การหาผลประโยชน์ ไม่ควรเอามาเน้นในการเบลมหรือตำหนิกัน เพราะความจริงนั้นเป็นเรื่องที่โคตรปกติมาก ใครๆก็ทำ คนที่หาผลประโยชน์ไม่ใช่มีแต่ชนชั้นสูงหรือนักการเมือง แต่รวมไปถึงชนชั้นกลาง หรือพวกหาเช้ากินค่ำด้วย
แต่ละคนที่ทำงานทำการ ต่างก็ต้องการผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น นั่นก็คือเงินเดือน หรือค่าแรงให้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองและครับครัวในแต่ละวัน การที่บอกว่าทำอะไรไม่หวังผลประโยชน์ในทางการเมืองก็เหมือนพนักงานที่ไม่เอาเงินเดือน ซึ่งแทบจะหาไม่ได้เลย การทำงานแบบไม่เอาเงิน ก็เปรียบกับการทำจิตอาสา คือต้องว่างจัด มีเวลา มีความมั่นคงทางการเงินในระดับไม่ต้องกังวลมากเท่านั้นถึงทำได้
แต่ที่ควรพิจารณาจริงๆคือการทำงาน ว่าเขาทำคุ้มกับที่จ้างมั้ย พนักงานที่มาทำงานก็มีหลายประเภท เช่น...
1.ทำงานดี มีความเป็นมืออาชีพ เอาใจลูกค้า Mind Service Full
2.ทำงานไปวันๆ ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฎ เป็นตัวประกอบฉาก
3.ทำงานเหมือนโดนบังคับ ชอบชักสีหน้า ขี้รำคาญ มีเรื่องตบตีกับลูกค้าบ่อยๆ
*โดย 2-3 ถ้าเป็นบุคคลสำคัญมารับบริการจะกลายเป็นประเภท1 ชั่วคราว*
ซึ่งตามวิสัยคนทั่วไปคงนิยม1 เพราะบริการดี ได้ความประทับใจ แต่ถ้าเป็นฝ่ายบริหารอาจจะเลือก2 เพราะหาง่าย (ถ้าขุดกันให้ดี ตอนทำงานใหม่ๆคนพวกนี้จะเป็นประเภท1 แต่โดนวัฒนธรรมรุ่นพี่กลืนหมด) และไม่ต้องจ้างในราคาแพงแบบ1 ส่วน3 คือลำดับท้ายๆ เป็นไปได้ก็ไม่อยากเอาเข้ามาให้เสียชื่อบริษัทต้องตามเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวไปวันๆ
แต่จุดหมายปลายทางเดียวกันของทั้ง 3 ประเภทนี้คือเงินเดือน และค่าแรงสำหรับการเป็นค่าใช้จ่ายซื้อความสุขในชีวิต แต่ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าควรเลือกอันไหน
ผลประโยชน์มันมีหลายแบบ
ผลประโยชน์แบบ Win-Win ทุกคนต่างก็ได้ผลประโยชน์ และไม่มีใครเสียประโยชน์ไม่ว่าเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เป็นแบบดี
ผลประโยชน์แบบกึ่ง Win-Win ระหว่าง Party 1 กับ Party 2 ซึ่งเป็นเจ้าของผลประโยชน์โดยตรง แต่ Party 3 ซึ่งเป็นเจ้าของประโยชน์ทางอ้อมนั้นเสียประโยชน์
ผลประโยชน์แบบ Zero Sum Game ระหว่าง Party 1 กับ Party 2 ซึ่งเป็นเจ้าของผลประโยชน์โดยตรง จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ส่วน Party ที่ 3 อาจจะได้ทั้งบวกและลบ
ส่วนผลประโยชน์จะเป็นแบบไหน ต้องดูความสัมพันธ์ระหว่าง Party 1 กับ Party 2
ถ้าเป็น Rival Business หรือ ธุรกิจคู่แข่ง มันมักจะเป็นแบบ Zero Sum Game เพราะมันต้องแย่งส่วนแบ่งการตลาด กล่าวคือผู้บริโภคคือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สินค้าของบริษัทไหนทำถูกใจผู้บริโภคมากกว่าก็ได้ส่วนแบ่งการตลาดไปมากกว่า เช่น กรณีศึกษา Nike-Addidas กรณีศึกษาเบียร์ช้าง-เบียร์สิงห์
ส่วนกรณีความสัมพันธ์เป็นผู้ว่าจ้าง(เจ้าของสัญญา) กับ ผู้รับจ้าง(ผู้ทำสัญญา) มักจะเป็นแบบ Win-Win Situation เป็นส่วนใหญ่
กรณีนายจ้างกับลูกจ้าง
นายจ้างได้รับผลงานจากลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างได้ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน+สวัสดิการ
กรณีเจ้าของงาน กับ ผู้รับเหมา
นายจ้างได้อาคารตามจุดประสงค์ที่ต้องการใช้งาน ส่วนผู้รับเหมาได้เงินค่างานเป็นค่าตอบแทน
แต่ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายามเอาเปรียบอีกฝ่าย จาก Win-Win ก็อาจจะกลายเป็น Zero Sum Game ได้