คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ผลงาน แต่คุณค่าของคนอยู่ที่เป็นคนของใครครับ
เราต้องมาวิเคราะห์ว่าทำไมคนแต่ละคนชอบโหนต่อกันเป็นทอด และระดับการโหนมันมีตั้งแต่เรื่องเล็กไปยังเรื่องใหญ่
เอาจากประสบการณ์ของผมสมัยเป็นวิศวกรดูงานเล็กๆ ก่อสร้างโรงแรมของชาวต่างชาติ
ทราบมั้ยครับว่าผมเคยโดนโดนข่มขู่ไถเงินจากเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเจ้าหน้าที่เทศกิจซึ่งไม่ได้เกี่ยวเห้ อะไรกับงานก่อสร้างเลย กรมโยธาหรือกทม.ก็ไม่ใช่(บริษัทผมยื่นไปเรียบร้อยแล้ว)
ที่ทำงานผมเป็นตู้คอนเทนเนอร์เล็กๆ สำหรับวางเอกสารและแบบแปลนสำหรับก่อสร้าง มีเก้าอี้อยู่แค่ 3 ตัว ก็คือผม กับ ผรม.ย่อยอีก 2 คน
แม่งเดินดุ่มๆเข้ามานั่งแย่งเก้าอี้ผมโต๊ะทำงานของผมเลย(เอาซะผมไม่มีที่นั่งจนต้องยืนทำงาน) แม่งเดินเข้า Site งานแบบอุปกรณ์ Safety ก็ไม่ใส่
และแม่งก็เริ่มปฏิบัติการการโหน โดยโหนชื่อนายพันอะไรก็ไม่รู้ที่ผมไม่รู้จัก แล้วพูดประมาณว่าเนี่ยแถวนี้เขารู้จักพี่เทศกิจกับนายพันคนนี้หมดเลย (แถวหรูย่านไฮโซๆหน่อย)
แน่นอนผมรู้ว่ามันมาไถตังผรม.ก่อสร้าง คือ คนส่วนใหญ่คิดว่าผรม.ก่อสร้างรวย กำไรเยอะ
ขอโทษครับ ปัจจุบันกว่าจะประมูลแข่งได้งานมาทำ เลือดตาแทบกระเด็น Profit Margin เผลอๆ เหลือแค่ 4-6% ขายข้าวแกงแม่งยังได้กำไรเยอะที่ % เยอะกว่า(ประมาณ 25-50%)
และแม่งก็แวะเวียนมาวันเว้นวัน 3 วันมาที ผมไปคุยกับสำนักงานว่าให้ไปเคลียร์แทนผม เพราะผมเป็นวิศวกร บริษัทแม่งก็ไม่สนใจปล่อยให้ผมเคลียร์เองคนเดียว
จนเรื่องมันหนักขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่ามันไม่แฟร์ว่าทำไมผมต้องทนอยู่กับอะไรแบบนี้ ผมลาออกเลย และตอนนั้นรู้สึกสิ้นหวังสุด ตอนแรกคิดจะเลิกทำงานด้านวิศวฯและหันไปทำงานด้านอื่น
(จริงๆเคยไปตั้งทีม E-Sport, ทำนู่นทำนี่อยู่หลายอย่าง สิ้งหวังในระดับที่ผมไม่กล้าทำงานวิศวกรรมเป็นปี)
เรื่องนั้นเป็นแผลใจหนึ่งเรื่องที่ผมคิดว่าผมทำงานสุจริตไม่ยุ่งกับการเมืองก็จะไม่มีปัญหา เปล่าเลยครับ ถ้ามันอยากจะดึงให้เราเข้ามายุ่งเมื่อไหร่ก็ได้ที่มันอยากทำ ต่อให้เราไม่อยาก
เพราะในสายตาของพวกนั้นเห็นแค่พวกเราเป็นตู้ ATM ที่อยากแวะมากดเงินเมื่อไหร่ก็มา
หลังจากนั้นผมตัดสินใจเลยว่า ไหนๆชีวิตผมก็หนีการเมืองไม่ได้แล้ว เพราะเดี๋ยวมันก็เข้ามาหา งั้นผมศึกษาประวัติศาสตร์และการเมืองเพื่อโดดลงไปในวังวนการเมืองเองซะเลยเสียดีกว่า
แล้วผมก็มีนิสัยอย่างหนึ่ง เวลาผมสงสัยเรื่องอะไร ผมจะต้องหาคำตอบให้ได้ด้วยทุกวิธีที่ผมมี ไม่งั้นผมไม่สบายใจ
บ้านผมอาจจะเลี้ยงผมมาให้ไม่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ และให้เชื่อเรื่องเหตุแลผล ผลจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุเกิดก่อน
สมการซ้ายกับขวาต้องเท่ากันเสมอ แต่สิ่งที่เราอธิบายในตอนนี้ไม่ได้ มักเกิดจากการที่เราไม่รู้ค่าของตัวแปร หรือเรายังไม่รู้จักตัวแปรนั้น
พูดง่ายๆคือผมเป็นเอทิสท์ หรือ อศาสนา อย่างที่คนเรียกกันนั่นแหละ No God But Only Human.
