แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้ายุบกรมทางหลวง/ทางหลวงชนบท แล้วให้ทางทั้งหมดอยู่ในการดูแลของหน่วยงานท้องถิ่น  (อ่าน 2009 ครั้ง)

ออฟไลน์ Alice-chan

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,718
  • ถูกใจแล้ว: 330 ครั้ง
  • ความนิยม: +330/-1820
  • ยังไงก็ไม่ละกิเลสหรอก อยากกลับไปเป็นเด็ก
ถ้ายุบกรมทางหลวง/ทางหลวงชนบท แล้วให้ทางทั้งหมดอยู่ในการดูแลของหน่วยงานท้องถิ่น เทศบาล/อบต/อบจ/กรุงเทพ/พัทยา และมอเตอร์เวย์ให้อยู่ในการดูแลของ กทพ. จะดีขึ้นหรือแย่ลง

คืออลิสจังต้องการให้ทางท้องถิ่นมีมาตรฐานเดียวกันกับทางหลวง คือท้องถิ่นส่วนใหญ่ทำถนนเปล่าๆ ไม่ทำป้าย ไม่ตีเส้นเลย เลยคิดว่าควรยุบรวมเพื่อให้ท้องถิ่นพัฒนามาตรฐานของตัวเอง

แต่เส้นทางสายสำคัญที่เป็นทางหลวงแผ่นดินเดิมจะยังคงป้ายหมายเลขไว้
​(๑╹ᆺ╹)ぬんぬん
 

ออฟไลน์ creymerty

  • หัวหน้าฝูงหมีเล็ก
  • ***
  • กระทู้: 368
  • ถูกใจแล้ว: 121 ครั้ง
  • ความนิยม: +13/-8
  • แค่เหนื่อย! กับบางสิ่่ง จึงมาหาที่พึ่งพิงทางใจ
ถนนดีๆก็จะมีแต่ที่ไปตามบ้าน/สวน ของคนในหน่วยงานนั้นแหละครับ ส่วนอื่นๆก็ดินแดง หรือลาดยางแบบแค่เหยียบก็แตกแล้วนั่นแหละ :(
 

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,406
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
เจ็งครับส่วนท้องถิ่นไม่ได้มีความรับผิดชอบเยอะขนาดนั้นผมยกตัวอย่างง่ายๆอบต.ท้องถิ่นมีงบจากส่วนกลางไห้ทุกปี ถึงกับทำเรื่องเบิกงบเป็นการเฉพาะเลยเช่นงบอำนวยความสะดวกในท้องที่ผลคือก็ยังมีการขายถุงขยะหรือเก็บเงินค่าขยะอยู่ ทังๆที่ได้งบมาแล้วผมบอกเลยก่อนกระจายอำนาจมีใครเสียเงินค่าทิ้งขยะบ้างครับ ไม่มีเลยส่วนกลางจัดงบมาจัดเก็บฟรีแม้จะอ้างแบบไหนก็ฟังไม่ขึ้นงบอำนวยความสะดวกในท้องที่ ปกติคืองบฟรีที่ส่วนกลางจัดหามาเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆไห้ท้องถิ่นเช่นตัดต้นไม้ใหณ่เก็บขยะซ่อมแซมสมบัติสาธรณะต่างๆ แน่นอนว่าฟรีแค่อาจต้องดำเนินการยื่นไปส่วนกลางก่อนที่อำเภอจะอนุมัติ แต่ปัจจุบันอบต.ที่รับผิดชอบงบที่ว่าปัดสวะทิ้งต้องไปยื่นเรื่องที่อำเภอเหมือนเดิมแล้วค่อยไปอบต. จุดต่างคือแม่งมีค่าบริการแล้วไม่ฟรีอีกต่อไปนอกจากจะยื่นเรื่องหลายรอบกว่าเดิมช้ากว่าเดิม ยังต้องจ่ายตังอีกโคตรแย่แต่นะครับถ้าไม่ผ่านส่วนท้องถิ่นงานแบบเดียวกันกลับฟรีอยู่คิดเอาละกัน ว่าถ้ามาอยู่กับท้องถิ่นที่ไม่มีความรับผิดชอบอะไรทำงานไม่เป็นกินงบไปวันๆจะเกิดอะไรขึ้น
ปล.แนวคิดกระจายอำนาจนะดีแต่หัวเรือใหณ่ต้องคอยควบคุมภาพรวมและตรวจสอบได้ด้วยครับ ไอ้ประเทศที่โกงกินทุกระดับประทับใจแบบนี้ไปไม่รอดหรอกครับ ไม่มีวันที่ส่วนท้องถิ่นคิดจะตัดถนนเองจากงบที่มีปกติหรอกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 24, 2022, 08:07:43 PM โดย Rumia »
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: archenn123

