Drama-addict ย้ำอีกรอบ เห็นคนยังด่า 85 องค์กรนี้ว่ามาเกี่ยวอะไรกับการจำกัดเวลาสตรีมเมอร์วะ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคงี้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อHIVงี้
ก็ไม่เกี่ยวน่ะสิครับ เพราะ 85 องค์กรนี้ เขาเป็นองค์กรด้านสุขภาพ หรือทำงานเกี่ยวกับเยาวชน ที่มาถกกับสมัชชาสุขภาพ เรื่องปัญหาเด็กติดเกม ดังนั้นจึงมีแต่หน่วยงาน องค์กรด้านสุขภาพ หรือกลุ่มที่ทำงานด้านสังคม ล้วนๆมาถกกัน ส่วนเนื้อหาที่ถก ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องจำกัดเวลาสตรีมเมอร์เล้ย เขาถกกันเรื่อง เนื้อหาไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชนในเน็ท เช่นพวกการพนัน ลามกอนาจาร ยาเสพติด บลาๆ ที่แอบแฝงมากับพวกสื่อและเกมออนไลน์ แล้วเขาก็ถกกันเรื่องกฏหมายที่จะมาดูแลปัญหาพวกนี้
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับที่มีข่าวลือเรื่องจำกัดเวลาสตรีมเมอร์สองชั่วโมงนั่น แต่มีคนเอาเอกสารของเขามาโยงแบบโมเมมากว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าเรื่องสตรีมเมอร์นั่น
ดูจากเฟซคุณสันติ โหลทอง นายกกีฬาอีสปอร์ตไทย เขากำลังเตรียมข้อมูลไปคุยกับคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ในประเด็นนี้ ดังนั้นฝากถึงพ่อแม่พี่น้องชาวเกมเมอร์ที่กำลังฉุนเพราะประเด็นนี้ มึงใจเย็นๆ เว้ย ไม่ใช่จับโยงกันไปมั่วซั่วทั้งๆที่ไม่ได้อ่านเอกสารเลยว่าเขาคุยเรื่องอะไรกัน เด๋วภาพลักษณ์คนเล่นเกมแม่งจะยิ่งแย่กันเข้าไปใหญ่ไอ้ฉิบหาย
ไปดูเอกสารกันได้ที่ลิงค์นี้
https://www.facebook.com/DramaAdd/posts/10158863738013291ส่วนข้อเสนอของ 85 องค์กรนี้ มีตามนี้ครับ
๑. สนับสนุนและร่วมผลักดันให้มีกฎหมายการกำกับดูแลเกม และการประกอบกิจการเกม เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน
๒. ผลักดันให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเกม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเกมและอีสปอร์ต ที่ต้องคำนึงถึงการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามกติกาสากลเป็นสำคัญ
๓. ผลักดันให้ทุกภาคส่วน ร่วมส่งเสริม สนับสนุนให้มีแผนปฏิบัติการการแสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อเด็กและเยาวชน
๔. ผลักดันให้รัฐบาลกำหนดให้การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ และตั้งคณะกรรมการระดับชาติที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วน เป็นองค์กรขับเคลื่อน
๕. สนับสนุนและผลักดันให้กลไกในทุกระดับมีการสร้างความตระหนักสาธารณะ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดเวทีสาธารณะ และจัดกิจกรรมส่งสริมศักยภาพแก่เด็กและบุคคลแวดล้อมรอบตัวเด็กเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อ และภัยออนไลน์อย่างทั่วถึง ทุกภูมิภาค
๖. ผลักดันให้ภาครัฐ จัดพื้นที่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างหลากหลาย จริงจัง และเป็นรูปธรรม ด้วยการสนับสนุนงบประมาณโดยตรงจากภาครัฐ
๗. สนับสนุนและผลักดันให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐ จัดสรรพื้นที่สร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนจะได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมทำ ในกิจกรรมหรือโครงการที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความสนใจ
๘. ผลักดัน และส่งเสริมให้สื่อทุกแขนง และองค์กรวิชาชีพสื่อ มีการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อ
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=69865&filename=index