4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป
PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
ติดตาม fb : PDPC Thailand
ที่น่าขำสุด คือกฎหมายนี้ประกาศใช้มา 2 ปีแล้ว
แค่มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย. 65
แต่คนพึ่งมาตื่นตัว
หมีๆลองอ่านทั้งง 4.ข้อนี้ให้ดีๆ มันไม่เกี่ยวหรอกว่าหน่วยงานใดเขียนมันขึ้นมา แต่ทั้งสี่ข้อนี้นั้น
มันแถแถกกกกกกกกๆๆๆๆๆมาก มันเป็นสี่ข้อที่ซ่อนเงื่อนในคำทั้งหมด อย่างเช่นข้อ1.ไม่เจตนา
เอาอะไรตัดสิน และไม่เกิดความเสียหายต่อผู้ที่มีภาพติด เอาอะไรตัดสิน ถ้าคนๆนั้นบอกว่า
เขาเสียหายแล้วอ้างสารพัด จะทำไง?? ใช้ส่วนตัวนั่นแปลว่าห้ามเอารูปหรือคลิปลงสาธารณะ
นั่นแปลว่า ทุกๆคนเวลาถ่ายภาพถ่ายคลิปจากนี้ต่อไป ถ้ามเอาลงเฟสลงยูทูปนะ ให้เอาไว้แค่
ดูส่วนตัวเท่านั้น
ข้อ2.ก็เล่นคำเหมือนกับข้อหนึ่ง ไม่เกิดความเสียหายเนี่ย ถ้าเกิดไปถ่ายติดใครเขาข้า เช่น
ในงานปาร์ตี้ จนเมียเขารู้ว่าผัวพากิ๊กมางาน เกิดความเสียหาย หรือไม่ก็ ถ้าเขาทำอาชีพที่
หารายได้จากการถ่ายแบบ การที่เขาโดนถ่าย นั่นคือมูลค่าที่เขาจะต้องได้รับ หรือไปถ่ายติด
รูปเขาไปท่องเที่ยว บริษัทที่เขาทำงานรู้ว่าเขาแอบไปเที่ยว เนี่ยเห็นมั๊ย มีข้่ออ้างความเสียหาย
มากมายที่จะอ้างเพื่อฟ้องร้อง ฟ้องจากกฏหมายนี้
และไม่แสวงหากำไร ยูทูปเปอร์ทำไงดีหล่ะทีนี้ ถ่ายสภาพที่ท่องเที่ยวย่อมต้องติดรูปคนไกลๆ
หรือยูทูปเปอร์สายกิน เวลาเข้าร้านอาหารท้องถิ่นข้างทาง จะทำยังไง สุดท้ายกลายเป็นว่า
กฏหมายที่มีไว้เฉยๆ ไม่เอาไว้ปฏิบัติจริง จะเอาไว้ใช้เมื่ออยากเล่นงาน
ข้อ3. ติดกล้องในบ้านตัวเองมันพื้นที่ส่วนบุคคลอยู่แล้ว จะแถแถกๆๆๆๆแบบนี้ทำไม ข้อความนี้
มันแปลว่า ติดนอกบ้านมันผิดหรือติดในสถานที่ทำธุรกิจอย่างเช่นร้านอาหารจะต้องมีป้ายแจ้งเตือน
ลองอ่านข้อสามดูดีๆ มันแฝงความนัยว่าอย่างไร
ข้อ4. ขี้เกียจเขียนแล้วหล่ะ ลองอ่านดูดีๆหล่ะกัน ว่าเขาซ่อนข้อความที่แท้จริงไว้อย่างไร