ออฟไลน์ Kopyor

  • พลทหารหมี
  • **
  • กระทู้: 154
  • ถูกใจแล้ว: 357 ครั้ง
  • ความนิยม: +21/-38
  • .
รู้จักรหัสสี่ตัวของถนนมั๊ยอลิสจัง  หน่วยงานท้องถิ่นก็กินงบตรงนี้ไม่ใช่เหรอ  ตัดทอนถนน
ให้เป็นท่อนๆ  ค่อยๆทำ  เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคนมาบ่นกับผมเกี่ยวกับหมู่บ้านกฤษดานคร
(ชื่อหมู่บ้านต่างๆพวกนี้มีเยอะมากในแต่ละพื้นที่  อย่างกฤษดานครนี้  อยู่ปริมณฑรใกล้ๆกับ
ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ)  เกี่ยวกับงบท้องถิ่นแดกงบคอรัปชั่น


ผมว่า...  รวมศูนย์แล้วค่อยเกลี่ยกระจายใหม่จะดีกว่า  ล้มกระดานแม่ง!!
 

ออฟไลน์ pol

  • สาวกผู้สนับสนุนเซนนิคุง2Y
  • จอมทัพหมีชั้นสูง
  • ***
  • กระทู้: 17,233
  • ถูกใจแล้ว: 20001 ครั้ง
  • ความนิยม: +361/-2
  • เพศ: ชาย
  • นักอู้มือหนึ่ง
สั้นๆ...กินกันเพลินมากกว่าเก่าครับ ผมอยากจะพูดถึงบุคคลหรือจังหวัดที่แดรกๆกันอยู่หรอกแต่ขี้เกียจขึ้นศาล  :o
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: deaddy, KAGUYA

ออฟไลน์ nosta

  • แม่ทัพหมีชั้นสูง
  • ***
  • กระทู้: 2,522
  • ถูกใจแล้ว: 1150 ครั้ง
  • ความนิยม: +106/-145
จะโกงได้น้อยลงครับ เพราะ คนตัดสินใจมันคือคนจากท้องถิ่น ที่เลือกกันเข้ามา ดีกว่าจากส่วนกลางที่ต้องจ่ายหลายทอด
 

ออฟไลน์ Kopyor

  • พลทหารหมี
  • **
  • กระทู้: 154
  • ถูกใจแล้ว: 357 ครั้ง
  • ความนิยม: +21/-38
  • .
จะโกงได้น้อยลงครับ เพราะ คนตัดสินใจมันคือคนจากท้องถิ่น ที่เลือกกันเข้ามา ดีกว่าจากส่วนกลางที่ต้องจ่ายหลายทอด

โดยไม่มีฝ่ายค้านแบบสภาระดับประเทศ  =="


นี่แหละคือการซูเอี๋ยชั้นยอด  เพราะขนาดสภาระดับประเทศ  พวกเขายังเข้าไปคานกันเอง  สาวไส้กันเอง
แต่ระบบท้องถิ่น  ไม่มีระบบฝ่ายค้าน  หรือจะบอกว่าก็มันมีหน่วยงานตรวจสอบอยู่แล้วอย่างนั้นหรือท่าน??
งั้นระดับประเทศตรวจสอบเข้มงวดและชี้นิ้วสั่งยากกว่า  แต่ระดับท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่ปลาเล็กกล้าหือกล้ารือ
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: pol

