สรุป โต้โผหลักคือ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ที่เป็นแบบนี้ เพราะคิดแค่จะควบคุมเด็ก ไม่ได้คิดว่าวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ก็เล่นเกมส์เหมือนกัน