
ฮาชิโมโตะ นาโอะ หญิงวัย 44 ปี ทำร้านข้าวมันไก่เล็กๆ ในโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสามีของเธอเป็นเจ้าของร้าน
อย่างที่รู้กันว่าข้าวมันไก่เป็นอาหารยอดนิยมในประเทศไทย
โดยจะวางเนื้อไก่ต้มบนข้าวและราดด้วยน้ำจิ้มพิเศษ
.
สามีได้ไปฝึกฝนสูตรที่ประเทศไทย
และปรับปรุงน้ำจิ้มให้ถูกปากคนญี่ปุ่นจนเป็นที่ชื่นชอบมาก
ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด… ลงตัวจนลูกค้าติดใจ
.
แต่แล้ววันหนึ่งเขาจากไปกะทันหัน
ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ทิ้งไว้เพียงความทรงจำ…
และ “สูตรน้ำจิ้ม” ที่ไม่มีใครรู้
แม้ภรรยาจะรู้ว่าใช้ขิงและเครื่องปรุงไทย 4 ชนิด
แต่สัดส่วนที่แม่นยำ มีเพียงสามีเท่านั้นที่รู้…
และนั่นหมายความว่า รสชาติของสามีอาจหายไปตลอดกาล
ไม่สามารถทำรสชาติน้ำจิ้มแบบสามีได้อีกแล้ว
.
จนกระทั่งวันหนึ่ง
เธอเจอ “น้ำจิ้มถ้วยสุดท้าย” ในตู้เย็นของร้าน
คาดว่าเป็นถ้วยที่เขาทำไว้ก่อนเสียชีวิตเพียงวันเดียว
ตอนที่เธอตัดสินใจเขียนจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากรายการ Knight Scoop เวลาก็ผ่านไปแล้วกว่า 3 สัปดาห์…
น้ำจิ้มถ้วยนั้นอาจจะเสียได้ทุกเมื่อ
แต่เพราะนี่คือ “รสชาติสุดท้ายของเขา”
เธอจึงตัดสินใจ ขอความช่วยเหลือจากรายการ
เพื่อชุบชีวิตรสชาติของสามีอีกครั้ง
นักสืบฮาชิโมโตะ ตัวแทนรายการ Knigh Scoop
รีบเดินทางไปโอกายามะทันที
เมื่อไปถึง เห็นป้าย “ร้านข้าวมันไก่เฉพาะทาง” ชัดเจน
บรรยากาศในร้านยังเต็มไปด้วยความเศร้า
เธอและครอบครัวยังไม่อาจทำใจได้
เมื่อได้ชิมน้ำจิ้มถ้วยนั้น นักสืบถึงกับอุทาน
“อร่อย”
แต่การจะถอดสูตรไม่ใช่เรื่องง่าย
เธอหยิบเครื่องปรุงออกมา
ขิง และเครื่องปรุงไทย 4 ชนิด
● น้ำส้มสายชูไทย — เปรี้ยวจี๊ดจนต้องทำหน้าตาหดเกร็ง
● ซีอิ๊วดำหวาน — หวานเข้มคล้ายน้ำจิ้มดังโงะ
● เต้าเจี้ยวไทย — รสคล้ายมิโซะหมัก ลึกและหอม
● น้ำตาลปาล์ม — หวานจัดจนต้องร้อง “หวานนน!”
แม้จะรู้ส่วนประกอบ แต่รสมือและการผสมยังคงเป็นปริศนา
เธอถึงกับพูดขำ ๆ ว่า “จะลองเรียกร่างทรงมาช่วยดีไหม?”
นักสืบตอบยิ้ม ๆ “ยังไม่เคยลองแบบนั้นนะครับ”
.
เมื่อถึงทางตัน พวกเขาจึงติดต่อคุณคาโดคามิ ทาเคชิ
ที่ปรึกษานิตยสารอาหารชื่อดัง
เขาแนะนำเชฟผู้มีประสาทรับรสแม่นยำ
เหมือนคนมีหูทิพย์ในดนตรี
สุดท้าย เชฟโมะโตกาวะ อัตสึชิ
แห่งร้าน “Genji” ถูกเชิญมาช่วย
ทันทีที่มาถึง เขาลองข้าวมันไก่พร้อมน้ำจิ้มต้นฉบับ
เขายอมรับว่าอร่อย แต่ก็สารภาพว่า “ยากมาก
เพราะไม่เคยใช้เครื่องปรุงไทยพวกนี้”
.