ออฟไลน์ sechan

  • แม่ทัพหมีชั้นสูง
  • ***
  • กระทู้: 3,016
  • ถูกใจแล้ว: 1780 ครั้ง
  • ความนิยม: +154/-261
ปัญหาปัจจุบันคือท้องถิ่นแดกกระจุยโดยผู้ตรวจสอบ/ม่ทำงาน เพราะส่วนมากผุ้รับเหมาพวกนี้เป็นผู้มีอิทธพล   ทำไมผู้รับเหมายิงกันตายปีละหลายๆครั้งก็พวกนี้แหละ ???   แก้ปัญหาให้ถูกจุดต้องเริ่มจากกำจัดคอรัปชั่นและสั่งการให้เป็นระบบและต่อเนื่องกัน  ต้องมีแผนพัฒนาเมืองขั้นต้นก่อนแล้วก็มีการตุยกันระหว่างโยธา ระหว่าง โครงการหลักของประเทศกับโครงการท้องถิ่น แล้วทำถนนขึ้นมาให้เหมากับการพัฒนา  แต่ข้าราชการหน้าใหญ่ไม่อยากให้ใครยุ่งกับการแดกหินปูนของตน การจับมือร่วมกันจะทำให้แผนแดกกินเรียบมีผู้รู้เห็นมากขึ้น




สรุป ระบบมันห่วยตั้งแต่รากหญ้ายันระดับบน  รอระดับบนสั่งลงมาให้ระดับล่างไม่กล้าหือดีกว่า  แก้พวกนี้ได้ต้องมีอำนาจพอระดับลากประยุทธลงจากตำแหน่งได้  เลิกฝัน  หวังให้ข้างบนทำงานอย่างจริงจังยังมีโอกาสเป็นจริงมากกว่า
 

ออฟไลน์ KAGUYA

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY2
  • จอมพลหมีผู้เกรียงไกร
  • ****
  • กระทู้: 20,765
  • ถูกใจแล้ว: 6798 ครั้ง
  • ความนิยม: +581/-548
สั้นๆ...กินกันเพลินมากกว่าเก่าครับ ผมอยากจะพูดถึงบุคคลหรือจังหวัดที่แดรกๆกันอยู่หรอกแต่ขี้เกียจขึ้นศาล  :o
นั่นๆสิ กินกันเพลินแน่ๆตามสไตล์ไทยๆ :(
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: pol

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,406
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
จะโกงได้น้อยลงครับ เพราะ คนตัดสินใจมันคือคนจากท้องถิ่น ที่เลือกกันเข้ามา ดีกว่าจากส่วนกลางที่ต้องจ่ายหลายทอด
ประเด็นคือไม่ทำไงครับขนาดเงินค่าเก็บขยะยังกินซ้ำกินซ้อนได้งบหลวงไม่พอมาเก็บกับชาวบ้านอีกต่อ แม้ระดับนายใหณ่ส่วนกลางจะกินกัหนักกว่าแต่ก็ยังทำยังสร้างครับ ไม่เหมือนท้องถิ่นที่ได้งบมาแล้วจมหายงานก็ไม่ได้ถึงจะบอกว่ากินน้อยกว่า มันแค่จำนวนเงินครับแต่ส่วนกลางถึงจะกินเป็นร้อยล้านพันล้านแต่ เงินยังลงมาถึงชาวบ้านอยู่เห็นชัดๆก็ตัดถนนซ่อมถนนคิดเป็น%อาจกินกันราว50-80%แต่ หน่วยงานท้องถิ่นแทบจะกิน100%เลยงบมาทุกปีใครเคยเห็นมันทำอะไรบ้าง เคยเห็นมันตัดถนนเดินสายไฟไหมไม่มีเลยต้องไห้ส่วนกลางสังถึงเริ่มติดต่อดำเนินการ แบบนี้มีไปทำใมครับการทำงานของท้องถิ่นปัจจุบันถ้าต้องการตัดถนนสักที่ จัดงบหรือรวบรวมงบมาทางใดทางหนึ่งเช่นงบประจำปีหรือเบิกจากส่วนกลาง จากนั้นติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกรมโยทาแล้วเอางบและแผนงานที่รวบรวบรวมมาสังงาน แต่ไม่มีหน่วยงานท้องถิ่นที่ไหนในประเทศทำเรื่องแบบนี้เป็นครับ ผลคืองบพัตนาฟรีจากรัฐก้อนนี้ละลายหายไปในรูปแบบต่างๆ เช่นเงินเดือนเจ้าหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นตึกทำงานรถประจำตำแหน่ง มันคือการสร้างหน่วยงานที่ทำงานไม่เป็นมากินภาษีปล่าวๆ ยุคแรกที่มีการกระจายอำนาจยังดีครับเพราะท้องถิ่นต้องรายงานผลงานแต่ หลังจากนั้นไม่มีแล้วผลงานคืออะไรมีแค่งานจุบจิบซ่อมสายไฟเปรี่ยนท่อน้ำซึ่งก็แม่งไม่ได้ทำเองอีกจ้าง เอกชนทำปัจจุบันงบสำหรวจความต้องการหายไปกับหน่วยงานท้องถิ่น งบที่ว่าคือถ้าเราต้องการน้ำปะปาแต่ต้นทางยังมาไม่ถึง เราสามารถยื่นเรื่องร้องขอได้เมื่อส่วนกลางมีงบเค้าก็จะเดินท่อมาไห้ งบที่ว่ามันทำได้ตังแต่ขอตัดถนนน้ำไฟแม้แต่ไฟกิ่งหรือกระจกกลมก็ได้ แต่ปัจจุบันงบที่ว่าไปอยู่กับท้องถิ่นขอได้เหมือนเดิมแต่ไม่มีทางจะมีงบทำไห้ อยากได้ก็ต้องจ่ายเองไม่งั้นก็รอส่วนกลางทำไห้โคตรไม่มีประโยชน์ไอ้หน่วยงานท้องถิ่นเนี่ย

