[quote/]
ทำความศึกษาเข้าใจเรื่องมรดกตกทอดก่อน ยุคนี้มีกฎหมายครับไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน ลูกหลานเจ้าของผู้ก่อตั้งบริษัทย่อมมีสิทธิ์ในตัวบริษัท บางครอบครัวอาจจะเป็นผู้ถือครองหุ้นไว้เฉย ๆ บางครอบครัวอาจจะจ้างประธานบริษัทให้บริหารงานแทน
หากเป็นไปตามที่คุณคิด ก็ให้เจ้าของบริษัทยกหุ้นให้ลูกจ้างทั้งหมด คุณคิดว่ามันชอบทำตามกฎหมายหรือไม่
อย่าคิดแบบพวก loser ที่ขึ้อิจฉาสิครับ
ยกตัวให้ตนเองสูงขึ้น ไม่ใช่กดให้ผู้อื่นต่ำกว่าตน
พูดอย่างนี้มันก็ไม่ถูกเสียทีเดียวครับ ยกตัวอย่างเราร่วมทุนกับเพื่อนก่อตั้งบริษัทขึ้นมา เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าบริษัทคือนิติบุคคล
เพื่อนเลือกเราเป็นผู้จัดการบริษัท และให้รถประจำตำแหน่ง น้ำมันสวัสดิการ
ตัวเราเกษียรก็ต้องคืนบ้าน คืนรถ ให้แก่นิติบุคคลบริษัทครับ เพราะถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ไม่ใช่ของเราโดยตรง เราจะเอารถไปขายเองและเอาเงินมาใช่ส่วนตัวไม่ได้
พอมองเห็นภาพแล้วทีนี้เข้าประเด็นกันเลย
ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าทำไม คณะราษฎร ต้องแบ่งทรัพย์สิน เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
และสองอย่างนี้มันแตกต่างกันอย่างไร
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ อันนี้ก็คือทรัพย์สินส่วนบุคคล ที่สืบทอดได้มาจากมรดกของรุ่นปู่รุ่นทวด นั่นแหละครับ ตรงจุดนี้ รัฐบาลจะไม่มีสิทธิยุ่ง เขามีสิทธิจัดการส่วนตัวได้หมด
แต่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง จริงๆแล้วถ้าจะเรียกให้ถูก ชื่อเต็มของมันคือ ทรัพย์สินส่วนที่รัฐบาลพระมหากษัตริย์บริหาร
ซึ่งทรัพย์สินประเภทหลังนี้เกิดมาจากเงินภาษีของประชาชนอย่างเราๆนี่แหละ ในยุคของร.5 ได้โปรดเกล้าให้มีกระทรวงต่างๆ มีอาคารของกระทรวงต่างๆ ซึ่งอาคารเหล่านั้นก็มาจากภาษีประชาชนครับ
ดังนั้นจะพูดให้ถูกต้องที่สุด ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็คือ ทรัพย์สินของประชาชนทุกคน แต่เคยถูกนำมาใช้บริหารงานโดยรัฐบาลของกษัตริย์ในสมัยร.5 - ร.7 ครับ
ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันได้แก่ SCG ธนาคารไทยพาณิชย์ พระที่นั่งอนันตสมาคม สวนอัมพร ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นทรัพย์สินของประชาชนครับ พวกเราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตาม จะต้องไม่เอาทรัพย์สินสาธารณะมารวมกับทรัพย์สินส่วนตัวโดยเด็ดขาด
ถ้าใครทำเช่นนั้น ก็เท่ากับว่ายักยอกทรัพย์สินของแผ่นดินมาเป็นของตนเองครับ