แบบเต็มๆ
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ของผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรส(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ของผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรส พ.ศ. 2561 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ 3 บุคคลซึ่งอยู่กินกันฉันคู่สมรสโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้าพนักงานของรัฐและมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นคู่สมรสตามมาตรา 102 วรรคสอง และ มาตรา 126 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
(1) ได้ทำพิธีมงคลสมรสหรือพิธีอื่นใดในทำนองเดียวกันกับเจ้าพนักงานของรัฐ โดยมีบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอกรับทราบว่าเป็นการอยู่กินเป็นคู่สมรสกันตามประเพณี
(2) เจ้าพนักงานของรัฐแสดงให้ปรากฏว่ามีสถานะเป็นคู่สมรสกัน หรือมีพฤติการณ์เป็นที่รับรู้ของสังคมทั่วไปว่ามีสถานะดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งจดทะเบียนสมรสกับเจ้าพนักงานของรัฐและต่อมาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันตามกฎหมาย แต่ยังแสดงให้ปรากฏหรือมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รับรู้ของสังคมทั่วไปว่ามีสถานะเป็นคู่สมรสกัน
ที่มา:
https://thestandard.co/thailand-unregistered-marriage-legal-status-update/-------------------------------------------------
ไปเจอของ SCB มา
แต่สำหรับคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส กฎหมายไม่ได้กำหนดในเรื่องของการแบ่งแยกทรัพย์สินรวมทั้งการจัดการทรัพย์สินระหว่างกันว่าจะต้องแบ่งแยกหรือจัดการกันอย่างไร แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับคู่รัก แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างคู่รักก็ทำให้มีคดีมากมายขึ้นสู่ศาล ในประเด็นปัญหานี้ศาลฎีกาได้มีแนวคำพิพากษาวางไว้ว่า
ทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกันจะถือว่าเป็น
“กรรมสิทธิ์รวม” ของคู่รัก มีผลให้คู่รักต่างมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นคนละกึ่งหนึ่ง ตามตัวอย่างคำพิพากษาที่ได้ยกมาดังนี้
- ฝ่ายชายและหญิงอยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทั้งคู่ต่างทำกิจการการค้าร่วมกัน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ร่วมกันนั้นจึงถือได้ว่าเป็นของทั้งคู่ ต่างฝ่ายต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สินจึงต้องแบ่งทรัพย์สินนั้นให้แต่ละฝ่ายคนละกึ่งหนึ่ง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1512/2519)
- ฝ่ายชายและหญิงได้อยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาทั้งคู่ได้ซื้อที่ดิน 1 แปลงซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันโดยใส่ชื่อฝ่ายชายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ที่ดินแปลงดังกล่าวแม้จะมีแค่ชื่อฝ่ายชายแต่ที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกันจึงถือได้ว่าทั้งคู่ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงนั้นคนละกึ่งหนึ่ง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 786/2533)
- นางสาว A และนางสาว B อยู่ร่วมกันอย่างคู่รักมาเกือบ 20 ปี นางสาว A มีหน้าที่หลักในการหาเงินเข้าบ้าน ส่วนนางสาว B ลงแรงในการดูแลบ้านในฐานะแม่บ้าน ถือได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างร่วมกันทำมาหากิน ดังนั้นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นมาในระหว่างที่อยู่ร่วมกันจึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ทั้งนางสาว A และนางสาว B ต่างมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน ทั้งคู่จึงมีส่วนในทรัพย์สินนั้นคนละกึ่งหนึ่ง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 3725/2532)
ในเรื่องของทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของคู่รัก ก็มีทรัพย์สินบางอย่างที่ไม่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมเพราะไม่ได้เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน เช่น ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมรดก ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หา ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวแม้จะมีการอยู่ร่วมกันแต่หากคู่รักอีกฝ่ายไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำมาหาได้ก็จะไม่ถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์รวม เป็นต้นที่มา:
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/protect-my-family/asset-ownership-for-unmarried-partners