สิ่งใดไม่ปรับ ก็จะดับสูญหรือซบซา
บางครั้งที่ผมได้ฟังเพลงไทยยุคที่คนอายุ60+ฟัง เพลงที่พวกเขาฟังนั้น
จะมีเครื่องดนตรีไทยหลายอย่างใส่เข้าไป ที่เห็นบ่อยก็ ฉิ่ง กรับ ปี่
จะเจอบ่อยมากที่ผสมอยู่ในเพลงยุคนั้น แต่ก็ลบเลือนไป
ทำให้เป็นของสูง ของเคารพ รำฟ้อนดนตรี ทำให้เข้าถึงยาก ก็รับกรรมไป
เด็กๆเลยหันไปเต้นเดนซ์ เต้นแนวอื่น ดนตรีหวงนักก็เล่นเครื่องดนตรีอื่น
การละครวรรณกรรม พูดถึงดัดแปลงไม่ได้ก็อ่านของประเทศอื่น ชุดการแต่งตัว
สูงค่านักก็หาแบบอื่นง่ายๆเหมาะยุค ส่งเสริมให้ตายก็ไร้ผล ก็ในเมื่อ
มันเข้าถึงยาก ไม่มีที่ให้นิยม
คิดเห็นอย่างไรหน่ะหรือ?? คิดว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมตัวเล็กๆ
หรือต่อให้ตัวเบิ้ม ต่อให้มีแนวคิดหัวสมัยใหม่ ก็ไม่กล้าเสี่ยงโดนดรามา
ทั้งขาขึ้นขาล่องหรอก ถ้าระดับหัวไม่จริงจังและคุ้มครองไม่ให้โดนดรามา
พนักงานเขาก็ไม่เสี่ยงอณุญาต แล้วสุดท้ายเราก็จมปลักกันที่เดิม
แล้วมีวิธีที่จะเสนอบ้างมั๊ย?? ศิลปร่วมสมัยคือทางออก เมื่อคนเรา
นิยมชมชอบอะไรสักอย่าง ก็จะขยับไปดูประวัติ ขยับไปสนใจสิ่งใกล้เคียง
หรือสนใจต้นกำเนิดเอง แต่ใครจะยอมเป็นส่วนหัวเพื่อขับเคลื่อนหล่ะ??
แรงต้านทานจากกลุ่มอณุรักษ์นิยมที่ยอมหักไม่ยอมงอ ต้านทานไหว??
กระทรวงไม่น่ามีสิทธิห้ามนะ จะเอากฎหมายตัวไหนมาห้าม
มีสิทธิ แต่ถ้าทางเจ้าของเกมหรือผู้รังสรรค์ผลงาน ไม่เอามาทั้งดุ้น
เอามาแค่ใช้เป็นแรงบันดาลใจ สามารถอ้างแบบนี้ได้