ส่วน ประชาธิปไตยแบบที่ไทยๆเราประท้วงกันอยู่นั่น
ประท้วง want เยอะ = ประชาธิปไตย ฝ่ายรัฐบาล = เผด็จการ จบคำบรรยาย
อำนาจไหนอยู่ตรงข้ามคนประท้วง = เผด็จการหมด ไม่มีตำแหน่งที่สามมาถ่วง
ผมถึงบอกว่า ประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตอนนี้คือ แบบในคิโนะมังกะเลย
ลองให้รัฐบาลลง แล้วเปลี่ยนรัฐบาลดูคุณจะรู้เอง
บอกเลยว่าหลังจากนี้จะบันเทิงแบบในมังกะเด๊ะๆ เพราะเขาจะไม่รับฟังเสียงจากอีกฝ่ายกันอีกแล้ว
เผลอๆอาจจะกลายเป็นรัฐบาลแบบพรรคเดียวก็ได้ใครจะรู้
บอกเลยว่าผมก็รอ ให้ฝ่ายประท้วงขึ้นป็นรัฐบาลอยู่เนี่ย ว่าไอ้ที่เรียกร้องกัน 108 อย่าง จะทำได้จริงหมดกันทุกข้อรึเปล่า
จะเอาทักษิณ กลับมาเป็นนายก หรือเอา ทนาทร ขึ้นเป็นนายก ก็ทำไปเลยซักที
อันนี้คุณเองก็กำลังเข้าใจผิดครับ
ตอนนี้คงไม่ต้องปิดบังไม่กล้าพูดกันอีกแล้วมั้ง
หลักๆที่เด็กประท้วงตอนนี้ ก็เพราะเด็กมองว่า "มันมีอำนาจบางอย่างแทรกแซง 3 อำนาจเสาหลักแห่งประชาธิปไตย ทำให้ประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย" ผมคงไม่ต้องบอกก็คงรู้กันนะ
อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารงบประมาณที่ได้มาจากภาษี แน่นอนว่าอำนาจนี้ผู้ถือครองอำนาจ คือ ต้องเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวเท่านั้น รัฐบาลถึงจะมีเอกภาพในการบริหาร
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการผ่านร่างกฎหมาย ซึ่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการยุติข้อพิพาทต่างๆและให้ความเป็นธรรมแต่ละฝ่าย ก็คือ ศาล
และถ้าไปดูต้นกำเนิดอำนาจปฐมภูมิของ 3 อำนาจ โดยอิงหลักการจากแม่แบบประชาธิปไตยต่างประเทศ 3 อำนาจนี้ล้วนมาจากประชาชนหมดเลยนะครับ เพราะ ประชาชนคือผู้ถืออำนาจปฐมภูมิ
3 อำนาจที่เหลือ คือ อำนาจทุติยภูมิ
ยกตัวอย่างปัญหาประเด็นที่ร้อนแรงที่สุด คือ การแต่งตั้ง/โยกย้าย/ถอดถอนราชการ
การที่คุณจะถอดถอนข้าราชการซักคน มันจะต้องเกิดจากอย่างหนึ่งอย่างใดของ 3 อำนาจนี้ เช่น สมมุติว่าข้าราชการ A ถูกแจ้งกล่าวหาว่าทุจริต จู่ๆ ข้าราชการ A จะถูกโยกย้าย/ปลดเลยไม่ได้นะครับ มันจะต้องถูกตรวจสอบจาก คณะกรรมาธิการซึ่งเป็น Subset ของสภาผู้แทนราษฎร หรือ ผ่านอำนาจคณะรัฐมนตรี หรือ ถูกศาลปกครองพิพากษาเท่านั้นนะครับ ถึงจะจัดการกับข้าราชการเหล่านี้ได้
เช่นเดียวกับ การแต่งตั้งก็ต้องมาจาก 1 ใน 3 อำนาจนี้เช่นกัน
แต่จู่ๆ ก็มีอำนาจอะไรบางอย่างมาแทรกแซงการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ ที่ไม่ได้มาจาก 3 อำนาจเสาหลัก ซึ่งอันที่จริงตามหลักการแล้วมันต้องทำไม่ได้ แต่มันเสือกทำได้ไงในประเทศนี้
นี่ไม่ใช่แค่เคสนี้เคสเดียวที่ผ่านมานะครับ มันมีเคสที่เมื่อปีที่ผ่านมาคนขับรถบรรทุกของขับรถเฉี่ยวประตูวังของเผ่ามังกรฟ้า จู่ๆ ทหาร Guard ซึ่งเฝ้าประตูถูกพักงาน ถูกลดยศ
ซึ่งมันไม่ควรจะทำได้ด้วยซ้ำ เพราะถ้าคุณจะพักงาน ถอดถอนยศ คุณก็ต้องเอาเรื่องนี้มาขึ้นคณะกรรมธิการ คณะกรรมาธิการเอาขึ้นสภาใหญ่ สภาใหญ่ส่งเรื่องไปให้ คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบ หรือ ส่งให้ศาลพิจารณาคดี ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ มันผิดหลักการไงครับ
มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "อำนาจรัฐซ้อนรัฐ"
ผมจะยกเคสตัวอย่างหนึ่งให้ อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ประเทศอังกฤษ หลายสิบปีมาแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ถูกฉายไปแล้วใน Netflix ในเรื่อง The Crown
ในยุคหนึ่งเศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำมากจนผู้คนตกงานเป็นจำนวนมาก
วันหนึ่งคนตกงานคนหนึ่งเดือดร้อนมาก สิ่งที่เขาทำคือปีนข้ามรั้วราชวังบักกิ้งแฮม แอบปีนจนขึ้นไปเข้าห้องบรรทมของควีนอลิซาเบธเลยนะ