ออฟไลน์ deaddy

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 7,886
  • ถูกใจแล้ว: 2931 ครั้ง
  • ความนิยม: +206/-1
การโกงง่ายๆครับ งบต่ำกว่า 5 แสนมั้ง เลือกผู้รับเหมาได้เลยไม่ต้องประมูล


ก็ล็อกให้ญาติรับงาน แล้วสั่งให้ลูกน้องต้องรับงานไม่งั้นโดนเล่นแน่


ถนน กม. ละล้าน ก็ทำแค่ปีละ 500 ม. เพื่อไม่ให้งบเกิน
ข้าวกล่องก็ให้เมียรับเหมา ทำแบบไม่ต้องกลัวโดนสอบ


ทำถนนก็ทำให้สเปกเอื้อประโยชน์
ทำต่ำกว่าสเปกงานก็ผ่าน ใครจะรู้ คนทำคนเซ็นต์ฝั่งเดียวกันหมด ;D


ถ้าเป็นส่วนกลางนี่เจอสำนักงบถามแน่ๆ
ทำไมทำทีละ 500 ม. ไม่ทำให้ยาวไปจนสุดสายเลย :o
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: pol

ออฟไลน์ Black7nos

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • แม่ทัพหมีอาวุโส
  • ****
  • กระทู้: 4,592
  • ถูกใจแล้ว: 3453 ครั้ง
  • ความนิยม: +214/-286
เรื่องการบริหารจัดการถนน ถือเป็นเรื่องโลกแตกเหมือนกันในหลายประเทศ โดยเฉพาะการแบ่งความรับผิดชอบ
แต่หลักๆ จะแบ่งถนนเป็น 3 ประเภท
1.Highway Road ถนนใหญ่วิ่งข้ามระหว่างเมือง (ในหลักวิชาของวิศวกรโยธา จะมองว่าแต่ละเมืองก็เหมือน Node ดังนั้น Highway คือ ถนนที่มีจุดประสงค์ที่ต้องการเชื่อม Node กับ อีก Node เข้าด้วยกัน)
ดังนั้นส่วนใหญ่ Highway มักจะถูกรับผิดชอบโดยกรมทางหลวงที่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง(Central Government) ไม่ได้ขึ้นกับท้องถิ่น
2.Local Road ถนนภายในเมือง หรือ ถนนภายใน Node อันนี้ถ้าเป็นต่างประเทศจะรับผิดชอบโดยหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดหรือรัฐๆนั้น
3.Toll Way ถนนที่ถูกให้สัมปทาน อันนี้รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงให้สัมปทานเอกชน จัดการโดยเอกชน


