[quote/]
ใช่ครับ วัฏจักรน้ำไหลคืนเท่าไหร่
- แต่ท่านลืมคิดไปรึเปล่า? ว่านี่คือการสูบน้ำจากใต้ดินที่ลึกกว่าแค่ขุดบ่อน้ำในอดีต
- และตามธรรมชาติน้ำใต้ดินนั่นมันแทบจะไม่สามารถมาหมุนเวียนขึ้นชั้นบรรยากาศอะไรได้เลยถ้ามนุษย์ไม่มาเจาะสูบ
- และท่านต้องคิดดูว่าน้ำมันหมุนเวียนซึมลงไปยังแหล่งน้ำใต้ดินลึกร้อยหรือพันเมตรเมตรได้ซักเท่าไหร่ พื้นชั้นดินชั้นหินไม่ใช่ทรายนะ
- การเกษตรไทยยังพอว่า แต่การขุดเจาะสูบใช้ระดับอุตสาหกรรมนี่ซิ คนละระดับเลยนะ
- ที่ท่านพูด นะ มันออกจะเป็นการหมุนเวียนบนน้ำเหนือผิวดินมากกว่า
- คิดว่าน้ำฝนที่ตกลงจะซึมถึงแหล่งน้ำใต้ดินที่ลึกไปเป็นกิโลได้ง่ายขนาดนั้นฤา?
- และเอาจริง ฝนร่วม80%นะตกกลางทะเลซะเยอะนะ ไอ้ที่ว่าตกเยอะบนแผ่นดินนะแค่ส่วนน้อย ไหนจะเป็นหิมะอีก น้ำที่สูบมาบนแผ่นดินแต่ไปตกที่ทะเล แผ่นดินได้คืนคุ้มไหม? เพราะต้องเข้าใจ20%ที่ตกบนแผ่นดินก็กระจายตกไปทั่วไม่ได้ตกแค่ตรงจุดที่สูบ
- ถ้ามันหมุนเวียนเติมได้ง่ายขนาดนั้น คงไม่มีประเภทสูบน้ำจนแผ่นดินทรุดแม้ไม่ได้ปลูกสิ่งก่อสร้างตรงนั้น ฝนตกแล้วไงมันไม่ได้ซึมไปเติมแหล่งน้ำใต้ดินได้ง่ายๆ ขนาดนั้น บางทีตกทั้งฤดูฝนและพายุ ไม่ใช่ฤดูแล้ง แต่ก็ชดเชยเท่าที่คนสูบมากเกินไปไม่ได้
- เหมือนธารน้ำแข็งนั่นแหละใช้เวลาสะสมหลายแสนปีแต่มาสิ้นสุดในหนึ่งศตวรรษของมนุษย์ แค่โลกไม่ร้อนสองสามปีช่วยไรไม่ได้
- 2ล้านล้านตันที่เราสูบใน1ปีจะกลับคืนสู่แหล่งน้ำใต้ดินได้ซัก10%รึเปล่า จะคืนได้เร็วเท่ากับที่สูบรึเปล่า มันจะทบไปเรื่อยๆ ยิ่งบางทีเจาะลึกแหล่งน้ำในชั้นหินที่เกิดจากเปลือกโลกเคลื่อนทิ้งคาอย่างนั้นมาหลายหมื่นหลายแสนปี น้ำฝนไม่น่าหมุนวนให้ได้ง่ายๆหรอก?
- แบบตัดไม้กับปลูกต้นไม้นั่นแล ชดเชยไม่ทันหรอก
- ส่วนเรื่องสูบจนแกนโลกเอียงไหม ช่างมัน แต่ท่านก็อย่าลืมว่าแค่ตัดไม้มากไปก็ทำดินถล่มหรือฝนแล้งในพื้นที่นั้น สูบน้ำบางจุดมากไปจนเคยทำแผ่นดินทรุด ขุดอุโมงค์ไม่ดีก็ถล่มแน่
- เพียงแต่สเกลระดับโลกนี่เราที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญพูดยาก ผลกระทบต่อโลกเนี่ย?
