แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของทางรถไฟสายจินตนาการ  (อ่าน 441 ครั้ง)

ออฟไลน์ Taw

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,352
  • ถูกใจแล้ว: 584 ครั้ง
  • ความนิยม: +47/-605
ที่มาของทางรถไฟสายจินตนาการ
« เมื่อ: มกราคม 07, 2020, 10:54:19 PM »
ทางรถไฟสายซีน่าทาวน์-เมลิน่า เป็นทางรถไฟที่ยาวจากเหนือ-ใต้ จากเกาะเมลิน่า-เกาะแมนเดรส-เกาะสินารันน่า มีข้อมูลจำเพาะ ดังนี้...

สถานีต้นทาง : ซีน่าทาวน์
สถานีปลายทาง : เมลิน่า
ระยะทาง :
460 กม. ในสายตะวันออก
445 กม. ในสายตะวันตก
ขนาดความกว้างทาง : 1.435 เมตร
ปีที่สร้าง : พศ.2498
บริหารโดย : รฟน.(การรถไฟหมู่เกาะซีน่า)

เมืองที่ผ่าน :
1.ซีน่าทาวน์
1.1 เขตพาราไดซ์ซี
1.2 เขตไชน่าทาวน์
1.3 เขตจตุรทิศ
1.4 เขตรวี
1.5 เขตดอนไม้ผล
2.จังหวัดสินเวทย์
2.1 อำเภอเมือง
2.2 อำเภอคลองหอย
3.จังหวัดสวีทแลนด์
3.1 อำเภอวังหินอ่อน
3.2 อำเภอเมือง
3.3 อำเภอห้างชี - มีทางแยกระหว่างสายตะวันตก-ตะวันออก

สายตะวันออก
4.จังหวัดคลูซ
4.1 อำเภอเรือล่ม
4.2 อำเภอหมอยา
4.3 อำเภออินทผาลัม
4.4 อำเภอเมือง
4.5 อำเภอหมี่เซียว
5.จังหวัดเมลโลมาร์ค
5.1 อำเภอมาร์เดน บรรจบกับทางลัดจากสายตะวันตก
5.2 อำเภอนมสด
5.3 อำเภอเมือง บรรจบกับสายตะวันตก

สายตะวันตก
4.จังหวัดฮังกวี้
4.1 อำเภอทุ่งมะม่วง
4.2 อำเภอเมือง
4.3 อำเภอแก่งทอง - มีทางลัดไปสายตะวันตก ผ่านอำเภอวิหารขาว บรรจบที่อำเภอมาร์เดน และแยกทางช่วงแก่งทอง-เขาเหล็กระหว่างแนวทางใหม่ที่ยกระดับ กับแนวรางเก่าที่อ้อมเขา แต่ผ่านโรงงานปูนและเหมืองแร่
4.4 อำเภอเขาเหล็ก
5.จังหวัดเมลโลไมน์
5.1 อำเภอบาโครี่
5.2 อำเภอโรงสี
5.3 อำเภอเนินปาล์ม
5.4 อำเภอเมือง - บรรจบกับสายตะวันออก

จากนั้นก็ขึ้นสะพานข้ามไปเกาะแมนเดรส บนสะพานข้ามช่องแคบระยะทาง 950 เมตร
6.จังหวัดแมนเดรส
6.1 อำเภอหินอ่อน
6.2 อำเภอลมปราณ
6.3 อำเภอกุรีรัตน์
6.4 อำเภอเมือง
6.5 อำเภอเขาห้ายอด
6.6 อำเภอแมลงทับ
6.7 อำเภอสะพานเล็ก
6.8 อำเภอสะพานแขวน

ขึ้นสะพานข้ามไปเกาะเมลิน่า ระยะทาง 800 เมตร
7.จังหวัดเมลิน่า
7.1 อำเภอปากเขื่อน
7.2 อำเภอโอ่งดิน
7.3 อำเภอป่าโพธิ์
7.4 อำเภอดินโป่ง
7.5 อำเภอวังแดง
7.6 อำเภอป่าส้ม
7.7 อำเภอทุ่งสมุนไพร
7.8 อำเภอเมือง