ส่วนเรื่องผังเมือง ความเละในอดีตบางทีมันก็แก้ยาก(จริงๆ มีวิธีแก้เพียงแต่เอาไว้อธิบายทีหลัง) ดังนั้นเอาปัจจุบันกับอนาคตไม่ให้เละจะดีกว่า
1. ออกกฎหมายห้ามให้เอกชนหรือนายทุนพัฒนาที่ดินออกแบบหมู่บ้านจัดสรรแบบมีซอยตัน แต่ให้ออกแบบเป็นบล็อคหรือ Grid แทน (ถ้าใครนึกไม่ออก ลองนึกถึงซอยแถวกรุงเทพ-นนท์หรือลาดพร้าวดู บางซอยนี่คือเขาวงกตดีๆเลย)
2. พื้นที่ Access สู่ถนนใหญ่ จะต้องไม่ไกลเกินไป และเส้นทางออกสู่ถนนใหญ่จะต้องสะดวก ไม่งั้นกรณีฉุกเฉินรถพยาบาล รถตำรวจ หรือ รถดับเพลิงเข้าไปไม่ถึงทันเวลา
3. เอาจริงเอาจังกับเรื่องพื้นที่ผังเมืองที่กำหนด เช่น โรงงานห้ามสร้างในเขตที่อยู่อาศัย(รวมถึงโรงงานขยะด้วยนะ โรงงานขยะอ่อนนุชนี่คือตัวอย่างที่ไม่ดี สร้างในเขตชุมชนได้ไง)
4. บังคับให้ทำ EIA (ห้ามมีข้อแม้) ต้องไม่มีการออกพรก.ข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น (อย่าคิดว่าไม่สำคัญ สำคัญมากๆ มีผลต่อการพัฒนาถนนและการบำรุงสาธารณูปโภคในอนาคต)
5. ออกกฎหมายกำหนดอายุอาคาร ในวิชาโยธานั้น ทุกอาคารทุกตึกไม่ได้ออกแบบให้อยู่ได้ตลอดกาลนานเทอญจนโลกล่มสลายนะครับ มันมีอายุของมันอยู่ ยกตัวอย่าง สะพาน ถ้าเป็นสะพานเหล็กก็มีอายุ 20 ปี ถ้าเป็นสะพานคอนกรีตก็มีอายุ 30 ปี เขื่อนมีอายุ 80-100 ปี ที่ต้องกำหนดก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และเมื่อหมดอายุจะได้เปิดประมูลเพื่อ Renovate ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น เมือง Detroit

จากชาแนล พูด "ทำไมกรุงเทพต้องมีซอย?"
ผู้กล้าอาณาจักรกุหลาบ https://goshujin.tk/index.php/topic,15078.0.html
ึคุณพ่อผมถูกเอาเงินจ้างฟาดหัว ผมเลยต้องมาเป็นนักมวยไทยที่ต่างแดน https://goshujin.tk/index.php?topic=32172.msg796105#msg796105
 

ออฟไลน์ Alice-chan

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,718
  • ถูกใจแล้ว: 330 ครั้ง
  • ความนิยม: +330/-1820
  • ยังไงก็ไม่ละกิเลสหรอก อยากกลับไปเป็นเด็ก
ในด้านกลับกัน ถ้าเอาทางเชื่อมหมู่บ้านที่เหลืออยู่ให้ทางหลวงชนบทดูแล จะดีไหมว่า
​(๑╹ᆺ╹)ぬんぬん
 

ออฟไลน์ Kopyor

  • พลทหารหมี
  • **
  • กระทู้: 154
  • ถูกใจแล้ว: 357 ครั้ง
  • ความนิยม: +21/-38
  • .
ในด้านกลับกัน ถ้าเอาทางเชื่อมหมู่บ้านที่เหลืออยู่ให้ทางหลวงชนบทดูแล จะดีไหมว่า

มันมีหน่วยงานที่ประสานตรงนี้อยู่  แต่ไม่ได้อัพเกรด  Zzz~
 

ออฟไลน์ nzangel

  • พลทหารหมี
  • **
  • กระทู้: 117
  • ถูกใจแล้ว: 47 ครั้ง
  • ความนิยม: +4/-6
[quote/]

โดยไม่มีฝ่ายค้านแบบสภาระดับประเทศ  =="


นี่แหละคือการซูเอี๋ยชั้นยอด  เพราะขนาดสภาระดับประเทศ  พวกเขายังเข้าไปคานกันเอง  สาวไส้กันเอง
แต่ระบบท้องถิ่น  ไม่มีระบบฝ่ายค้าน  หรือจะบอกว่าก็มันมีหน่วยงานตรวจสอบอยู่แล้วอย่างนั้นหรือท่าน??
งั้นระดับประเทศตรวจสอบเข้มงวดและชี้นิ้วสั่งยากกว่า  แต่ระดับท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่ปลาเล็กกล้าหือกล้ารือ
ถ้าท้องถิ่นข้างๆ เจริญแบบผิดหูผิดตา สิ่งที่จะตามมาคือการย้ายถิ่นครับ ไม่เกิน 10ปี ร้างครับ หลายพื้นที่ในไทยก็เริ่มเป็นแบบนี้ มาสักพักแล้ว พวกที่อยู่คือทนอยู่ แต่ไร้อนาคต
 

