การเกณฑ์แรงงานมันก็มีในทุกประเทศนะครับ จีนก็มี ยุโรปก็มี แต่ไม่รู้ว่าเกณฑ์กันหนักมากแค่ไหน? แต่ของไทยนี่ถือว่าหนักมากนะครับ 6 เดือน
อย่าว่าแต่พัฒนาตัวเองเลยแค่หาอาหารเข้าท้องก็เหนื่อยแล้ว
อังกฤษเองก็มีปัญหานี้เหมือนกันจนเกือบเกิด Civil War(ภายหลังจากนี้ก็เกิดสงคราม Civil War และกลายเป็นสงครามกุหลาบในเวลาต่อมา)
เรื่องของเรื่องก็คือหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 3 กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์หลังจากทำสัญญาสงบศึกกับกษัตริย์ซาลาฮุดดิน ขณะเดินทางกลับก็ได้เสียชีวิต
ทำให้พระอนุชา(น้องชาย)มีพระนามว่า พระเจ้าจอห์นขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
แต่เนื่องจากกษัตริย์พระองค์ที่แล้วใช้งบประมาณในการทำสงครามครูเสดที่ 3 รวมถึงกษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างพระเจ้าจอห์นเองก็ไม่ได้เตรียมตัวเป็นกษัตริย์
ผลก็คือเงินหมดท้องพระคลังจนประเทศจะล้มละลายเสียให้ได้ พระเจ้าจอห์นจึงได้สั่งให้เก็บภาษีเพิ่ม(เกิดตำนานโรบิ้นฮู้ด)
แต่กระนั้นพระเจ้าจอห์นเองก็ติดรักสบาย รักสนุก งานอดิเรกของกษัตริย์และขุนนางชนชั้นสูงก็คือการล่าสัตว์
ซึ่งเวลาไปล่าสัตว์ของชนชั้นสูงมันไม่ได้เข้าป่าเพียงลำพัง หากแต่ต้องมีขบวนคุ้มกันไหนจะอะไรต่อมิอะไรตามมาอีก
ขบวนล่าสัตว์ใหญ่หมายความว่าก็ต้องมีสัมภาระมากตาม ทำให้การเดินทางข้ามลำธาร ห้วย หนอง คลองบึงลำบาก
พระเจ้าจอห์นจึงรับสั่งให้ขุนนางท้องถิ่นเกณฑ์คนมาสร้างสะพาน ส่วนเงินค่าก่อสร้างน่ะหรอก ขุนนางต้องออกเองด้วย
แถมล่าสัตว์ครั้งเดียวแล้วก็ไม่มาแม่งอีกเลย สร้างสะพานที่ไม่มีคนข้ามมากมายเพียงเพื่อสนองความสุขส่วนตัว
ขุนนางอังกฤษจำนวนมากเกิดไม่พอใจการกระทำของพระเจ้าจอห์น แล้วไหนจะเรื่องเรียกร้องบรรณาการและให้เก็บภาษีมากกว่าเดิม
เมื่อถูกกดดันหนักขุนนางอังกฤษจึงรวมตัวกันยกกองกำลังล้อมปราสาทของพระเจ้าจอห์น
ในระบอบ Feudalism หรือศักดินาสวามิภักดิ์นั้น ขุนนางท้องถิ่นแต่ละคนจะมีกำลังทหารเป็นของตัวเองเพื่อปกป้องพื้นที่และไพร่ของตัวเอง
แต่เมื่อกษัตริย์ขอการสนับสนุน ขุนนางก็จะส่งกำลังทหารไปสนับสนุนราชสำนัก ดังนั้นถ้าขุนนางรวมตัวกันยังไงกษัตริย์ก็จะสู้ไม่ได้แน่นอน
ส่งผลให้กษัตริย์จอห์นไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเจรจากับกลุ่มขุนนางที่ไม่พอใจ ไม่งั้นก็โดนโค่นบัลลังก์เปลี่ยนกษัตริย์คนใหม่
โดยกลุ่มขุนนางได้เสนอกฎบัตร Magna Carta อันเป็นการบอกว่า
"จากเดิมที่กษัตริย์เสมือนได้รับโองการสวรรค์มีความชอบธรรมในการปกครองจะทำอะไรก็ได้ เปลี่ยนเป็นกษัตริย์จะต้องประพฤติตนอยู่ใต้กฎหมายและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดถึงจะมีความชอบธรรมในการปกครองในฐานะกษัตริย์"
แล้วภายหลัง Magna Carta ก็กลายเป็นต้นแบบของกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วโลกในเวลาต่อมา ด้วยหลักการว่าไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย แม้แต่ตัวกษัตริย์ พระ หรือชนชั้นสูงคนใดก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องหลักการของนิติศาสตร์ คือ จะตัดสินว่าบุคคลใดผิดไม่ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมารองรับ
และสำคัญที่สุด คือ เรื่องภาษี ที่เป็นประเด็นของความขัดแย้ง ซึ่งเมื่อก่อนกษัตริย์จะออกนโยบายเก็บภาษีเท่าใดก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคนอื่น
เปลี่ยนเป็นการเก็บภาษีจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาและการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ต้องผ่านการอนุมัติ
จะเห็นได้ว่าทุกประเทศนั้นในกรณีจะผ่านงบประมาณรายจ่ายหรือการออกกฎหมายเก็บภาษ๊จะต้องประชุมสภา และให้สภาเห็นชอบ
ไม่ใช่แค่ตัวปธน. นายกฯ หรือครม.เห็นชอบแล้วจะผ่าน งบประมาณรายจ่ายกับภาษีจะต้องผ่านการกลั่นกรองเห็นชอบจากสภาเสียก่อนเสมอ
ไม่ใช่อยากเก็บภาษีก็เก็บเท่าไหร่ก็ได้ตามใจ อยากใช้จ่ายก็ใช้เท่าไหร่ก็ได้ตามใจฉัน
ส่วนตัวบางคนบอกว่าประชาธิปไตยมีจุดเริ่มต้นมาจากกรีก ผมมองว่ายังไม่ใช่ซะทีเดียว ผมกลับมองว่า Magna Carta นี่แหละคือจุดเริ่มต้นก้าวสำคัญก้าวแรกของประชาธิปไตย และได้พัฒนาก้าวอื่นๆในเวลาต่อมา