#วันสตรีสากล #ความเท่าเทียมทางเพศ
ในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็น “วันสตรีสากล”
โดยแก่นแท้ของวันดังกล่าวนั้นมีขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการกดขี่เพศหญิงที่เคยเกิดขึ้นในอดีต รวมไปถึงการผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความเท่าเทียมทางเพศ”
ย้อนกลับไปในวันที่ 8 มีนาคม 1857 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พวกเธอพากันประท้วงนายจ้างเกี่ยวกับค่าแรงและเวลางานที่ไม่เท่าเทียมกับของผู้ชาย
แต่แล้วเหตุการณ์ดังกล่าวก็กลับทำให้ผู้หญิงกว่า 119 คนต้องเสียชีวิต หลังจากที่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของพวกเธอ แล้วลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่
ผู้หญิงยังคงถูกกดขี่อย่างหนักจนกระทั่งในปี 1907 Clara Zetkin นักกิจกรรมและผู้สนับสนุนสิทธิสตรีชาวเยอรมัน เธอได้ยืนหยัดขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมให้กับผู้หญิงทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน (จากที่เคยโดนกดขี่จนผู้หญิงต้องทำงาน 16-17 ชั่วโมงต่อวัน) รายได้และสวัสดิการที่เท่าเทียม รวมถึงเรียกร้องให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง
การลุกขึ้นมายืนหยัดของ Clara ส่งผลให้ผู้หญิงทั่วโลกกล้าที่จะออกมาสนับสนุนเธอ จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม 1910 ข้อเรียกร้องทุกอย่างก็เป็นไปตามที่พวกเธอต้องการในที่สุด
นอกเหนือจากการประสบความสำเร็จทางด้านสิทธิสตรีแล้ว เธอยังเสนอให้ทุกวันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและความเท่าเทียมที่ควรเกิดขึ้นในอนาคต
แม้ว่าในปัจจุบัน เราอาจยังพูดว่ามันคือ “ยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม” ได้ไม่เต็มปากนัก แต่แรงผลักดันนับตั้งแต่อดีตก็ส่งผลให้ผู้หญิงได้ขึ้นมาแสดงศักยภาพและมีบทบาทในหลายๆ ภาคส่วนมากยิ่งขึ้น
เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู
ที่มา:
-
https://www.unwomen.org/en/news/in-focus/international-womens-day-
https://www.internationalwomensday.com/ https://web.facebook.com/photo/?fbid=2976775229031913&set=a.738940689482056