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,406
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
ในด้านกลับกัน ถ้าเอาทางเชื่อมหมู่บ้านที่เหลืออยู่ให้ทางหลวงชนบทดูแล จะดีไหมว่า
ไม่ดีครับของแบบนี้ไช้ภาพรวมพัตนาทังประเทศจะดีกว่าครับไห้ส่วนกลางจัดการว่าอันไหนสมควรสร้างก่อนจากภาพรวมดีกว่า แบ่งงบกระจายลงด้านล่างคุณไม่อยากเห็นถนน8เลนงบไปลงชนบทที่มีแต่ทุ่งนาหรอก มันต้องไห้ความสำคัณในส่วนที่สำคัญและต้องจัดการทังประเทศแบบเป็นระบบ ถ้าไห้ท้องถิ่นทำจะเกิดภาพถนนสร้างจากเชียงใหม่แต่ลำพูนยังสร้างไม่ได้แน่นอนทัวประเทศเลย แต่ละจังหวัดความพร้อมไม่เท่ากันยิ่งซอยย่อยเป็นแต่ละเขตแต่ละตำบลยิ่งแล้ว

ออฟไลน์ Black7nos

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • แม่ทัพหมีอาวุโส
  • ****
  • กระทู้: 4,592
  • ถูกใจแล้ว: 3453 ครั้ง
  • ความนิยม: +214/-286
[quote/]
ไม่ดีครับของแบบนี้ไช้ภาพรวมพัตนาทังประเทศจะดีกว่าครับไห้ส่วนกลางจัดการว่าอันไหนสมควรสร้างก่อนจากภาพรวมดีกว่า แบ่งงบกระจายลงด้านล่างคุณไม่อยากเห็นถนน8เลนงบไปลงชนบทที่มีแต่ทุ่งนาหรอก มันต้องไห้ความสำคัณในส่วนที่สำคัญและต้องจัดการทังประเทศแบบเป็นระบบ ถ้าไห้ท้องถิ่นทำจะเกิดภาพถนนสร้างจากเชียงใหม่แต่ลำพูนยังสร้างไม่ได้แน่นอนทัวประเทศเลย แต่ละจังหวัดความพร้อมไม่เท่ากันยิ่งซอยย่อยเป็นแต่ละเขตแต่ละตำบลยิ่งแล้ว


มันถึงต้องมีการจำแนก Type ของถนนตาม Function การใช้งานครับ เพราะ ความสำคัญของมันจะได้ถูกแยกออกว่าควรเอาไปกินงบกับอะไรระหว่างส่วนกลาง กับ ส่วนภูมิภาค


อย่างกรณีถนนเชื่อมระหว่างจังหวัด หรือ Node to Node ควรเป็นส่วนกลางทำน่ะถูกแล้ว เพราะเวลาทำจะได้อยู่สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ก็จะสอดคล้องกับการคมนาคมอื่นๆอีก
แต่กรณีถนนภายในจังหวัด หรือ Inside Node ควรเป็นชนบทหรือท้องถิ่นทำเองมากกว่าครับ เพราะ ท้องถิ่นเข้าใจตัวท้องถิ่นเองที่สุด เพียงแต่ส่วนกลางต้องส่งที่ปรึกษาไปกำกับและตรวจสอบอีกทีหนึ่งด้วย
ผู้กล้าอาณาจักรกุหลาบ https://goshujin.tk/index.php/topic,15078.0.html
ึคุณพ่อผมถูกเอาเงินจ้างฟาดหัว ผมเลยต้องมาเป็นนักมวยไทยที่ต่างแดน https://goshujin.tk/index.php?topic=32172.msg796105#msg796105
 

ออฟไลน์ deaddy

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 7,886
  • ถูกใจแล้ว: 2931 ครั้ง
  • ความนิยม: +206/-1
[quote/]


มันถึงต้องมีการจำแนก Type ของถนนตาม Function การใช้งานครับ เพราะ ความสำคัญของมันจะได้ถูกแยกออกว่าควรเอาไปกินงบกับอะไรระหว่างส่วนกลาง กับ ส่วนภูมิภาค