Timeline : โดยย่อ
พศ.2498 สร้างทางรถไฟ จากซีน่าทาวน์-เมลโลไมน์ ฝั่งตะวันตก ในระยะทาง 265 กม.
พศ.2500 นำเข้ารถจักรไอน้ำมือสองและตู้โดยสาร-ตู้สินค้ามือสองที่ปลดจากประเทศต่างๆมาทำการ และประเดิมวิ่งช่วงซีน่าทาวน์-สินเวทย์เป็นช่วงแรก ระยะทาง 30 กม.
พศ.2502 ทางช่วงสินเวทย์-สวีทแลนด์เสร็จ ระยะทาง 40 กม. ขยายเส้นทางรถไฟไปถึงสวีทแลนด์ รวมเป็น 70 กม.
ขบวนรถทุกขบวนในปีนี้จะเป็นรถธรรมดา(ตู้โดยสารล้วน)และรถรวม(มีรถสินค้าพ่วง) ราคาเท่ากัน จอดเท่ากัน
พศ.2503 เริ่มสร้างทางรถไฟภายในเกาะเมลิน่า(120 กม.) และเกาะแมนเดรส(150 กม.) สร้างเหนือ-ใต้
พศ.2505 สร้างทางสายตะวันออก จากห้างชี-เมลโมไมน์ ผ่านเมืองครูซ ระยะทาง 100 กม.
พศ.2507 ทางรถไฟภายในเกาะแมนเดรสเสร็จสมบูรณ์ เปิดเดินรถธรรมดา/รถรวม
พศ.2509 ทางรถไฟภายในเกาะเมลิน่าเสร็จสมบูรณ์ เปิดเดินรถธรรมดา/รถรวม

พศ.2510 ทางรถไฟสร้างจนถึงเมืองเมลโลไมน์เต็มรูปแบบ เริ่มมีขบวนรถเร็ว(จอดเฉพาะระดับจังหวัด/อำเภอ)ให้บริการ
พศ.2511 ทางรถไฟในเกาะเมลโลไมน์ตะวันออกเสร็จสมบูรณ์ สร้างทางรถไฟเชื่อมเกาะ แล้วเสร็จในปี พศ.2513
พศ.2512 นำรถจักรดีเซลมือหนึ่งมาทะยอยทดแทนรถจักรไอน้ำเดิม
พศ.2513 สะพานเชื่อมเกาะสร้างเสร็จ เปิดเดินรถด่วนขบวนแรกที่วิ่งยาวตั้งแต่ซีน่าทาวน์-เมลิน่า
พศ.2515 เริ่มให้รถเร็ววิ่งข้ามทะเลไปเกาะแมนเดรส
พศ.2517 นำรถดีเซลรางมาให้บริการในรถเร็ว รถธรรมดาเปลี่ยนเป็นรถดีเซล-ตู้ลาก

พศ.2522 ยกเลิกรถจักรไอน้ำ ใช้รถดีเซลแทนทุกขบวน
พศ.2523 เปิดเดินรถสินค้าแท้ๆ ทะยอยยกเลิกขบวนรถรวม เริ่มแบ่งแยกระหว่างรถโดยสาร-รถสินค้า สร้างทางคู่ช่วงซีน่าทาวน์-ห้างชี
พศ.2526 มีการทำเบอะรถนั่งชั้นสามบางส่วน และทำรถนั่งชั้นสอง(เบาะเอนได้)พ่วงในรถด่วน และรถเร็วเริ่มมีรถที่นั่งเบาะมาทดแทนเก้าอี้ไม้ ทางคู่จากซีน่าทาวน์-ห้างชีเสร็จเรียบร้อย

พศ.2534 มีรถปรับอากาศ ทั้งชั้นสามและชั้นสองเข้ามาให้บริการในรถด่วนและรถเร็วบางขบวน รถธรรมดาเริ่มมีรถนั่งเบาะมาในขบวน และสร้างทางคู่จากห้างชี-แก่งทองในสายตะวันตก
พศ.2537 ยกเลิกรถร้อนชั้นสามในรถด่วน
พศ.2540 มีการนำรถไฟความเร็วสูงรุ่นเก่าปลดระวางจากต่างประเทศมาใช้ในรถด่วน และมีการทะยอยรีโนเวทรถร้อนเดิม ทั้งชั้นสามและชั้นสองให้เป็นรถแอร์

