[quote/]
ล้มเพราะประชาชนมันแค่ฉากหน้าครับ
ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านครับ
ลองสังเกตุได้เลยครับ ตีกันตาย ทำสงครามรัวๆทุกระยะ
พอเกิดปฏิวัติ เพื่อนบ้านที่คอยเป็นคู่สงครามดันใจดีดูเฉยๆ
ถ้ามันไม่มีวาระซ้อนเร้นแต่แรก ถ้าผมเป็นผู้นำประเทศข้างๆ ผมคงทำแบบลิโป้ ยกทัพมาดูแลความเรียบร้อยให้
ดูขนาดพม่าสิ ชัดๆเลยว่าเพื่อนบ้านช่วยฝ่ายต่อต้านเห็นๆ
ยูเครน ก็เพื่อนบ้านมาช่วย รบ.
ประวัติศาสตร์เหมือนกันครับ การแทรกแซงจากเพื่อนบ้านเป็นแค่ปลายเหตุครับ
เพื่อนบ้านหรือศัตรูจะแทรกแซงก็ต่อเมื่อเห็นว่าผู้ปกครองอ่อนแอและขาดการสนับสนุนจากประชาชนแล้ว
เรียกว่า "กระทืบซ้ำให้จมดิน" แต่ถ้าไม่เปิดช่องโหว่ ประชาชนยังคงรักในตัวผู้ปกครอง อย่างนี้แทรกแซงยากครับ เพราะทำไปก็ละลายแม่น้ำอยู่ดีครับ
เหมือนกับยูเครน เพราะประชาชนจำนวนมากยังคงรักและเชื่อมั่นในตัวผู้นำเซเลนสกี้ เอาจริงๆเซเลนสกี้เก่งหรือเปล่าก็ไม่รู้(ผู้นำประเทศอื่นอาจจะเก่งกว่ามาก)
แต่เมื่อได้ใจจากประชาชน เพราะจะอยู่ในประเทศไม่หนีไปไหน ประชาชนก็รู้สึกว่าผู้นำคนนี้ร่วมทุกข์ร่วมสุข พวกเขาก็รักผู้ปกครองเป็นการตอบแทน
ทำให้ผู้ปกครองก็มีความเข้มแข็งครับ ดูสิ เอาอย่างช่วงแรกของสงครามก็ได้ครับ ตอนที่เมกายังไม่ได้มาช่วยยูเครน
รัสเซียเหนือกว่ายูเครนเกือบทุกด้าน แต่ก็ไม่อาจยึดเมืองหลวงเคียฟของยูเครนได้เสียที จนสุดท้ายต้องล่าถอยไปเองไปตั้งหลักใหม่
หลักการเป็นผู้ปกครอง ไม่จำเป็นว่าตัวเองต้องเป็นคนเก่งเลิศภพจบแดน แต่ทำไงก็ได้ให้ประชาชนรักครับ
เมื่อประชาชนรัก สุดท้ายก็จะมีบุคลากรจากประชาชนที่เก่งๆนี่แหละ มาทำงานรับใช้เองครับ
เหมือนกับหลิวปัง หรือ ฮั่นเกาจู ไม่ได้มีความเก่ง เพียงแต่ลูกน้องรักและจงรักภักดี ประชาชนรัก สุดท้ายเล่าปังก็ชนะฌ้อป้าอ๋อง ก่อตั้งจักรวรรดิราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาได้
ขณะที่ฌ้อป้าอ๋อง แม้เก่งกาจ โครตเก่งระดับเทพสงคราม รอบรู้พิชัยสงคราม แต่แล้วไงครับ ตัวคนเดียวคิดว่าทำการใหญ่สำเร็จได้เหรอครับ?
สุดท้ายจุดจบของฌ้อป้าอ๋องก็ล้มเหลว แพ้พ่ายต่อหลิวปังที่มีที่ปรึกษามากมาย