อืม...
ในโพล ลูกน้องแบบที่ (2) ชนะ
แต่ใน comment เหมือนจะเอียงๆไปทาง (1) แฮะ
ว่าแต่ไม่มีใครเลือกแบบที่ (3) หน่อยเรอะ (← ผมก็ไม่เลือก)
จริงๆในบางสถานการณ์ แบบที่ (3) ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ (มั้ง?)
เช่น มเหสีตาย ราชารักมเหสีมาก เลยอารมณ์ down สุดๆ กะจะฆ่าตัวตายตามมเหสี สั่งห้ามทุกคนมาขวาง ทั้งๆที่ยังไม่ได้สั่งเสียหรือตั้งรัชทายาทอะไรเลย
ไอ้คนที่กล้าเข้าไปขวางก็คือลูกน้องแบบที่ (3) นี่ล่ะ
มันอยู่ที่สถานะและสถานการณ์ตัวเรามั้งท่าน คล้ายๆคันฉ่องของถังไท่จงไง ^^
ถ้าเป็นแบบคำอธิบายข้อ3.ใน#0 มันก็ควรมีคนประเภทนี้ไว้ข้างตัวบ้าง เพราะบางครั้ง
คนในแบบข้อสามนั้น เราสามารถใช้ประโยชน์โดยการเล่นสองหน้า ตีสองหน้า ให้พวกเขา
เป็นคนค้านเรา เราจะได้มีทางลงที่เหมาะสมกับบางสถานการณ์ สามารถใช้พวกเขาเป็น
ข้ออ้างได้ ให้บทบาทพวกเขาเป็นอย่างนั้น แบบนี้จะได้อธิบายให้เหล่าขุนนางหรือประชาชน
ได้ว่า เราทำแล้วแต่โดนค้าน และเป็นการแบ่งเบาภาระความกดดันต่างๆที่จะมาที่เรา ^^
การบริหารรัฐศาสตร์แตกต่างจากเอกชน ต้องมีการแบ่งบทที่จะเล่น มันคล้ายละคร เราก็แค่
กำกับให้มันอยู่ในร่องในรอย และบางที คนในข้อสามก็ช่วยเราได้เยอะ อยู่ที่เราบริหารบุคลากร
ได้ดีมั๊ย ก็เหมือนข้อหนึ่งข้อสอง ที่ก็มีดี ถ้าเราวางพวกเขาให้อยู่จุด ถูกหน้าที่ คนที่หัวไปทาง
สายกลางก็มีประโยชน์ คนที่หัวแข็งยอมหักไม่ยอมงอก็มีประโยชน์ ให้พวกเขามีจุดยืนที่เหมาะสม