ผมลองตีความพวกประเภทรถนั่ง-รถนอนที่ รฟท.เอามาให้บริการเล่นๆครับ พบว่ามันคืออะไรที่จำลองความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยตอนนี้ได้สุดตีนมาก ผมจะขอวิเคราะห์เป็นฉากๆละกัน
ก่อนตีความ ผมจะเปรียบเทียบค่าโดยสารรถแต่ละประเภทก่อน วัดจากกรุงเทพ-ปากช่องที่เป็นบ้านเกิดข้าพเจ้า ระยะทาง 180 กม.
บชส(ชั้นสามพัดลม) รถด่วน 186 บาท -- หลายคันเป็นเก้าอี้พลาสติก
รถเร็ว 86 -- เบาะทุกคัน
รถธรรมดา 36 บาท -- บางคันเป็นเก้าอี้ไม้ แต่เปลี่ยนคัน เปลี่ยนที่ตามใจได้เพราะไม่ฟิคที่นั่ง
บชท(ชั้นสองพัดลม เบาะเอนได้)รถด่วน 232 บาท กลับเบาะหันทางรถวิ่งได้
รถเร็ว 132 บาท กลับเบาะฯได้
บชส มีเยอะที่สุด มีพ่วงรถทุกประเภท ทั้งรถธรรมดา รถเร็ว ด่วน ด่วนพิเศษ(เฉพาะสายสุไหงโกลก) ตามหลักแล้วควรมีแค่ในรถธรรมดา รถเร็ว แต่นี่ลามไปรถด่วน ด่วนพิเศษด้วย ซึ่งสองประเภทหลังอย่างน้อยๆควรเป็นรถชั้นสามติดแอร์ แต่ก็มีรถร้อนพ่วง ซ้ำร้ายรถด่วนบางขบวนมีรถแอร์คันเดียว-เน้นรถร้อน แถมรถร้อนก็ใช้เก้าอี้พลาสติกด้วย ในขณะที่รถเร็ว-รถธรรมดาก็รถเบาะนุ่ม(กรณีรถธรรมดายังมีเก้าอี้ไม้ปนๆมาบ้าง แต่อย่างน้อยก็ไม่ฟิคที่นั่งเลยเลือกว่าจะนั่งไม้หรือเบาะได้ แต่รถด่วนถ้ากำหนดว่าต้องนั่งเก้าอี้แข็งก็ต้องตรงนั้นห้ามเปลี่ยนที่)
เปรียบกับการเอาใจคนจนมากเกินพอดี เหมือนใส่ใจคนจนแต่ดันใส่ใจไม่สุด เทสวัสดิการต่างๆให้แบบไม่ดูตาม้าตาเรือว่าคนนั้นๆสมควรได้มั้ย เปรียบถึงกรณีให้บัตรสวัสดิการแก่คนที่ไม่สมควรได้ด้วย
ในขณะที่รถปรับอากาศนั้นค่อนข้างแพงมาก เช่น...
บชท.ป.(ชั้นสองแอร์ เอนได้)รถด่วนพิเศษ 392 บาท
รถด่วน 292 บาท --- เบาะนั่งไม่สามารถหมุนได้ ต้องเสี่ยงดวงว่าจะได้นั่งหันหน้าหรือหันหลังให้ทิศรถวิ่ง
นอกนั้นเป็นรถนอนที่ค่าโดยสารเกินเอื้อม
แสดงถึงการที่ต้องบีบให้รวยมากๆถึงมีความสุขเช่นกัน รถปรับอากาศเองก็มีไม่กี่ขบวนด้วย ชนชั้นกลางค่อนข้างลำบากเพราะถึงจะไปที่สบายได้ก็ติดๆขัดๆ ได้อย่างเสียอย่าง(ซึ่งส่วนเสียอาจยิ่งกว่าชนชั้นล่าง) และได้รับการบริการดีที่ไม่สุด ต้องแย่งที่สบายๆ ในขณะที่ชนชั้นล่างและชนชั้นบนยังไม่เหนื่อยเท่า
อนึ่ง ในอดีตเคยมี บชส.ป(ชั้นสามแอร์) และ บชท.ป.(ชั้นสองแอร์ พ่วงในรถเร็ว) ที่ค่อนข้างเหมาะแก่ชนชั้นกลาง ที่ไม่แพงลิ่ว และไม่ถูกจนถึงกับต้องดาวน์เกรด แต่รถสองประเภทนั้นยกเลิกไป อย่างแรกนานๆมาลงให้บริการกับรถบางขบวนเป็นรถเสริมไม่มาทุกวัน อย่างหลังพ่วงแต่กับรถด่วน
เป็นชนชั้นกลางนั้นแสนลำบาก