อย่างกรณีถนนเชื่อมระหว่างจังหวัด หรือ Node to Node ควรเป็นส่วนกลางทำน่ะถูกแล้ว เพราะเวลาทำจะได้อยู่สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ก็จะสอดคล้องกับการคมนาคมอื่นๆอีก
แต่กรณีถนนภายในจังหวัด หรือ Inside Node ควรเป็นชนบทหรือท้องถิ่นทำเองมากกว่าครับ เพราะ ท้องถิ่นเข้าใจตัวท้องถิ่นเองที่สุด เพียงแต่ส่วนกลางต้องส่งที่ปรึกษาไปกำกับและตรวจสอบอีกทีหนึ่งด้วย


ท้องถิ่นรับงานดูแลซ่อมแซมดีสุดแล้วครับ
เพราะง่ายไว รับใช้ประชาชน


ส่วนงานแผนทางเชื่อมต่อสายยาวต่างๆให้ส่วนกลางดีกว่า
คือถนนระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ให้ท้องถิ่นรับเรื่อง
ถ้าเป็นเกรดทางหลวงชนบท ก็ส่งเรื่องต่อ
แล้วถ้าพังจะหางบมาซ่อมเองก็ว่าไป
แต่ท้องถิ่นตัดถนนทำแต่ลูกรังก็พอ


เพราะถ้าไปตัดถนนที่รถวิ่งด้วยความไวสูง
แล้วออกแบบผิดหลัก ไม่ว่าจะโค้งหรือทางตรงมันก็เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนคอนกรีตดันไม่ขูดร่อง
ทางโค้งดันไม่มีความเอียง
หรือการเว้นระยะมองเห็นต่างๆ


คือแผนงานภาพเล็กใหญ่ก็ส่วนนึง
แต่หลักออกแบบเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน
อันนี้ไม่ควรให้ท้องถิ่นต้องมารับผิดชอบจริงๆ


ไม่งั้นเดี๋ยวโค้งผีสิงอาจจะมีทุกหมู่บ้านได้


จากความเห็นที่เคยเจอท้องถิ่นไปก่อสร้างงานคอนกรีตแล้วพังในเวลาไม่ถึง 5 ปีมาหลายโครงการละ :o


ส่วนใหญ่ก็ที่เกี่ยวกับน้ำทั้งนั้น ไม่ว่าจะถนน ฝายรึแนวกั้นทางน้ำต่างๆ
 

ออฟไลน์ pol

  • สาวกผู้สนับสนุนเซนนิคุง2Y
  • จอมทัพหมีชั้นสูง
  • ***
  • กระทู้: 17,233
  • ถูกใจแล้ว: 20001 ครั้ง
  • ความนิยม: +361/-2
  • เพศ: ชาย
  • นักอู้มือหนึ่ง
โค้งผีสิงในประเทศไทยก็เป็นโค้งที่ไม่มีความลาดเอียงครับ ถ้าเวลาเลี้ยวซ้ายถนนจะเอียงให้รับกับองศานั้นๆ แต่บางถนนผมเคยเจอมาแม่มเหมือนถนนในเกมแฟมิคอมสมัย 30 ปีก่อน เรียบเป๊ะเอียงสักนิดก็ไม่มีรถไม่แหกโค้งตายห่านก็แปลกละครับ บางถนนมีลูกระนาดทุกๆ 50 เมตร! เวรกรรมแท้ๆ
 

ออฟไลน์ Black7nos

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • แม่ทัพหมีอาวุโส
  • ****
  • กระทู้: 4,592
  • ถูกใจแล้ว: 3453 ครั้ง
  • ความนิยม: +214/-286
[quote/]


ท้องถิ่นรับงานดูแลซ่อมแซมดีสุดแล้วครับ
เพราะง่ายไว รับใช้ประชาชน


ส่วนงานแผนทางเชื่อมต่อสายยาวต่างๆให้ส่วนกลางดีกว่า
คือถนนระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ให้ท้องถิ่นรับเรื่อง
ถ้าเป็นเกรดทางหลวงชนบท ก็ส่งเรื่องต่อ
แล้วถ้าพังจะหางบมาซ่อมเองก็ว่าไป
แต่ท้องถิ่นตัดถนนทำแต่ลูกรังก็พอ


เพราะถ้าไปตัดถนนที่รถวิ่งด้วยความไวสูง
แล้วออกแบบผิดหลัก ไม่ว่าจะโค้งหรือทางตรงมันก็เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนคอนกรีตดันไม่ขูดร่อง
ทางโค้งดันไม่มีความเอียง
หรือการเว้นระยะมองเห็นต่างๆ