เริ่มจากผสมเครื่องปรุง 4 ชนิดในสัดส่วนเท่ากัน
เชฟถามว่า “ต้องเคี่ยวกี่นาที?”
เธอตอบว่า “ไม่รู้…”
เชฟถอนหายใจ “เวลาเคี่ยวสำคัญมากนะครับ”
.
ลองเคี่ยวประมาณ 10 นาที ก่อนปรับรสเพิ่ม
เชฟสงสัยว่ามี “กระเทียม” ด้วยหรือเปล่า
เธอตอบว่า “อาจจะ…”
นักสืบรีบแซว “ถ้ามีก็บอกตั้งแต่แรกสิ!”
.
หลังจากใส่กระเทียม เชฟโมะโตกาวะรู้สึกว่ามีรสเค็มเพิ่มเติม นอกจากเต้าเจี้ยวแล้วน่าจะมีเกลือจากอย่างอื่น
เจ้าของร้านบอกว่า “อาจมีซีอิ๊วไทย” จึงนำมาให้เชฟชิม
เชฟชิมแล้วบอกว่า “น่าจะใช่”
หลังปรับด้วยซีอิ๊วไทย เธอพูดทันที “ใกล้แล้ว!”
นักสืบก็ตะโกนว่า “ใช่เลย!”
.
แต่ยังไม่สมบูรณ์ เชฟจึงลองเติม “ซีอิ๊วญี่ปุ่น”
เมื่อทุกคนชิม ต่างพูดว่า “เหมือนมาก!”
แม้จะต้องปรับเวลาเคี่ยวอีกเล็กน้อย จนได้รสสุดท้าย
.
เมื่อเธอชิมน้ำจิ้มที่เสร็จสมบูรณ์
น้ำตาไหลพราก พูดด้วยเสียงสั่นว่า
“นี่แหละ… รสชาติของเขา!”
เชฟยิ้ม และพูดด้วยความภูมิใจ
“ดีใจที่ได้ช่วย… นี่แหละเหตุผลที่ผมทำอาชีพนี้”
ก่อนจะแซวว่า “เดี๋ยวผมเอาไปใส่เมนูร้านผมด้วยนะ”
นักสืบถึงกับรีบห้าม “อย่าพูดจริงจังสิ น่ากลัว!”
.
หลังจากนั้น ลูก ๆ และลูกค้าประจำได้มาชิม
ทุกคนพูดพร้อมกันว่า
“ใช่เลย!”
“รสชาติเดิมเป๊ะ!”
ลูก ๆ พูดขอบคุณด้วยความนอบน้อม
จนนักสืบเอ่ยปากชมว่า “เด็ก ๆ มีมารยาทดีมากจริง ๆ”
ท้ายที่สุด ครอบครัวกล่าวขอบคุณเชฟ
เชฟตอบกลับว่า “ขอให้สู้ต่อไปนะครับ”
จบด้วยรอยยิ้มและน้ำตาของทุกคนในร้าน
⸻
บางครั้ง “น้ำจิ้ม” อาจดูเป็นเพียงเครื่องเคียงเล็ก ๆ
แต่สำหรับเธอ…
นี่คือความรัก ความทรงจำ และหัวใจของสามีที่ยังคงอยู่
เรื่องราวนี้สอนให้เรารู้ว่า…
รสชาติหนึ่ง อาจเชื่อมโยงคนทั้งครอบครัว
และสร้างความรู้สึก “เหมือนยังมีสามีอยู่ใกล้ๆ“
แม้เขาไม่อยู่บนโลกนี้แล้วก็ตาม
Boom JapanSalaryman
Cr: KnightScoop
https://www.google.com/maps/place/Docheche/@34.6679439,133.9148882,935m/data=!3m2!1e3!4b1!4m6!3m5!1s0x3554072a73a53ccb:0xa700e331dbb9bb75!8m2!3d34.6679439!4d133.9148882!16s%2Fg%2F11h331g6x6?entry=ttu&g_ep=EgoyMDI1MDcwNi4wIKXMDSoASAFQAw%3D%3Dhttps://docheche.com/free/english?fbclid=IwY2xjawLau6xleHRuA2FlbQIxMABicmlkETE4bTNxQ0RmeFJGNEFtUHhTAR45wkFkRAo48s_ZgAyAAW-oWDBN2kXHS8a5gv9guXrJIVlNc9UAQR4hs3kDXQ_aem_O7Y5NFCtjQs4wvM2UQEQtghttps://www.facebook.com/photo?fbid=719199290754620&set=a.242157491792138