ผมไม่โทษชะตากรรมของตัวเอง หรือโทษว่าเป็นฝีมือของพระเจ้าหรือเทพอะไรก็ตาม เพราะมันไม่เคยมีจริง มนุษย์นี่แหละเป็นคนสร้างพระเจ้าขึ้นมาเอง
หลังจากเหตุการณ์บัดซบนั้น+กับเรื่องที่ปู่ย่าผมต้องตรอมใจตายเพราะญาติผมถูกใส่ร้ายในอดีต
ผมก็เลยอาศัยเวลาหลายปีเริ่มค้นคว้าอย่างจริงจัง(จริงๆเริ่มค้นคว้าตั้งแต่สมัยเรียนจบใหม่ๆแล้ว) เพื่อจะได้หาคำตอบว่าทำไมผมต้องโดนกระทำอะไรแบบนี้
ก็เลยได้รู้ว่าทุกระดับชั้นต่างก็โหนขึ้นไปกันเป็นทอดๆ แต่ละระดับอาจจะโหนด้วยวิธีที่แตกต่างกันอย่างเช่นกันอ้างชื่อ , หนี้บุญคุณ
, การแสดงออกว่าตนเองรักและศรัทธา และมันยังมีการโหนข้ามประเทศก็มี(ยุคสงครามเย็น)
สุดท้ายผมก็เลยเห็นหัวใจของปัญหาซึ่งมันก็คือลัทธิบูชาตัวบุคคลดีๆนี่แหละ ที่ทำให้มนุษย์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
อย่าง Red Guard ก็โหนประธานเหมา, โซเวียต(ยุคสงครามโลก)ก็โหนสตาลิน
อย่างสฤษฎ์กับเผ่าเองต่างก็แข่งกันโหนเมกา ใครโหนเก่งกว่าก็ได้รับเงินสนับสนุนมากกว่า
วัฒนธรรมการโหนและบูชาตัวบุคคลสำหรับผมแล้วมันทุเรศและมันน่าสมเพชมาก
แทนที่เกิดมาเป็นมนุษย์จะเชื่อมั่นในตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิใจด้วยทุกการตัดสินใจของเราไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ต้องเชิดหน้าและเดินต่อไป
แต่กลับพยายามหาทางลัดด้วยการโหน+บูชาตัวบุคคล
บางทีชีวิตผมก็คงเหมือนคำคมที่โกวเล้งเคยกล่าว
"หากหัวใจของผู้ใดตายแล้ว มีเพียงสองวิธีเท่านั้น ที่จะบันดาลให้มันฟื้นคืนกลับมาได้ หนึ่งคือความรัก สองคือความโกรธแค้น"
ซึ่งผมก็คงเป็นอย่างที่สองอย่างไม่ต้องสงสัย ตอนผมค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ
ผมมักจะใช้พลังความโกรธแค้นนี่แหละเป็นตัวฉุดให้ผมสงสัยไปเรื่อยๆ ตั้งคำถามไปเรื่อย เพื่อที่จะค้นคว้าและหาคำตอบ
ขอขอบคุณสำหรับการสละเวลามีค่าเพื่อเล่าประสบการณ์ให้ฟัง ท่านไม่ได้สู้ปัญหากดขี่เพียงคนเดียวหรอกครับ มีคำอธิบายเหมาะสำหรับการสนทนา — วิจารณ์ประวัติศาสตร์หลายข้อ ดังเช่น
1. นิเทศศาสตร์; แม้ไม่ใช่ผู้สื่อข่าว การศึกษาแหล่งที่มาของข้อมูล ความน่าเชื่อถือ — มิติของสารที่จะได้รับ นั้นมีความสำคัญเพราะผู้ส่งจะต้องรู้ว่าส่งไปถึงใครบ้าง