คือแผนงานภาพเล็กใหญ่ก็ส่วนนึง
แต่หลักออกแบบเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน
อันนี้ไม่ควรให้ท้องถิ่นต้องมารับผิดชอบจริงๆ


ไม่งั้นเดี๋ยวโค้งผีสิงอาจจะมีทุกหมู่บ้านได้


จากความเห็นที่เคยเจอท้องถิ่นไปก่อสร้างงานคอนกรีตแล้วพังในเวลาไม่ถึง 5 ปีมาหลายโครงการละ :o


ส่วนใหญ่ก็ที่เกี่ยวกับน้ำทั้งนั้น ไม่ว่าจะถนน ฝายรึแนวกั้นทางน้ำต่างๆ


เอาเป็นเรื่องๆละกันครับ


1.งานซ่อมแซมจริงๆ แล้วใครสร้าง คนนั้นควรจะเป็นคนซ่อมแซม สาเหตุ เพราะ คนสร้างมีแบบ Shop Drawing ครับ
ซึ่งแบบ Shop Drawing หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า As Built คือแบบที่ใช้ก่อสร้างจริง ดังนั้นมันจะเห็นโครงสร้างของคันทาง วัสดุที่ใช้ซ๋อมแซม รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับถนนครับ
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ควรให้หน่วยงานไหนที่สร้างควรเป็นหน่วยงานเดียวกับที่ซ่อมแซมครับ(มี Database อยู่แล้ว) ไม่งั้นถ้าเป็นคนละหน่วยงานกันมันจะวุ่นวายมากๆในการหาข้อมูลถนนที่ซ่อมแซมใหม่


ลักษณะงานก่อสร้างทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 Phase
- Pre-Construction Phase เช่น การทำราคา การทำแบบ Prelimary Design เขียนสัญญา และ Bidding
- Construction Phase เช่น ทำ Shop Drawing, ดำเนินการก่อสร้าง
- Maintenance เช่น ซ่อมแซมบำรุงรักษา


ซึ่งการทำโครงการรัฐใดๆ ต้องศึกษา Feastibility ก่อน ซึ่ง Feastibilty นี้จะไม่ได้รวมแค่ต้นทุนที่อยู่ใน Construction Phase อันได้แก่ต้นทุนการก่อสร้าง แต่จะต้องรวมไปถึงต้นทุนการบำรุงรักษาด้วยครับ(ผมไม่รู้ว่าหน่วยงานไทยตอนคิด Feastibility รวม Maintenance Phase ก่อนเสนอโครงการหรือเปล่านะ แต่ถ้าเป็นต่างประเทศจะต้องคิดช่วง Maintenance Phase มารวมด้วย)


แต่บางทีผมก็ทราบมาว่าบางโครงการของไทยนั้นราชการบางครั้งไม่คิดรวม Cost ช่วง Maintenance Cost Phase ไปด้วย ทำให้ต้นทุนต่ำลงเพื่อจะได้ของบง่ายขึ้น ซึ่งผมมองว่ามันไม่ถูกต้องนะ

2.ถนนดีไม่ดีส่วนใหญ่สำคัญตรงการอัดดินครับ ถนนต่อให้ทำดีแค่ไหน ใส่เหล็กเยอะ แต่ถ้าคันดินบดอัดไม่ดี ยังไงถนนก็พังครับ ตัวคอนกรีตหรือ Asphalt มันไม่ได้รับแรง ตัวที่รับแรงคือดินในคันดินหรือคันทางครับ

รูปนี้คือลักษณะการ Failure หรือลักษณะการพังของคันทางถนน จะเห็นได้ว่ามันพังจากแรงเฉือนในดินครับ



ส่วนอันนี้คือรูปการพังของคันทางถนนจริง จะเห็นว่าการพังของคันทางถนนจะพังเป็นส่วนโค้งของวงกลมดังรูปแรก(b)
ผู้กล้าอาณาจักรกุหลาบ https://goshujin.tk/index.php/topic,15078.0.html
ึคุณพ่อผมถูกเอาเงินจ้างฟาดหัว ผมเลยต้องมาเป็นนักมวยไทยที่ต่างแดน https://goshujin.tk/index.php?topic=32172.msg796105#msg796105
 

 

Tags:
แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก