ปกติแล้วถ้ามองในเกมส์ Total War ภาค Rome กับ ภาค Attila มันจะมีเสียงจากขุนนางสนับสนุนเรากับขุนนางอื่นที่ไม่ได้อยู่ในตระกูลเรา คือปกติเราต้องเล่นการเมืองเพื่อ Balance อำนาจทางการเมืองของเรากับขุนนางตระกูลอื่น และรวมถึงความจงรักภักดีของขุนนางตระกูลนั้นด้วย

อย่างภาค Attila จะมี 3 เกจข้างบน
- Dominion(เกจซ้าย) คือ ค่าอิทธิพล(Influence) ของตระกูลเรา เปรียบเทียบกับ อิทธิพลของตระกูลอื่น ตระกูลเราก็คืออยู่ในผังตระกูล ขณะที่ขุนนางตระกูลอื่นๆอยู่ข้างซ้าย ค่า Influence ทำให้เราออกทำ Political Action(การเล่นการเมือง เช่น เพิ่มความนิยมตัวเอง รับบุตรบุญธรรมจากขุนนางตระกูลอื่น discredit ขุนนางตระกูลอื่น ฯลฯ) และอิทธิพลได้มาจากการส่งคนนั้นไปทำงาน เช่น ทำสงครามชนะ หรือ ปกครองเมือง ฯลฯ ยิ่งมีชื่อเสียงยิ่งมีอิทธิพล
- Control(เกจขวา) คือ ค่าความนิยมของเราในสภา ยิ่งเรา Lobby มากๆ หรือทำภารกิจสำเร็จ ขุนนางอื่นๆก็จะเห็นชอบสนับสนุนตระกูลเรา
- Power(เกจกลาง) เกิดจาก 2 เกจซ้ายกับขวารวมกัน เป็นอำนาจของตระกูลเราในประเทศ
ถ้า Power ค่อนไปทางซ้าย(weak) เราจะเก็บภาษีได้น้อยลง และ ขุนนางจะไม่ภักดี แต่จะมี Public Order ที่ดีขึ้นเพราะเราไม่มีอำนาจกดดัน(รีดภาษีได้น้อย)
ถ้า Power ค่อนไปทางขวา(High) เราจะเก็บภาษีได้มากขึ้น ขุนนางจะไม่ภักดีเช่นกัน แต่ Public Order จะลดลงเพราะเรามีอำนาจกดดัน(รีดภาษีได้มาก)
ถ้าอยากให้ขุนนางภักดีต้องพยายาม Balance Power ให้อยู่ตรงกลางๆ
ความเป็นจริง
ตระกูลกษัตริย์ กับ ขุนนางก็จะต้องแข่งอำนาจกันอยู่แล้ว เพียงแต่กษัตริย์มีหน้าที่ ฺBalance อิทธิพลและอำนาจระหว่างตัวราชสำนักกับขุนนาง
ยกตัวอย่าง เคสที่สำคัญที่สุด คือ สมัย ร.5 ที่เจอปัญหาขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจและต้องการยกวังหน้าหรือลูกของพระปิ่นเกล้า คือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จนเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า
Ref
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2เราต้องเข้าใจก่อนว่าระบอบ Feudalism นั้นเดิมทีอำนาจในการควบคุมขุนนาง(Power)ของกษัตริย์นั้นอ่อนแอ เนื่องจากขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารภาษีเอง ออกกฎหมายท้องถิ่นเอง รวมถึงมีกำลังทหารเป็นของตนเอง ทำให้หนึ่งอาณาจักรมีหลายกองทัพ ส่งผลให้ระบอบ Feudalism นั้นเกิดสงครามกลางเมืองและการแย่งชิงบัลลังก์กันบ่อยมาก เพราะราชสำนักอ่อนแอและขุนนางท้องถิ่นมีกำลังทหารเป็นของตัวเอง ดั่งเช่นอยุธยาในสมัยโบราณ
ทีนี้พอมาถึง ร.5 ก็เลยเลิกทาสและปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบอบจาก Feudalism เดิมที่กษัตริย์นั้นมีอำนาจน้อย กลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monachy) หรือ จักรวรรดินิยม(Empirism) เพื่อให้อำนาจกษัตริย์มีมากขึ้น และเป็นการปลดกองกำลังทหารของขุนนาง ให้มีแค่กำลังทหารที่ขึ้นตรงกับราชสำนักเท่านั้น และทุกท้องที่ก็ถูกเก็บภาษีด้วยนโยบายเดียวจากส่วนกลางหรือจากราชสำนักไม่ใช่จากนโยบายขุนนางท้องถิ่นแบบสมัยก่อน เมื่อเทียบกันแล้วมันเป็นระบอบที่ลด Civil War ที่เกิดขึ้นระหว่างขุนนางกับกษัตริย์ลง เพียงแต่มันยังไม่ได้แก้ปัญหากรณีที่รัชทายาทแย่งราชสมบัติกัน
ที่นี้มาพูดกันเรื่องที่กษัตริย์หรือฮ่องเต้ต้องประหารขุนพล ก็อย่างที่บอกแหละครับ จริงๆ การลดอำนาจขุนนางมีได้หลายวิธี ดั่งเช่นที่ ร.5 กระทำก็คือการเลิกทาสเพื่อลดอำนาจขุนนางตระกูลบุนนาค
แต่กษัตริย์บางพระองค์ก็อาจจะใช้วิธีมักง่าย หรือ ไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้ ก็คือใส่ร้ายความผิดและก็หาเรื่องประหารเพื่อจะได้จบสิ้นเรื่องราว แต่การทำเช่นนี้ทำให้อำนาจการบริหารและการทหารภายในอ่อนแอลง เนื่องจากอาจสูญเสียบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความสามารถไป
แน่นอนว่าหลายวิธีที่ว่าที่ไม่ต้องประหารขุนพลหรือคนมีความสามารถ ยกตัวอย่าง
- กษัตริย์จะต้อง Lobby ขุนนางคนอื่นให้ย้ายมาอยู่ฝ่ายกษัตริย์เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับขุนนางเป้าหมายมากขึ้น
- กษัตริย์อาจจะส่งคนไป discredit
- กษัตริย์อาจจะออกกฎหมายเพื่อลดอำนาจขุนนาง
- กษัตริย์อาจจะเล่นบทคนกลางให้อำนาจขุนนางตระกูลคู่แข่งอีกคนมาคานอำนาจกับขุนนางตระกูลเป้าหมาย (เคสเดียวกับจูเลียส ซีซาร์เป็นคนกลาง ในตำแหน่งกงศุลเพื่อคานอำนาจของแครสซัส กับ ปอมเปย์ หรือ กรณีจอมพลป.สมัยสองที่คานอำนาจระหว่างสฤษฎ์กับเผ่า)
- กษัตริย์ต้องสร้างผลงานด้วยตัวเองเพื่อให้ขุนนางอื่นสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ เช่น ทำสงครามขยายดินแดน(ต้องทำสำเร็จนะ) บุกเบิกดินแดนใหม่ ออกกฎหมายให้แก่ขุนนางอื่นๆพึงพอใจ ฯลฯ
- เมืองหลวงจะต้องพัฒนาให้มีขนาดเศรษฐกิจไม่ด้อยไปกว่าขุนนางท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมาย ไม่ควรปล่อยให้ขุนนางท้องถิ่นรวยกว่าตัวกษัตริย์จนสามารถจ้างทหารได้มากกว่ากษัตริย์เอง
- หันมาใช้ผู้สำเร็จราชการแทนขุนนางท้องถิ่น(ปฏิรูปการปกครอง)