Personal Analysis; ข้อเท็จจริงแล้วนั้นคนรับสาร — เรียนออกหาความรู้นั้นต้องการ ‘วัตถุดิบ’ เพื่อใช้พื้นฐานก่อนจะนำไปสู่ข่าวที่น่าเชื่อถือขึ้นไปอีก ดังนั้นการโต้ตอบไปมากับผู้อื่นเพื่อ ‘ข้อตกลง’ แลกเปลี่ยนที่มาจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่รับสารโดยที่แทบไม่มีมูล
2. สื่อ (Media); สิ่งนี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ผู้ส่งสารจะส่งให้แก่ผู้รับซึ่งบางกลุ่มจะเป็นได้ทั้ง ผู้ส่งสาร <— ผู้แลกเปลี่ยน —> ผู้ส่งสาร โจทย์ข้อสำคัญก็คือคนเล่าข่าวใช้อะไรเป็นตัวส่งสารให้ถอดรหัสและวิเคราะห์ ซึ่งมันจะมีตั้งแต่; กระดาษตัวอักษร, หนังสือ, Computer + Internet & Smartphone รวมไปถึงวัจนภาษา (Verbal Language)
3. การรับรู้ (Perception); เป็นปัญหาข้อสุดท้ายที่เหล่าคนที่สื่อสารต้องเจอแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น 5 ประสาทสัมผัส และประสบการณ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่นักแต่งวรรณกรรม ผู้ดูแลภาพยนต์โดยตรง (Director) ยึดติดกับความพยายามที่นะพรรณาประสบการณ์ของเขาให้มันโดดเด่น ประสบการณ์สะเทือนใจในชีวิตจริง
Fact; แล้วท่านรู้หรือไม่ว่าเพราะหลักงานอาชีพที่ต้องเน้นหาแต่กำไรจนโลภมากนี่แหละ ที่ทำผู้อ่าน — ผู้ชมมองออกว่าคนเหล่านี้เห็นแก่ตัว มีอคติและอัตตารุนแรง ทุกคนเลยพร้อมใจ Boycott แบบขวานผ่าซาก — ทำลายผลงาน ‘ห่วยบรรลัย’ ทำให้คนถือหุ้นและบริษัทล้วนแต่ล้มละลายไปแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
กล่าวแล้วนี่ก็คือการสร้าง ‘การรับรู้สัง ‘Social Cognition’ เพื่อปกป้องกันเองจากสื่อแย่ๆที่กล้ารุกรวามเป็นส่วนตัวนี่เอง ยังมีข้อมูลที่ใช้ได้อีกมาก โปรดตรวจสอบและอย่ายอมแพ้แค่นี้
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Knowledgehttps://en.m.wikipedia.org/wiki/Perception#Types_of_perceptionhttps://en.m.wikipedia.org/wiki/Informationโปรดอย่าลืม; ว่าการกระหายในความรู้ที่สามารถกำหนด Timelineรอบด้านได้ — เข้าถึงแนวคิดมนุษย์สติเฟื่องจะเป็นจำเป็นต่อการสนทนาแบบ Real time เป็นอย่างยิ่งเมื่อท่านพร้อมครับ