[quote/]
ไม่ใช้แล้วละครับ direct democracy ตามชื่อเลยครับ คือเลือกตั้งโหวตตรง ตั้งกฎหมายโหวตตรงโดยประชาชน ตั้งแม่ทัพ โหวตตรง ตัดสินคดีโหวตตรงๆ แบบเอเธนครับ ส่วนเจ้าของกิจการก ก็คือปัจเจกชน
โรจาว่า ใช้ระบบที่คล้ายคอมมิวนิสต์มากและเป็นต้นแบบของคอมมิวนิสต์ ซึ่งคิดค้นโดยยิว ชื่อว่า กี๊บบุช คล้ายกับคอมมิวนิสต์แต่เป็นยูนิตเล็กลง แต่ละคนในกลุ่มต้อง แชร์ผลผลิต การลงทุน และกำไรเท่าๆกัน
โรจาว่าพิสูจน์แล้วว่าแข็งแกร่งรบชนะ ก็ไม่ต่างอะไรกับอมมิวนิสต์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยครับ โซเวียตก็รบชนะ จีนคอมมิวนิสต์ก็ชนะหลังสงครามเย็นก็มีประเทศคอมมิวนิสต์มากขึ้นเรื่อยๆชนะอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นมันเรื่องของสงครามเรื่องเศรษฐกิจมันคนละเรื่องกันครับ
ส่วนสวิสเป็นประชาธิปไตยกึ่งตรงคล้ายเอเธนสิครับแต่ไม่มีคอมมูนเหมือนโรจาว่า ระบบที่จะทำลายเศรษฐกิจโรจาว่าคือคอมมูนครับ ส่วนประชาธิปไตยทางตรงจะใช้ได้ดีกับประเทศเล็กๆแบบเอเธนส์
@nostaโรจาว่า ไม่มีระบบขุนศึก หรือ ผู้นำอะไรนะครับ และมันก็ไม่เหมือนแบบกรีกด้วย
ระบบกรีกคือระบบนครรัฐ วุฒิสมาชิกของสภาจะเป็นเจ้าครองเมือง คนรวยนายทุน มาหารือกัน
หรือที่จะเรียกอีกอย่างว่า "ระบบสภาศักดินา" กรีกเป็นผู้เริ่มแนวคิดประชาธิปไตย แต่พวกเขาก็ยังไม่ใช่ประชาธิปไตยนะครับ เป็นแค่ศักดินาที่มีสภา
ประชาธิปไตย ในความหมายของไทย คือ อำนาจเป็นของประชาชน แต่ต่างประเทศเขาไม่ได้ให้ความหมายประชาธิปไตยแค่กรอบเท่านี้
แต่ประชาธิปไตยในความหมายที่แท้จริง และคือ Direct Democracy "เรามีชีวิตที่เราสามารถกำหนดชีวิตของเราเองได้โดยไม่ต้องให้ใครมากำหนด นอกจากตัวเราเอง"
ซึ่งตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ ทุนนิยมเสรี ศักดินา และสังคมนิยม ที่รัฐจะเป็นคนกำหนดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย สวัสดิการ ภาษี ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ทุกระบอบที่กล่าวมา เป็นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top-Down) แต่ Direct Democracy จะกระจายและย่อยอำนาจให้เป็นหน่วยเล็กที่สุด ที่เรียกกันว่า "ชุมชน"
เพื่อให้เกิดการบริหารแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up) ไม่มีนักการเมือง ผู้นำ ผู้มีอำนาจเสนอนโยบายบนลงล่าง มีเพียงแค่หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดคือ"ชุมชน"เสนอนโยบายจากล่างขึ้นบนเท่านั้น
ยกตัวอย่าง
ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยม
1.ประชาชนเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ผู้แทนที่ชนะเลือกตั้งหยิบยืมอำนาจจากประชาชนไปบริหารหรือออกกฎหมายชั่วคราว
2.ฝ่ายบริหารเสนอนโยบายและงบประมาณที่ต้องใช้แก่นโยบาย
3.สภานิติบัญญัติถกเถียงและโหวตผ่านงบประมาณ และร่างกฎหมาย
4.เมื่อโหวตผ่านแล้ว ฝ่ายบริหารดำเนินนโยบายได้แค่ตามที่กฎหมายกำหนด
5.สภานิติบัญญัติเป็นผู้เฝ้าตรวจสอบการทำงานฝ่ายบริหาร
6.ตลาดเสรี แต่
มีระบบสัมปทานผูกขาดบางธุรกิจและบางธุรกิจเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค เช่น รถไฟ โรงไฟฟ้า ทางด่วน7.เอกชนถือครองทรัพย์สินที่ดิน และมรดกเท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีภาษีที่ดินหรือมรดกคอมมิวนิสต์ แบบอุดมคติของคาร์ล มาร์ก ไม่ใช่แบบเหมา หรือ สตาลิน (ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่มันคือ ระบอบที่ให้ความสำคัญกับ Concept รัฐชาติ แบบสุดทาง)
1.ประชาชนทุกคนคือสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และสมาชิกทุกคนของพรรคเลือกผู้นำ และให้ผู้นำหยิบยืมอำนาจชั่วคราว
2.ผู้นำและฝ่ายบริหาร เป็นผู้ออกนโยบาย ดำเนินนโยบาย และผ่านร่างกฎหมาย ในคนเดียวกัน
3.