ในทีแรกควีนอลิซาเบธตกใจมาก แต่ชายตกงานดังกล่าวไม่ได้ทำอะไร เขาแค่ต้องการกล่าวความในใจที่เดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจออกมาให้พระองค์รับฟัง
ควีนอลิซาเบธก็ทรงรับฟังอย่างตั้งใจ และขอให้ชายตกงานคนดังกล่าวกลับบ้านไปพักผ่อน โดยที่ควีนอลิซาเบธไม่ได้เอาผิดทั้งชายที่แอบบุกรุกเคหะสถานยามค่ำคืน
รวมถึงพระองค์ยังไม่เอาผิดทหารราชองครักษ์ที่ปล่อยให้ชายคนนี้ปีนเข้ามาถึงห้องบรรทม
เช้าวันต่อมา ควีนอลิซาเบธก็ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น(ผมจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร) และได้กล่าวปัญหาของชายตกงานคนนั้นให้นายกฯได้รับฟัง
พระองค์ไม่ได้แทรกแซงอะไรเลยในอำนาจบริหาร พระองค์แค่นำคำพูดของชายคนดังกล่าวไปพูดกับนายกฯ และถามถึงวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของอังกฤษที่เป็นอยู่
ขนาดประเทศอังกฤษเกิดปัญหาเศรษฐกิจขนาดนี้ถึงขั้นคนตกงาน แต่พระองค์ไม่ทำพระราชกรณียกิจเหมือนประเทศไทย ทราบกันมั้ยครับว่าเพราะอะไร? ควีนอลิซาเบธถึงไม่ตัดสินใจทำ
เพราะ การทำโครงการพระราชกรณียกิจ คือ การทำโครงการแข่งกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
มันทำให้เกิดอำนาจบริหารภาษี 2 อัน อันหนึ่งคือมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อันหนึ่งคือมาจากสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมันผิดหลักการอย่างร้ายแรง
เพราะ อำนาจบริหารจะมี 2 อำนาจไม่ได้ การเมืองในประเทศจะอ่อนแอทันที และทำให้เกิด "อำนาจรัฐซ้อนรัฐ"
อำนาจจัดเก็บและบริหารภาษี จะต้องมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว มันจะมีคนอื่นมากระทำเหมือนกันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้
ถ้าเกิดสถาบันฯ ทำโครงการพระราชกรณียกิจแข่งกับรัฐบาล มันจะทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า เราจะมีรัฐบาลเลือกตั้งไปทำไมในเมื่อทางพฤตินัยเรามีรัฐบาลกษัตริย์อำนาจในการบริหารภาษีเช่นกัน
แล้วหนักกว่านั้น จะมีคำถามต่อว่า แล้วเราจะเอาอำนาจอะไรตรวจสอบอำนาจในการบริหารภาษีของสถาบันกษัตริย์ ถ้าปกติเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร เราก็จะมีอำนาจนิติบัญญัติคอยตรวจสอบ
แต่ถ้าสถาบันกษัตริย์ใช้อำนาจนี้ ใครละจะตรวจสอบ แล้วจะรู้ได้ไงว่าโครงการไหนดีไม่่ดี
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ควีนอลิซาเบธไม่ทำโครงการพระราชกรณียกิจใดๆ อันเกี่ยวข้องกับงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน เพราะ พระองค์ยึดมั่นในหลักการ
อีกเคสหนึ่งจากเรื่องจริงเช่นกัน และฉายในซีรีย์ Crown season 3 ตอน Coup
สืบเนื่องมาจากพิษเศรษฐกิจในอังกฤษ เป็นช่วงการเมืองของอังกฤษระส่ำระสาย Lord Mountbatten กับ Cecil King กำลังก่อการรัฐประหารในอังกฤษ
แล้วเพื่อให้การรัฐประหารมีความชอบธรรม Lord Mountbatten จึงไปถามขอความเห็นจาก Queen Elizabeth ว่าเห็นชอบกับการรัฐประหารหรือไม่
Lord Mount : ถ้าคนที่สำคัญที่สุดในระบอบประชาธิปไตย(นายกฯ)เป็นภัยต่อระบอบเสียเอง เราเหล่าราชนิกูลชั้นสูงจะนิ่งเฉยไม่กระทำอะไรอย่างนั้นเหรอ
Queen Elizabeth : พวกเราต้องไม่ไปก้าวก่ายอะไรทั้งสิ้นแค่รอเวลาไป รอให้ประชาชนเลือกเขาเข้ามา และลงคะแนนเลือกเขาออกไป
Queen Elizabeth : เรากำลังปกป้องตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย ไม่ได้ปกป้องตัวนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตัวบุคคล
เท่านั้นแหละครับ เมื่อไม่ได้การสนับสนุนการรัฐประหารจากควีนอลิซาเบธ แผนการรัฐประหารของ Lord Mountbatten ก็พังไม่เป็นท่า
ถามว่าพังไม่เป็นท่าเพราะอะไร ลองหาอ่านได้ในหลายโพสต์ที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับความชอบธรรม การจะกระทำการใดๆในการเมืองมันจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่าความชอบธรรม เมื่อไม่มีมันก็ล้มเหลว
สุดท้ายผมขอลงรูปเอาฮา