อันที่จริงประชาธิปไตย ≠ ทุนนิยม
สองแนวคิดนี้อันหนึ่งอยู่ซ้าย-ล่าง อันหนึ่งอยู่ขวา-ล่าง
จุดเหมือนกัน คือ การกระจายอำนาจ
จุดแตกต่างกัน คือ การมีชนชั้นอภิสิทธิชน แต่เงื่อนไขของชนชั้นอภิสิทธิจะแตกต่างจากระบอบศักดินา อภิสิทธิที่ว่าก็คือ ใครรวยมากกว่า มีสิทธิพิเศษมากกว่า แตกต่างจาก ศักดินาตรงที่ ใครมีสายเลือดบริสุทธิ์กว่า คนนั้นมีอภิสิทธิมากกว่า
ประชาธิปไตย จะเน้นนโยบายเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี(Free Trade) แต่มีระเบียบไม่ให้มีการทุ่มตลาด(Pump and Dump) นายทุนไม่มีอำนาจแทรกแซงการออกนโยบายของรัฐ ไม่ใช้ระบบสัมปทาน
ส่วนทุนนิยม นายทุนมีอำนาจแทรกแซงการออกนโยบายของรัฐ เหมือนจะเป็นการค้าเสรี แต่ก็ไม่ใช่ เน้นไปที่การทำธุรกิจแบบสัมปทาน(Concession) ทุกคนมีสิทธิประมูลงานรัฐก็จริง แต่คนที่จะประมูลงานรัฐได้ก็จำเป็นต้องมีเงินทุนหนา รวมถึงต้องมีเส้นสาย
ถ้าเพื่อนๆหลายคนนึกภาพทุนนิยมไม่ออก ให้นึกถึงเกมส์ Mafia I,II และ III หรือ Cyberpunk ก็ได้ อันนั้นคือระบบทุนนิยม ที่เน้นการผูกชาดสัมปทาน
ส่วนบ้านไทยเรา เป็นระบบลูกผสมของ 2 อย่าง คือ ตลาดเสรี(ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์,อัญมณี,การเดินรถทัวร์) ทุนนิยมสัมปทาน(งานก่อสร้างสัมปทานรัฐแบบ BTO,การเดินรถไฟฟ้า,ทางด่วน,เหล้าเบียร์,ยาสูบ,เหมืองแร่,ป่าไม้,Airport Duty Free)
ประเทศที่เป็นการค้าเสรีเต็มตัว ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เยอรมนี ซึ่งส่วนใหญ่มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐแบบสหพันธรัฐ
เมกาก็คล้ายๆไทยคือเป็นการผสม 2 รูปแบบทั้งตลาดเสรี และ สัมปทาน เพียงแต่ในยุคหลังเศรษฐกิจแบบสัมปทานนั้นน้อยลง เป็นไปในแนวทางตลาดเสรีมากขึ้น
ส่วนเมกายุคทุนนิยมจ๋า มันอยู่ยุค 3 เศรษฐี 3 ตระกูล ได้แก่ Morgan, Carnegie และ Rockefeller
ต่างคนต่างมีขุนอำนาจในธุรกิจด้านสัมปทานที่แตกต่างกัน
มอร์แกน มีสัมปทานพลังงาานไฟฟ้ากระแสสลับ
คาเนกี มีสัมปทานเหล็กกล้า(ทั้งเหมืองเหล็กและโรงถลุงเหล็กต้นน้ำ)
ร็อคกีเฟลเลอร์ มีสัมปทานน้ำมัน