ทุกธุรกิจส่วนหนึ่ง อยู่ในความดูแลของรัฐ รัฐมีความเป็นเจ้าของในการถือหุ้นร่วมกับเอกชนทุกธุรกิจ เช่น เปิดโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยวโง่ๆ เอกชนจะไม่ได้ถือหุ้น 100% แต่รัฐจะมีส่วนร่วมในการถือหุ้น อาจจะ 10% หรือ 20% แล้วแต่ข้อตกลง
4.
ธุรกิจประเภทสถาบันการเงิน และสาธารณูปโภค รัฐมีความเป็นเจ้าของ 100% เพื่อป้องกันการผูกขาดปัจจัยการดำรงชีวิต เช่น การศึกษา ไฟฟ้า น้ำ การสื่อสาร ถนน รถไฟ รถไฟฟ้า เป็นต้น
ไม่มีการให้สัมปทานใดๆแก่เอกชน5.รัฐเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้ประชาชนย้ายถิ่นฐานได้ เพื่อทำให้ประชากรแต่ละพื้นที่มีการกระจายตัวอย่างเท่ากัน เพื่อให้แต่ละเมืองมีกำลังผลิตไล่เลี่ยกัน ไม่มีเมืองใหญ่เอาเปรียบเมืองเล็ก
6.
จัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้าหรือขั้นบันไดเท่านั้น7.
ไม่มีประชาชนคนไหนเป็นเจ้าของที่ดินอย่างถาวร รัฐเป็นผู้ให้ประชาชนเช่าที่ดิน เช่น 99 ปี เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนที่ดินและการกักตุนที่ดินของนายทุน และ
มีภาษีที่ดิน8.
จัดเก็บภาษีมรดกแพงมากครับ เพื่อไม่ให้รุ่นลูกกินบุญเก่าจากพ่อแม่อย่างเดียวโดยที่ไม่ต้องทำงานแบบชนชั้นอภิสิทธิชนหรือศักดินาระบบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม (สแกนดิเนเวีย) หรือ Semi Democracy and Semi Communist
1.คล้ายกับประชาธิปไตยทุนนิยมทุกประการเพียงแต่ไม่มีระบบสัมปทานผูกขาด
2.ใช้อัตราภาษีก้าวหน้าหรือขั้นบันได คนจนเก็บถูก คนรวยเก็บแพง คำนึงการใช้ทรัพยากร ใครใช้มากจ่ายมาก ใครใช้น้อยจ่ายน้อย
3.
รัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบ4.
ภาษีมรดกแพง5.เอกชนเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่มีภาษีที่ดินแพง6.ใช้ระบบ Co-Determination กิจการใดๆที่มีบอร์ดบริหารจะต้องมีลูกจ้างเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดบริหารด้วยระบบศักดินาเป็นอย่างไรรู้กันอยู่ ผมขอข้ามนะ
จากตรงนี้จะเห็นว่าอำนาจจะบริหารจากบนลงล่าง(Top-Down) หมดเลย
แต่ Direct Democracy หรือ ประชาธิปไตยทางตรง (โรจาว่า) จะเป็นการบริหารแบบล่างขึ้นบน(Bottom Up)
1.หน่วยย่อยที่สุดของอำนาจ คือ ชุมชน ไม่มี Concept รัฐชาติ ไม่มีนักการเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ไม่มีผู้นำชุมชน คนในชุมชนคือผู้เล่นการเมืองเอง 2.ไม่มีการจัดเก็บภาษี มีแต่การลงขัน เป็นทีละครั้งๆทีละนโยบาย หรือเก็บได้แค่ค่าบำรุง และไม่มีรัฐสวัสดิการ3.การดำเนินนโยบายดำเนินผลโหวตของชุมชนเท่าน้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายข้อตกลงของสังคมร่วมกัน หรือ การก่อสร้างสาธารณูปโภค
แต่นโยบายหรือสาธารณูปโภคนั้นจะมีขอบเขตใช้ได้เฉพาะชุมชนนั้นเท่านั้น และทุกคนในชุมชนมีเป็นผู้ถือหุ้นสาธารณูปโภคนั้น4.กรณีชุมชนไม่สามารถสร้างสาธารณูปโภคเองได้ ชุมชน A จะไปคุยกับชุมชน B เพื่อระดมทุนสร้างสาธารณูปโภคที่ใหญ่ขึ้น และเมื่อทั้งคนในชุมชน A และชุมชน B สามารถดำเนินนโยบายหรือสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปโภคนั้นจะใช้ได้แค่ชุมชน A กับ ชุนชน B เท่านั้น แต่กรณีที่สร้างสาธารณูปโภคที่ใหญ่มากๆ เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า การรวมกันของชุมชนหลายชุมชนมากขึ้นเพื่อระดมทุนสร้าง อาจจะเป็น A,B,C...Z เลยก็ได้
5.เน้นนโยบายแบบธุรกิจประเภท Co-op และ Co-op ก็ไม่ใช่สหกรณ์ ไม่มีลูกจ้าง เพราะคนทำงานที่นี่เป็นทั้งพนักงานและเจ้าของในเวลาเดียวกัน ไม่มีรายจ่ายเงินเดือน มีแต่เงินปันผลรายเดือน
6.ตลาดเสรีขั้นสุด ไม่มีสัมปทานใดๆ ทุกธุรกิจ รวมไปถึงสาธารณูปโภคเอกชนเป็นเจ้าของได้หมด