ลองอ่านดูผมเข้าใจผิดไปแฮะ เข้าใจว่าสูบปีเดียว 2 ล้านๆตัน แต่มันเป็นปริมาณที่สูบตั้งแต่ปี 1993-2010 ไม่ใช่ปีเดียวแฮะบทความนี้เข้าไปอ่านแล้วมันอยู่แค่ในระดับตั้งสมุติฐานเองเรอะความเข้าใจที่ได้ก็ประมาณ
1. แกนโลกเอียงไป 80 ซม. ช่วงปี 1993-2010
2. ปริมาณน้ำใต้ดินที่ใช้ช่วงนั้นรวมๆกันคือ 2000กิกะตัน
3. ทำแบบจำลองเพื่อดูการหมุน แล้วเอาน้ำใต้ดิน 2000กิกะตัน ออกไปจากแบบจำลอง ผลคือ แกนจะเบี้ยวไป 78 ซม.
แน่นอนว่าจู่ๆ"มวล"หายไปจากระบบ 2000 กิกะตันมันย่อมต้องส่งผลกระทบต่อการหมุนอยู่แล้วถึงจะนิดหน่อยก็เหอะแต่ในความเป็นจริง การสูบน้ำขึ้นมาใช้นี่ "มวล"ของน้ำไม่ไม่ได้หายไปจากพื้นผิวซะทีเดียวนา แค่ย้ายที่จากล่างมาบน ไม่ก็ไหลไปที่อื่น ตามทางระบายน้ำ?
แน่นนอนผมจะไม่บอกว่าไอ้การสูบมาใช้นี่ไม่มีปัญหาเลย อย่างที่บอกในระยะสั้นๆไม่กี่ปีก็มีปัญหาดินทรุด ตามมาอยู่แล้วแต่ต่อให้ดินทรุดไปรัศมีสักหลายสิบกม. เมืองทั้งเมืองจมลงไป มันก็เป็นปัญหาใหญ่ในมุมมองของผู้อยู่อาศัยแค่นั้น ปัญหามันไม่ได้ใหญ่ขึ้นระดับโลก
กรณีของบทความนี้ที่พูดถึงการสูบน้ำใต้ดินส่งผลกระทบต่อการหมุนอย่างน้อยที่สุดเท่าที่นึกออก มันต้องมีการเทียบข้อมูลสถิติตั้งแต่ก่อนยุคอุตสาหกรรมที่ไม่มีการสูบน้ำหนักๆว่า แกนหมุนของโลกมีการเคลื่อนที่ในอัตราเท่าไหร่แล้วค่อยเอามาเทียบกับปัจจุุบันว่ามันเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วค่อยมาฟันธงว่ามันมีผลแน่ๆอ่ะยังไม่สาย แต่เท่าที่อ่านขั้นตอนนี้ยังอยู่ในระหว่า"ดำเนินการ" มั้งนะเห็นมีพูดถึงข้อมูลศตวรรษที่19 อยู่ แต่ไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลการเบี่ยงเบนของแกนหมุน หรือเป็นแค่ข้อมูลอ่างเก็บน้ำ
ไม่งั้นการทดลองนี้ก็จะเหมือนการทดลองขำๆในวงเหล้า
เอาโซดา 1/4 แก้วผสมเหล้าขาว 1 แก้ว = เมา
เอาโซดา 1/2 แก้วผสมเหล้าขาว 1 แก้ว = เมา
เอาโซดา 1 แก้วผสมเหล้าขาว 1 แก้ว = เมา
สรุป โซดาแม่มทำให้เมา ใส่มากใส่น้อยก็เมา
//ฟังดูบิดเบือนดีไหมล่ะ
อีกอย่างเรื่องน้ำคืนระบบใต้ดิน แน่นอนว่าที่ดินมันทรุดเพราะมันสูบกันจนวัฏจักรมันคืนสภาพไม่ทันแล้วก็ทรุดอย่างที่ทราบ แต่น้ำมันจะไม่คืนลงไปใต้ดินได้เลยรึ ถึงจะแค่บางส่วนก็เหอะ แต่ในบทความเห็นได้ชัดว่าวัดเอาแต่ที่สูบขึ้นมาใช้งานอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงตอนมันไหลกลับไปบางส่วนด้วยปริมาณที่ดูจากการใช้งานอย่างเดียว 2 กิกะตันอาจไม่ถูกต้องนัก น่าจะน้อยกว่านี้สักเล็กน้อย แต่แค่ไหน มันก็ต้องลงพื้นที่ไปวัดแบบละเอียดล่ะครับเพราะแต่ละที่มันมีวงจรไม่เท่ากันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นงานของนักวิจัย
ปล.ตัวรายงานไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นส่วนของอุตสาหกรรมหรือเกษตร มีแต่ระบุพื้นที่กว้างๆแค่นั้น