เดี๋ยวต่อในเม้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2020, 10:11:37 AM โดย Taw »
 

ออฟไลน์ Taw

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,352
  • ถูกใจแล้ว: 584 ครั้ง
  • ความนิยม: +47/-605
Re: ที่มาของทางรถไฟสายจินตนาการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 07, 2020, 11:24:37 PM »
ต่อเกี่ยวกับ Timeline
พศ.2542 สร้างทางคู่ช่วงเมลิน่า-เมโลไมน์ ทะยอยปรับปรุงให้สถานีในเขตทางคู่เป็นชานชาลาสูง(แบบ BTS) แล้วเสร็จปี พศ.2547
พศ.2543 สร้างทางรถไฟช่วงแก่งทอง-วิหารขาว-มาเดนเป็นทางลัดสำหรับรถสินค้า และรถธรรมดาเริ่มมีการปรับเป็นรถดีเซลรางเพื่อความคล่องตัว
พศ.2545 มีโครงการนำรถจักรไอน้ำบางส่วนที่ปลดระวางไปเมื่อ 23 ปีก่อนมาฟื้นให้วิ่งได้ และตอนนี้เองก็ได้อนุมัติทางคู่ทั้งฝั่งตะวันออกและตกด้วย
พศ.2546 เริ่มอัพเกรดทางช่วงซีน่าทาวน์-ห้างชี และเมลโลไมน์-เมลิน่าเป็นทางสาม
พศ.2547 รถธรรมดาทุกขบวนเป็นรถดีเซลราง รถลากย้ายไปรถเร็ว บางส่วนที่เป็นเก้าอี้ไม้เปิดใช้ในรูปแบบรถไฟนำเที่ยวเท่านั้น และปีนี้รถจักรไอน้ำก็รีเทริ์นมาวิ่งรถนำเที่ยวเสาร์-อาทิตย์
พศ.2548 เปิดเดินรถด่วนพิเศษโดยการสั่งรถรุ่นใหม่มาให้บริการ
พศ.2549 ทางสามที่สร้างปี พศ.2546 เสร็จสมบูรณ์

พศ.2550 ทางคู่ในฝั่งตะวันออกแล้วเสร็จ และฝั่งตะวันตกเป็นคอขวดช่วงแก่งทอง-เขาเหล็กเนื่องจากภูมิศาตร์ไม่อำนวยในการทำทางคู่ จึงมีโครงการทำทางยกระดับแทน
พศ.2552 ยกเลิกรถร้อนในรถเร็ว รถชั้นสาม(เก้าอี้เบาะ)และชั้นสองติดแอร์และระบบเปิด-ปิดประตูเพื่อความปลอดภัย ในช่วงนี้เองรถธรรมดาก็เริ่มมีรถแอร์ในขบวนบ้างแล้ว
พศ.2554 เริ่มสร้างทางยกระดับช่วงซีน่าทาวน์-สินเวทย์ และทางรถสินค้าแยกจากดอนไม้ผลไปทางเขตสวนหมาก-คลองหอม-มักโรนี-ท่าเรือรัตนาเพื่อแยกที่ทำการสินค้า-โดยสารออกจากกัน แล้วเสร็จปี พศ.2560
พศ.2556 ทางช่วงท่าเรือรัตนาแล้วเสร็จ ฟื้นฟูรถรวมกลับมาวิ่งใหม่ โดยให้จอดน้อยกว่าเดิม มีการวกเข้าทางรองที่รถโดยสารส่วนใหญ่ไม่วิ่ง เป็นรถแอร์ทั้งขบวน มีโซนโซฟาให้นอนเล่นด้วย และรถธรรมดาก็กลายเป็นรถแอร์ทั้งขบวนแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2020, 10:13:27 AM โดย Taw »
 

