1.เรื่องทางแยก intersection ระหว่างรางรถไฟกับถนน
ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังเปลี่ยนจุดตัด Intersection ให้เป็นแบบถนนอุโมงรอดใต้ทางรถไฟ หรือ เป็น สะพาน Fly over ข้ามทางรถไฟในหลายจุดโดยเฉพาะต่างจังหวัด
ซึ่งจะช่วยลดปัญหารถติดและมันจะ Flow มากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องผลัดกันระหว่างรถยนต์กับรถไฟข้ามแยก ซึ่งการรถไฟ เขากำลังดำเนินการอยู่หลายแยก คาดว่าต้องใช้เวลาอีกซักหลายปีน่ะครับ แต่ทางแยกระหว่างถนนกับรถไฟใหม่ๆ โดยเฉพาะรางคู่จะไม่มีถนนตัดผ่านแยกทางรถไฟอีกแล้วครับ
2.ไฟจราจรไม่ชัด อันนี้ผมมองว่ามี 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือSpec ของจัดซื้อจัดจ้างที่อนุญาตใช้ไฟจราจรอื่นที่ไม่ได้มาจาก LED จริงๆ รัฐสามารถกำหนด Spec ให้ใช้ LED ได้ ประเด็นที่สองคือการซ่อมบำรุงหรือ Maintenance อันนี้ควรกำหนดระเบียบ Cycle of Maintenance ลงในระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อกรณีหลอดไฟเสียเป็นบางจุดหรือไม่สมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยให้จัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนได้ทันทีหลังจากทำการสืบราคา
3.ป้ายจราจร อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าคุณ
@Alice-chan ต้องการสื่อส่วนไหนของป้ายจราจรระหว่างเส้นลูกศรที่บอกทางไม่ชัดเจนคลุมเครือ หรือ ปัญหายอดฮิตของป้ายจราจรคือไม่สะท้อนแสงเวลากลางคืนทำให้อ่านไม่เห็น หลักๆมันจะมี 2 ประเด็นนี่แหละ ซึ่งย่อมเกิดจาก Spec การจัดซื้อจัดจ้างอีกนั่นแหละ
4.เสาไฟฟ้า อันนี้ถ้าเป็นเสาไฟฟ้าแรงสูงมันก็ต้องทำใจนิดนึงเพราะไม่ว่าประเทศไหนที่มีกฎหมายผังเมืองแบ่งชัดเจนระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ มันจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้ไกลพื้นที่คนอยู่อาศัยและใช้เสาไฟฟ้าแรงสูงส่งไฟฟ้าเข้าพื้นที่อยุ่อาศัยเอา
ส่วนเสาไฟฟ้าตามบ้าน ที่ระเกะระกะตอนนี้ กฟน.กำลังเอาสายไฟลงดินอยู่ครับ ถ้าคุณอลิซอยากดู โครงการเอาสายไฟฟ้าลงอุโมงค์ใต้ดินอยู่ที่แถวๆชิดลมครับ ผมเองยังเคยลงไปในปล่องอุโมง เดินเข้าไปในอุโมงค์ชิดลมก็เดินมาแล้ว (แต่เดินเข้าไปลึกๆ ยิ่งใกล้รถหัวขุดเท่าไหร่ อากาศยิ่งน้อยครับ หายใจเกือบไม่ออก หน้าเกือบมืด)
อุโมงค์นี้ผมเคยเดินเข้าไปดูข้างในเลย 555 โครตร้อนและก็โครตหายใจยาก 555 มันมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าอุโมงค์รถไฟฟ้า MRT
[/size]
[size=78%]
อีกไม่กี่ปีคุณ
@Alice-chan ก็จะเห็นสายไฟฟ้าเกะกะสายตาน้อยลง อ๋อ อีกอยากสายไฟที่เอาลงดินนี้ มีสายโทรศัพท์ด้วย แล้วไม่ต้องห่วงเรื่องหนูที่จะแอบเข้ามาในอุโมงค์แล้วกัดสายไฟนะครับ มันมีระบบป้องกันอยู่ สบายใจได้
5.ฟุตบาทของญี่่ปุ่นกับของไทย ผมเองก็เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นมา จุดแตกต่างที่สุดระหว่างฟุตบาทไทยกับฟุตบาทญี่ปุ่น คือ
- ฟุตบาทญี่ปุ่นใช้ Asphault หรือ ยางมะตอยแบบที่คล้ายทำถนนมาทำฟุตบาทครับ(แต่เป็น Ver.รับกำลังได้น้อยกว่าครับ แหงละไม่ต้องรับ Dynamic Load จากรถยนต์ มีแค่ Dynamic Load จากคนเดินเท้า) ขณะที่ฟุตบาทไทยใช้สิ่งที่เรียกว่า Concrete Block
อันที่จริง Concrete Block มันก็ไม่ได้แย่หรอกครับ ถ้าทำดีๆมันก็ดี เพียงแต่มันมีจุดตายสำคัญในการทำให้ดีนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัว Concrete Block หากแต่อยู่ที่การอัดชั้นดินที่จะปู Concrete Block และการทำป้องกันการรั่วไหลของดินออกจากฟุตบาทเมื่อยามฝนตก
ดังนั้นทางออกของมันคือการตรวจรับงานที่เข้มงวดครับ ถ้าให้ดีและไม่มีการฮั้วอาจจะต้องจ้างบริษัท Consultant และ Inspector จากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากำกับดูแลบริหารงานก่อสร้าง และเขียนสัญญาให้อำนาจ Consultant เยอะๆ
ผมไม่รู้ว่าคำตอบของผมจะถูกต้องตรงใจคุณ
@Alice-chan หรือไม่ แต่ผมพยายามตอบในฐานะวิศวกรที่ทำงานมาทั้งไทยและต่างประเทศ[/size]