ช่วงนี้ผมเจอเล่นเควสต์ เจอบอกเรื่องราวของความหมายของชื่อของพ่อมดมาน่ะครับว่าชื่อส่งผลต่อชีวิต
โดยแฮร์รี่ มาจากสองคำผสมกันคือคำว่า "บ้าน"กับ"อำนาจ"
ว่าชื่อของพ่อมดจะกำหนดชะตาของเรา
แต่แฮร์รี่เลือก"บ้าน" มากกว่า"พลัง"นั่นเอง
เรียกว่าเป็นผู้ชนะในแบบของตนเอง หากว่ากันถึงที่สุดว่าหากเรามองว่าชัยชนะคือการที่ได้ในสิ่งที่เราต้องการและมีความสุขกับมัน
ดัมเบิ้ลดอร์ก็เคยเป็นคนทะเยอทะยาน แต่ความจริงก็มาเคาะประตูว่าเราต้องดูแลน้องสาวที่เสียสติ และสูญเสียครอบครัวไป

ทุกท่านมองว่าอย่างไรครับ เรื่องความทะเยอทะยานกับอำนาจในนิยายเหล่านี้?
หรือไลท์โนเวลที่พยายามจะออกแนวสโลไลฟ์ต่างๆ
ผมว่าแนวคิดคล้ายๆกันคือ เราหาความสุขใจให้ตนเองก็พอแล้ว
ปัญหาคือ ผมเจอวิเคราะห์อีกอย่างหนึ่ง
"การหาความสุขให้ตนเอง" ที่แท้จริงแล้วมันเป็นอะไรที่เป็นกระแสหลักอยู่เหมือนกัน
แต่ที่ผมเจอคนวิเคราะห์อีกยอ่างคือ
คนมองว่า ตัวร้ายน่าสนใจ เพราะทางเทคนิค พวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลงโลก
แต่พวกฝ่ายดีต้อกงารทำให้โลกยังคงเหมือนเดิมทุกประการ ไม่เปลี่ยนแปลงมันล่ะดีแล้ว
เพราะกลัวว่าเปลี่ยนแปลงแล้วจะแย่กว่าเดิม?
มองว่าอย่างไรกันบ้างครับในแง่นี้?
เจเคพยายามอ้างว่า แฮร์รี่กับพวกเปลี่ยนแปลงโลกเวทมนตร์ตอนที่มีอำนาจแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างอีท่าไหนกัน
แนวสตาวอส์คนก็วิจารณ์ว่า
ภาคหลังๆติดนิสัยว่าต้องการทำให้ฝ่ายพระเอกเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบอยู่เสมอ
แม้ทางเทคนิคฝ่ายนางเอก เป็นรัฐบาลมาหลายสิบปีแล้ว
เหมือนกันเรื่องแนวเกิดใหม่เป็นนางร้าย ตัวร้าย ที่คนเขียนไม่สามารถยอมรับการเป็นฝ่ายได้เปรียบของตัวร้ายได้ ต้องเขียนเหตุผลสารพัด ให้ไม่ได้เปรียบกว่าคนอื่นนั่นเอง
ว่านิยายแนวนี้หรือแม้แต่ไลท์โนเวล พยายามสื่อว่าความทะเยอทะยานคือเรื่องไม่ดี
นารุโตะที่เหมือนจะทะเยอทะเยานเป็นโฮคาเงะ คนเขียนก็ลงเอยด้วยการหน้าตาห่อเหี่ยวไม่มีความสุขกับการเป็นโฮคาเงะว่างั้น
อย่างกับจะล้อเลียนว่าความทะเยอทะยานมันก็แค่นี้
ทั้งที่เป็นธีมของเรื่องมาตลอด
อ.โอดะ มองอาการล่วงหน้าได้โดยการทำให้ลูฟี่มองว่าการผจญภัยสำคัญกว่าตัววันพีซเอง
ว่าให้เราทำอะไรสักอย่างน่ะ สำคัญกว่าเป้าหมาย
ผมว่าแนวคิดคล้ายๆกับแนวหัวหน้ากองกำลัง ตู้ฝูเว่ยในมังกรคู่สู้สิบทิศน่ะครับ
ที่บอกว่า
"ข้าร่วมชิงแผ่นดิน เพราะไม่ต้องการอยู่อย่างเงียบเหงาเท่านั้น"
พุดง่ายๆคือสำเร็จหรือล้มเหลวไม่สนใจ ขอเพียงได้ต่อสู้ก็พอใจแล้ว
มันอาจจะเป็นเรื่องจริงของความทะเยอทะยานว่าคนละอย่างกับแนวสโลไลฟ์
ว่าคนหนึ่งต้องการต่อสู้ คนหนึ่งต้องการอยุ่แบบเดิมไม่เสียความสุขไป
มองว่าอย่างไรกันบ้างครับในแง่นี้?
มีคนบอกว่าการมองคนมีความทะเยอทะยานนั้นที่จริงมีความรู้สึกยิ่งใหญ่กว่า
วันพีซ โฮคาเงะเลยเป็นเป้าหมายที่สะท้อนจิตใจของผู้คนจนเป็นที่นิยมมากกว่าสโลไลฟ์หากเรานับกันจริงๆ
หรือแม้แต่บลีช ตอนหลังๆก็พยายามเฉลยว่าตัวร้ายอย่างไอเซ็น หรือยูฮาบัค ก็พยายามเปลี่ยนแปลงโลกที่เป็นอยู่นั่นเอง
มันคือเรื่องของความทะเยอทะยาน ที่ทำให้คนอ่านชอบ แม้จะล้มเหลวก็ตามหรือเปล่าครับ?
บางครั้งผลลัพธ์มันก็ไม่สำคัญเท่ากับการต่อสู้
ที่ทำให้คนเราชอบตัวร้ายมาตลอด