[quote/]ก็ถ้ามนุษย์มันรู้จักเรียนรู้จากประวัติสาสตร์จริงๆนะ เห็นกี่รุ่นกียุคกี่สมัยก้ยังคงทำผิดแบบเดิมด้วยเหตุผลด้วยสาเหตุเดิมๆตลอด
เหตุผลเพราะคนใหญ่โตประเทศไทยที่ทำผิดพลาดมักปกปิดความผิดตัวเอง คิดว่าเป็นความอับอาย
แต่ถ้าเป็นสังคมฝรั่งจะถูกนำมาบันทึกไว้ในบทเรียน
อย่างเช่น คนที่เรียนวิศวกรรม เขาจะยกเคสหนึ่งที่ดังมากเกี่ยวกับปัญหาด้าน Material สมัยก่อนที่ถลุงโลหะไม่ดี คือ เรือ Titanic
เรือ Titanic คือ เรือที่เป็นต้นแบบของเรือสมัยใหม่ทุกลำ และถูกเรียกว่า Unsinkable Ship(เรือที่ไม่มีวันจม) เนื่องด้วยในตัวเรือแบ่งเป็นห้องๆ บล็อกๆแยกกัน
่ต่อให้น้ำทะเลรั่วเข้ามา ก็จะรั่วแค่บล็อก หรือห้องเดียว ไม่ได้ท่วมทั้งลำ อนิจจาผู้ออกแบบเรือ Titanic พลาดไปเรื่องหนึ่ง
นั่นคือเรื่องคุณภาพของการถลุงเหล็ก และวัสดุศาสตร์ในสมัยนั้น
เหล็กในยุคเรือ Titanic เป็นเหล็กที่ถลุงได้คุณภาพแย่มีสารเจือปนและคาร์บอนอยู่เยอะเกินไป
ซึ่งคุณสมบัติเหล็กเวลามีคาร์บอนมากๆ มันจะทำให้เหล็กที่เคยเหนียวและยืดได้ เป็น แข็งแต่เปราะแทน
ทีนี้มาเจอน้ำทะเลในมหาสมุทรที่ติดลบมากๆ โมเลกุลเหล็กก็ยิ่งเรียงตัวชิดกันมากขึ้นทำให้ยิ่งเปราะกว่าเดิม
วัสดุที่แข็งแต่เปราะ(คล้ายเซรามิค) เวลารับแรงกดจะรับได้มาก แต่เวลาโดนแรงกระแทกแบบทันทีทันใด มันจะแตกหัก
เรือ Titanic ก็เช่นกัน ผู้ออกแบบ คิดว่าเหล็กจะที่ทำขึ้นมานั้นจะมีความเหนียวทนต่อแรงกระแทก แต่ความผิดพลาดนั้นทำให้
เรือมีความเปราะ พอมันชน ความดันน้ำก็กระแทกทำให้ห้องภายในที่เคยคิดว่าจะกันน้ำได้เป็นบล็อกๆแยกกัน แตกตามกันเป็นโดมิโน
ภายหลังได้มีการสำรวจต้นตอเรือ Titanic แล้ววิศวกรรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญของวัสดุศาสตร์มากขึ้นและเป็นบทเรียนให้กับวิศวกรรุ่นหลังๆให้ใส่ใจเรื่องนี้ทุกครั้งที่ออกแบบ