ออฟไลน์ Taw

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,352
  • ถูกใจแล้ว: 584 ครั้ง
  • ความนิยม: +47/-605
Re: ที่มาของทางรถไฟสายจินตนาการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 07, 2020, 11:37:05 PM »
ขบวนรถที่ให้บริการ
ทุกขบวนติดแอร์ แต่จะปิดแอร์-เปิดหน้าต่างและใช้พัดลมแทนในวันสิ่งแวดล้อมในแต่ละปีด้วย

รถธรรมดา
ประเภทรถ : ดีเซลราง รถนั่งชั้นสามปรับอากาศ(กซข.ป./กซม.ป.) คันละ 76 ที่นั่ง
ค่าโดยสาร :
วันปกติ 20-120 บาทตามระยะ
วันสิ่งแวดล้อม 10-90 บาทตามระบะ
*ราคาสูงสุดวัดจากขบวนที่วิ่งในระยะ 180 กม.ซึ่งเป็นระยะทางทางสูงสุด
ความเร็วสูงสุด : 90 กม/ชม
เกี่ยวกับขบวน : ให้บริการไม่เกิน 180 กม. จอดทุกป้าย-สถานี

รถเร็ว
ประเภทรถ : รถลากจูง รถนั่งเบาะเอนชั้นสอง(บชท.ป.) คันละ 72 ที่นั่ง
ค่าโดยสาร :
วันปกติ 30-500 บาทตามระยะ
วันสิ่งแวดล้อม 20-380 บาทตามระยะ
ความเร็วสูงสุด : 105 กม/ชม
เกี่ยวกับขบวน : ให้บริการเหนือจรดใต้ จอดเฉพาะสถานีระดับจังหวัด/อำเภอ และตำบลใหญ่ๆ ป้ายก็มีบ้างถ้าผ่านช่วง 6.00-8.00 น. กับ 16.00-17.00 น.

รถรวม
ประเภทรถ : รถลากจูง บชท.ป.48 ที่นั่ง+โซฟานั่งเล่น(ยาวสามที่) มีรถสินค้าในขบวน
ค่าโดยสาร :
วันปกติ 35-510 บาทตามระยะ
ปีใหม่/สงกรานต์/เลือกตั้ง 30-500 บาทตามระยะ(เพราะโซนโซฟาที่ปกติไว้นั่งเล่นโดนเอาไปทำที่นั่งเสริม เลยลดราคาให้)
วันสิ่งแวดล้อม 25-380 บาทตามระยะ
ความเร็วสูงสุด : 90 กม/ชม
เกี่ยวกับขบวน : ให้บริการเหนือจรดให้ จอดสถานีรถดับจังหวัด/อำเภอใหญ่ๆ

รถด่วน
ประเภทรถ : รถไฟฟ้าหัวจรวด บชท.ป. 44 ที่นั่ง/คัน และ 40 ที่นั่ง/คัน
ค่าโดยสาร :
บชท.ป.44 ที่นั่ง(ชั้นเงิน)
วันปกติ 50-850 บาท
วันสิ่งแวดล้อม 40-740 บาท
บชท.ป.40 ที่นั่ง(ชั้นทอง มีโซฟานั่งเล่น)
วันปกติ 70-900 บาท
วันสิ่งแวดล้อม 55-780 บาท
ความเร็วสูงสุด : 120 กม/ชม
เกี่ยวกับขบวน : เหนือจรดใต้ จอดแค่สถานีระดับจังหวัด ชั้นทองคือหัว/ท้่ย รถกลางคือชั้นเงิน

รถด่วนพิเศษ
ประเภทรถ : ไฟฟ้า บนอ.ป. 30 ที่นั่ง/คัน
ค่าโดยสาร :
วันปกติ : 200-1,000 บาทตามระยะ
วันสิ่งแวดล้อม 100-800 บาทตามระยะ
ความเร็วสูงสุด : 200 กม/ชม
เกี่ยวกับขบวน : เหนือจรดใต้ จอดแค่จังหวัดใหญ่ๆ มีโซฟ้านั่งเล่นทุกคัน และมี Free WIFI บริการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2020, 12:03:04 AM โดย Taw »
 

 

Tags:
แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก