คุยเรื่องแร่กันเหรอ?? งั้นเอาบ้าง
แร่เนี่ย เริ่มต้นจากแร่พวกจุดหลอมเหลวต่ำ การกำเนิดเกิดก็คล้ายๆพวกเครื่องปั้นดินเผา
เพราะกองไฟทำให้ดินบริเวณนั้นแข็ง มนุษย์ที่สังเกตุก็สนใจ เลยทำภาชนะต่างๆแล้วนำไป
ใกล้ไฟ เอาไปเผา ช่วงแรกๆก็มีแตกมีร้าว ก็ทดลองทำผิดทำถูกไป พวกแร่ที่อยู่ในกองไฟ
นานๆมันก็หลอม แล้วมันก็แข็งก็เลยทดลองหาสินแร่ต่างๆ ตอนแรกก็ได้สินแร่ห่วยๆและเป็น
แร่ที่จุดหลอมเหลวต่ำ อย่างทองเหลืองทองแดงบลาๆๆๆๆ เราก็เลยมีอาวุธโบราณที่ทำจาก
ทองเหลืองไง(ใช่ทองเหลืองมั๊ยนะ เบลอๆ)
ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ยุคสงคราม การสงครามทำให้วิทยาการก้าวไกล เผ่าที่ค้นพบแร่เหล็กซึ่ง
จุดหลอมมันสูงแต่มันทำให้อาวุธคมและคงทน ก็ชนะสงครามไป ฝ่ายแพ้ก็เร่งเรียนรู้การ
ถลุงเหล็กไป ไม่รู้ว่าฝั่งจีนหรือยุโรปใครค้นพบถลุงแร่เหล็กก่อนกัน แต่จำได้ว่ายุคจิ๋นซียังคง
ใช้อาวุธทำจากทองแดงห่วยๆ น่าจะทางยุโรปก่อนมั้ง??
หลักการเดียวกับการคล้ายๆการกำเนิดค้นพบว่าหินมันหลอมจนเป็นแก้ว
ส่วนสัตว์เลี้ยง น่าจะหมามาก่อนแมว และม้ามาก่อนแมว เพราะถึงแม้มนุษย์จะกินหมา
แต่ก็เลี้ยงหมา คัดสายพันธุ์หมามาตั้งกะดึกดำบรรพ์เพื่อให้ร่วมมือกันล่าสัตว์ แมวพึ่ง
นิยมหลังสุดในช่วงอียิปโรมัน ม้ามาก่อนแมวเพราะเอาไว้ขนของ แล้วม้ากับวัวควายหรือ
แกะแพะอะไรมาก่อนกันหว่า?? แต่ยังไงๆหมาก็มาก่อนทุกสัตว์
หมามาเป็นเพื่อนมนุษย์ก็เมื่อตอนที่สมัยก่อน มนุษย์กินเหยื่อที่ล่ามาได้แล้วกินทิ้งกินขว้าง
หมามันเลยแอบมากินเศษอาหาร ไล่ไปเดี๋ยวก็มาใหม่ แบบในหนังในนิยาย ที่เวลากลางคืน
หมาป่ามันแอบมาหาของกินแถวกองไฟพวกพระเอกหรือหมู่บ้าน แอบมากินบ่อยๆ กินไปกินมา
อ้าวเดินตามมนุษย์ต้อยๆ ตัวไหนดุก็ฆ่าทิ้งแล้วเอามากิน ตัวไหนไม่ดุเชื่องๆก็ขยายพันธุ์ไป
เมื่อกี้ผมลองไป Search คำว่า หมา ในหลายภาษา ทั้งสันสกฤต กรีก และละติน
สันสกฤต
कुक्कुरः อ่านว่า Kukkuraḥ
กรีก
κύων อ่านว่า kýo̱n
ละติน
canis อ่านว่า canis
รากศัพท์จาก Proto-Indo-European
kwon
จะเห็นได้ว่าค่อนข้างมีจุดคล้ายกันตรงเสียงพยัญชนะของคำแรก ด้วยเสียง ค.
แต่ของไทย คำว่า หมา ไม่ใช่คำจากสันสกฤต คำนี้ไม่ใช่คำยืม แต่อาจจะเป็นคำท้องถิ่นเดิมที่ไม่ได้รับวัฒนธรรม PIE
ซึ่งคำว่า หมา นั้น ยังมีเผ่าหนึ่งที่ออกเสียงและความหมายคล้ายไทย คือ ชาวจ้วงที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เขตการปกครองกวาง ซี
การออกเสียงและความหมายของคำของชาวจ้วงคล้ายกับภาษาไทยมาก แต่ต้องเป็นคำง่ายๆและคำดั้งเดิมที่ไม่ได้เกิดจากการยืมคำ ลองดูคลิปนี้ดู
คำว่า กิน เหล้า หมู ไก่ ขาย ซื้อ ไป เรา บ่ เงิน ตัว หับ ดอง ต่อ ก.ู ม.ึง เหมือนกันมาก
แต่คำใหม่ที่ไม่ใช่ภาษาของชาวจ้วงดั้งเดิมไม่มีภาษาสันสกฤต แต่ไปทางจีนเสียมากกว่า ขณะที่ภาษาไทยนั้นมีส่วนผสมของภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรเป็นส่วนใหญ่
เสียงตรงกันเกือบหมด แถมการเรียงไวยากรณ์ยังเรียงเหมือนไทยมาก
อีกอันหนึ่งคือ คำว่า ม้า ของไทย ไม่ตรงกับภาษาสันสกฤต ละตินและกรีก นั้นมันไปตรงกับคำว่า 马 อ่านว่า หม่า ของจีนมากกว่า
และม้าก็ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นของประเทศไทย จึงคิดว่าคนไทยโบราณไม่น่าจะรู้จักม้าจนกระทั่งชาวฮั่นของจีนอพยพหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนถึงได้รู้จักคำว่า ม้า
ดังนั้นผมตั้งสมมุติฐานว่า ชนชาติหรือชาติพันธุ์ไทยน่าจะเป็นการผสมของ 3 เผ่า
1.ชาวจ้วงคือรากของภาษาไทยเดิม(มากที่สุด)
2.ชาวเบงกอลคือภาษาสันสกฤต(รองลงมา)
3.ชาวฮั่นคือภาษาจีน(น้อย)
และเมื่อเรารู้ว่าคนไทยกับชาวจ้วงคือชนชาติพันธุ์เดียวกันแต่ดั้งเดิม มันก็มีคำถามต่อมาว่า
1.คนไทยกับคนลาวแยกตัวออกจากชาวจ้วงอพยพลงมาใต้อยู่ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2.หรือชาวจ้วงเป็นฝ่ายที่แยกตัวออกจากคนไทยและลาวอพยพขึ้นเหนือไปอยู่กวางซี
ตอนนี้ผมคิดว่ามี 2 ทฤษฎีนี้ที่น่าสนใจมาก กำลังคิดอยู่ว่าแบบไหนเป็นไปได้มากกว่ากัน