การรบสมัยนั้นจริงๆมันเหมือนการเล่นกีฟาของพวกเจ้าครับไม่ได้รบกันเอาตายอะไรแบบที่อื่นๆ มีกฏหลายๆอย่างที่มาคิดดูแม่งบูชิตเอามากๆ ไหนจะไห้เจ้าเอาช้างมาชนกันไม่ไห้ใครมายุ่งทังๆที่แม่งพม่าคนเยอะ กว่าเป็นสิบๆเท่าเอามารุมแม่งก็ตายคาช้างแล้วพอชนช้างแพ้ชนะก็ถอยแม่งโคตรจะกีฟาเลย
ไม่ใช่การเล่นกีฬาครับ แต่มันคือการแสดงอำนาจเพื่อกดอีกฝ่ายให้เป็นรัฐบรรณาการครับ เนื่องจากสมัยก่อนคือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ พวกจักรพรรดิหรือ King ไม่ได้มีหน้าที่บริหารเอง เขาให้ขุนนางท้องถิ่นบริหารและก็ส่งภาษีขึ้นมาตามลำดับขึ้นไป
ยกตัวอย่าง
อาณาจักร A ต้องการรายได้เพิ่ม ก็จะต้องหารัฐหรือเมืองบรรณาการเพิ่ม ก็จะไปขู่เมือง B ที่เป็นรัฐบรรณาการของ C ให้เปลี่ยนมาสวามิภักดิ์ A แทน C
B จะมี 2 ทางเลือกครับ
1.ยังคงสวามิภักดิ์ C ต่อไป และขอกำลังเสริมจาก C มาช่วย
2.เปลี่ยนไปสวามิภักดิ์ A แทน แต่จะต้องถูก C บุกตี แต่ C ก็จะไปขอทหาร A มาช่วยแทน
นี่คือกลไกของระบบศักดินาสวามิภักดิ์
เอาจริงๆ การชนช้างยุทธหัตถีมันแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นครับ สาเหตุที่แม่ทัพหรือกษัตริย์ต้องนั่งบนหลังช้าง เพราะคุณสามารถเห็นภาพรวมของทั้งสมรภูมิได้จากมุมที่สูงครับ นี่คือสาเหตุที่แม่ทัพชนชาติเอเชียกลางและออกเฉียงใต้ใช้ช้างเป็นพาหนะของแม่ทัพครับเป็นข้อได้เปรียบ
วิธีใช้ช้างศึกแบบรบ ซึ่งเอเชียอาคเนย์ทำเหมือนกัน คือ
1.การใช้ช้างตกมันวิ่งแบบเป็นแถวหน้ากระดาน ทำการ Stampede กองทัพศัตรู นี่แหละคือวิธีการใช้ช้างศึกครับ
2.ใช้แทนทหารม้าครับ แต่ไม่ใช่การ Flank(โอบตีปีก) แต่เป็นการทำ Wedge Formation กระบวนทัพรูปลิ่ม ชาร์จไปตรงๆ เพื่อให้กองทัพข้าศึกขาดเป็นสองส่วนซ้ายขวา เมื่อเชื่อมต่อกันไม่ได้ ก็ช่วยเหลือกันระหว่างซ้ายขวาไม่ได้ครับ
3.แม่ทัพใช้เป็นหอรบมองจากที่สูงที่เคลื่อนที่ได้ เพราะถ้าเป็นชาติตะวันตกจะต้องสร้างหอรบทำจากไม้ให้แม่ทัพอยู่ที่สูงในกรณีไม่มีเนินเพื่อวิเคราะห์การรบได้ถูกต้อง
ปล.ขณะที่การใช้ช้างศึกของเปอร์เซียจะต่างกันออกไป คือ มีการติดตั้งหอรบบนตัวช้างอีกที แล้วก็ให้พลธนูไปอยู่บนหอรบบนหลังช้าง เนื่องจากช้างอินเดีย เปอร์เซียตัวใหญ่กว่าช้างไทยหรือช้างอาเซียน กลายเป็นหอรบที่ยิงธนูได้เปรียบจากที่สูงที่เคลื่อนที่ได้